ข้ามไปเนื้อหา

มี่นกู้นปะโท่ดอจี้

พิกัด: 22°03′03″N 96°01′3″E / 22.05083°N 96.01750°E / 22.05083; 96.01750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มี่นกู้นปะโท่ดอจี้
မင်းကွန်းပုထိုးတော်ကြီး
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ที่ตั้งมี่นกู้น ภาคซะไกง์ ประเทศพม่า
มี่นกู้นปะโท่ดอจี้ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
มี่นกู้นปะโท่ดอจี้
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์22°03′03″N 96°01′3″E / 22.05083°N 96.01750°E / 22.05083; 96.01750
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าปดุง
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1790; 234 ปีที่แล้ว (1790)

มี่นกู้นปะโท่ดอจี้ (พม่า: မင်းကွန်းပုထိုးတော်ကြီး, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃.ɡʊ́ɰ̃ pə.tʰó dɔ̀ d͡ʑí]) หรือ เจดีย์มี่นกู้น เป็นเจดีย์ที่สร้างไม่เสร็จในเมืองมี่นกู้น ห่างจากมัณฑะเลย์ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) ภาคซะไกง์ ตอนกลางประเทศพม่า ซากปรักหักพังนี้เป็นซากของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่พระเจ้าปดุงเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2333 ซึ่งเจตนาปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้แล้วเสร็จ เจดีย์มี่นกู้นถูกมองว่าเป็นการแสดงพระราชอำนาจอันแปลกประหลาดที่รู้จักกันดีของพระเจ้าปดุง พระองค์ตั้งจุดสังเกตการณ์บนเกาะนอกเมืองมี่นกู้นเพื่อควบคุมการก่อสร้างเป็นการส่วนพระองค์[1]

ไม่สมบูรณ์

[แก้]

พระเจ้าปดุงใช้ประโยชน์เชลยศึกจากอาระกันหลายพันคน โดยพระองค์เนรเทศผู้คนจำนวน 20,000 คน ไปยังพม่าตอนกลางเพื่อเป็นทาสทำงานก่อสร้างเจดีย์ การก่อสร้างดังกล่าวยังถูกมองว่าส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชาชนและรัฐ ดังนั้นจึงมีการสร้างคำทำนายเพื่อหยุดโครงการนี้ แนวทางในการสื่อความไม่พอใจนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเป็นการใช้ไสยศาสตร์อันล้ำลึกของกษัตริย์ ตามคำทำนายที่ว่า "เมื่อเจดีย์สร้างเสร็จแล้ว บ้านเมืองจะสูญสิ้นไปด้วย"[2][1]

รูปแบบหนึ่งระบุว่ากษัตริย์จะสวรรคตเมื่อโครงการเสร็จสิ้น ดังนั้นการก่อสร้างจึงถูกชะลอออกไป เพื่อป้องกันการบรรลุตามคำทำนาย และเมื่อกษัตริย์สวรรคต โครงการก็ยุติลงโดยสิ้นเชิง[1]

เจดีย์จำลองในบริเวณใกล้เคียงรู้จักกันในชื่อเจดีย์โปนดอ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในโครงการเจดีย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น เจดีย์ชเวดากองและเจดีย์ตะบะญุ แสดงขนาดย่อส่วนของเจดีย์ที่มีความสูงถึง 150 เมตร (490 ฟุต) อย่างไรก็ตาม สถานที่แห่งนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นกองอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1]

สภาพปัจจุบัน

[แก้]

เมื่อโครงการก่อสร้างถูกยกเลิก เจดีย์ก็มีความสูงถึง 50 เมตร หรือหนึ่งในสามของความสูงที่ตั้งใจไว้ แผ่นดินไหวเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2382 ทำให้เกิดรอยแตกขนาดใหญ่ด้านหน้าของโครงสร้างที่เหลือ[3] เจดีย์ทำหน้าที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่าสถานที่ทางศาสนา อย่างไรก็ตามศาลเล็ก ๆ ที่มีพระพุทธรูปยังคงมีจุดประสงค์ใช้เป็นสถานที่สักการะและนั่งสมาธิ[4] เจดีย์โปนดอหรือแบบจำลองการสร้างเจดีย์มีให้เห็นอยู่ใกล้ ๆ

ระฆังมี่นกู้น

[แก้]

พระเจ้าปดุงยังสร้างระฆังขนาดใหญ่ที่หล่อไว้คู่กับเจดีย์ขนาดใหญ่ของพระองค์ด้วย ระฆังมี่นกู้นซึ่งมีน้ำหนัก 90 ตัน ปัจจุบันเป็นระฆังที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก น้ำหนักของระฆังตามการวัดแบบพม่าคือ 55,555 viss (1 viss = 1.63 kg) โดยมีพยัญชนะแทนเลข 5 ในทางดาราศาสตร์และตัวเลขศาสตร์ของพม่า[5][6]

การเข้าถึง

[แก้]

สามารถไปถึงมี่นกู้นได้โดยเรือเฟอร์รี่ข้ามแม่น้ำอิรวดีจากมัณฑะเลย์ และจากนั้นอาจเลือกเดินเท้าหรือเกวียนวัวจากท่าเทียบเรือริมแม่น้ำ

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Asian Historical Architecture Mingun Pahtodawgyi
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-14. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
  3. Burma:Preservation and restoration of national monuments and artifacts at selected sites, pages 5 and 9, UNESCO, Paris, 1984.
  4. "Mingun". Myanmar's Net Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-21. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  5. "The World's Three Largest Bells". Blagovest Bells. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  6. "The Mingun Bell". Myanmar's Net Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.