ข้ามไปเนื้อหา

มี่นโกไนง์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มี่นโกไนง์
เกิดปออู้ทู่น
(1962-10-18) 18 ตุลาคม ค.ศ. 1962 (62 ปี)
ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
การศึกษามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปกรรมย่างกุ้ง วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาสัตววิทยา, ชั้นปีที่สาม[1]
องค์การสหภาพนักศึกษาพม่า
88 Generation Students Group
สมาคมสันติภาพและความเปิดกว้าง 88 เจเนอเรชั่น
ขบวนการการก่อการกำเริบ 8888
บิดามารดาU Thet Nyunt, Daw Hla Kyi[1]
รางวัลรางวัลควังจู (2009)
ซิวิลเคอเรจ (2005)
จอห์น เมอร์ฟี เพื่อสันติภาพ (1999)
National Order of Merit (2015)[2]
เว็บไซต์Min Ko Naing
ลายมือชื่อ

ปออู้ทู่น (พม่า: ပေါ်ဦးထွန်း, ออกเสียง: [pɔ̀ ʔú tʰʊ́ɰ̃]) หรือรู้จักในชื่อ มี่นโกไนง์ (မင်းကိုနိုင်, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃ kò nàɪ̯ɰ̃], แปล: "ผู้พิชิตจักรพรรดิทั้งปวง") เป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยแนวหน้าของประเทศพม่า เขาถูกจำคุกหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1988 จากกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของเขา เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกขานเขาว่าเป็นบุคคลฝ่ายค้านของพม่าที่มีอิทธิพลมากที่สุด เป็นรองเพียงอองซานซูจีเท่านั้น[3]

ในเดือนกันยายน 1987 หลังรัฐบาลเผด็จการนำโดยเนวี่นประกาศล้างสกุลเงินจัตโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ส่งผลให้ชาวพม่าจำนวนมากเสียเงินเก็บไปมหาศาลชั่วข้ามคืน[4] หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือนักศึกษาที่เก็บเงินไว้เป็นค่าเล่าเรียน[4] เหตุการณ์นี้จึงนำไปสู่ความวุ่นวายและการจลาจลหลายครั้งตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ[5] และเหตุการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้นหลังนักศึกษา Phone Maw ถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิตเมื่อ 12 มีนาคม 1988 ขณะกลุ่มนักศึกษาปะทะกับตำรวจ[6] และท้ายที่สุดเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการก่อการกำเริบ 8888[7] ในระหว่างการนักประท้วงหยุดงานนี้ มี่นโกไนง์เดินทางไปปราศัยตามจุดชุมนุมต่าง ๆ หน้าสถานทูตสหรัฐและโรงพยาบาลกลางย่างกุ้ง รวมถึงช่วยจัดการให้อองซานซูจี ลูกสาวของวีรบุรุษ อองซาน ได้ชึ้นปราศัยครั้งแรกของเธอที่เจดีย์ชเวดากองต่อมาอองซานซูจีได้รับการเลือกตั้งในปี 1990 แต่ต่อมาก็ถูกรัฐบาลทหารก่อรัฐประหารอีกครั้งในปี 2021[8]

หลังสิ้นสุดการชุมนุมได้หลายเดือน ท้ายที่สุดเขาถูกรัฐบาลจับกุมและถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ด้วยความผิดตามมาตรา 5(j) ของรัฐบัญญัติกิจการฉุกเฉิน ปี 1950 (Emergency Provisions Act) ในฐานะผู้ปลุกระดม "การก่อความไม่สงบและขัดขืนต่อกฎหมายรวมถึงคำสั่งของรัฐบาล ทำลายสันติสุขและความสงบเรียบร้อยของรัฐ" แต่ต่อมาถูกลดโทษเหลือ 10 ปีในเดือนมกราคม 1993 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเรียกร้องอย่างหนักให้มีการปล่อยตัวเขา ระบุว่าเขาเป็น "prisoner of conscience"[9][10] เขาถูกจับกุมอีกครั้งในเดือนกันยายน 2006 ร่วมกับมิตรสหายจำนวนหนึ่ง ไม่นานก่อนสมัชชาแห่งชาติ ปี 2006[11] ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเดือนมกราคม 2007 โดยปราศจากคำชี้แจงถึงเหตุผลที่โดนจับจากหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด[11]

มี่นโกไนง์ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจากบทบาทในการเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ เขาได้รับรางวัลควังจูในปี 2009,[12] ซิวิลเคอเรจไพรซ์ในปี 2005 ร่วมกับ Anna Politkovskaya และ Munir Said Thalib,[13] รางวัลฮอมอฮอมินี โดยพีเพิลอินนี้ดในปี 2000,[14] รางวัลสันติภาพนักเรียนนักศึกษา ปี 1999 และ รางวัลเสรีภาพจอห์น ฮัมฟรี ปี 2000 ร่วมกับ Cynthia Maung จาก Mae Tao Clinic[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Political Prisoner Profile - Min Ko Naing" (PDF). Assistance Association for Political Prisoners (Burma). 20 June 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
  2. "မင်းကိုနိုင် ပြင်သစ် National Order of Merit ဂုဏ်ထူးဆောင်ဆု ချီးမြှင့်ခံရ" [Leader to be awarded the French National Order of Merit]. VOA. July 1, 2015. สืบค้นเมื่อ August 20, 2015.
  3. Seth Mydans (13 October 2007). "Myanmar Arrests 4 Top Dissidents, Human Rights Group Says". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  4. 4.0 4.1 "Burma's 1988 protests". BBC News. 25 September 2007. สืบค้นเมื่อ 8 May 2011.
  5. Lwin, Nyi Nyi. (1992). Refugee Student Interviews. A Burma-India Situation Report.
  6. Boudreau, Vincent. (2004). Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-83989-1. p. 193.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Irr
  8. "Profile: Aung San Suu Kyi". BBC News. 15 November 2010. สืบค้นเมื่อ 8 May 2011.
  9. "Myanmar: Min Ko Naing". Amnesty International. 1 January 2001. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  10. "Myanmar political prisoners still fighting for their rights behind bars". Amnesty International. 19 November 2010. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.[ลิงก์เสีย]
  11. 11.0 11.1 "Profile: 88 Generation Students". BBC News. 22 August 2007. สืบค้นเมื่อ 21 April 2011.
  12. "Gwangju Prize for Human Rights". May 18 Memorial Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  13. "2005 Civil Courage Prize Honorees". civilcourageprize.org. 2010. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.
  14. "Previous Recipients of the Homo Homini Award". People in Need. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.
  15. Cynthia Maung. "Min Ko Naing and Cynthia Maung (Burma)". Rights & Democracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.