วัดตะบะญุ
วัดตะบะญุ | |
---|---|
သဗ္ဗညု ဘုရား | |
ศาสนา | |
ศาสนา | พุทธ |
นิกาย | เถรวาท |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | พุกาม ภาคมัณฑะเลย์ พม่า |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 21°10′08″N 94°51′47″E / 21.16875°N 94.86295°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | พระเจ้าอลองสิธู |
ลงเสาเข็ม | ค.ศ. 1144/1145[1][2] |
เสร็จสมบูรณ์ | ค.ศ. 1150/1151 |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความสูงสูงสุด | 61.3 เมตร (201 ฟุต)[3] |
ความสูงยอดแหลม | 66 เมตร (217 ฟุต) |
วัดตะบะญุ หรือ วัดตะบยีนญุ (พม่า: သဗ္ဗညု ဘုရား, ออกเสียง: [θaʔ.bjɪ̀ɰ̃.ɲ̥ṵ pʰəjá]; บาลี: สพฺพญฺญู หรือ "ผู้รู้แจ้ง") เป็นวัดพุทธตั้งอยู่ในพุกาม ประเทศพม่า วัดนี้ได้รับการยอมรับให้เป็นอนุสรณ์สถานในเขตโบราณคดีพุกามซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งของยูเนสโก[4][5] สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1150–1151 ในรัชสมัยพระเจ้าอลองสิธู วัดแห่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมและศิลปะเชิงนวัตกรรมของยุคพุกาม และการแสดงออกถึงความมั่นใจจิตวิญญาณความเป็นชาติพม่า[1][2]
วัดแห่งนี้ถือเป็นวิหารสองชั้นแห่งแรกในศิลปะพุกาม โดยปรากฏกการซ้อนกันของเรือนธาตุชั้นล่างกับชั้นบน ชั้นล่างเป็นแกนกลางขนาดใหญ่รับน้ำหนักวัดในผังแบบครรถคฤหะ-มณฑปด้านบน วัดสองชั้นนี้ได้รับความนิยมในศิลปะพุกามตอนปลาย โดยวัดสำคัญที่ใช้วัดตะบะญุเป็นต้นแบบได้แก่วัดซูลามะนิและวัดที่โลมี่นโล[6] วัดมีความสูงสุด 66 เมตร (217 ฟุต)[5][7] วัดตะบะญุได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สูงที่สุดในพุกาม ควบคู่ไปกับเจดีย์ชเวซานดอ เจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามซึ่งมีความสูง 100 เมตร (328 ฟุต)[8]
วัดได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1975 และ ค.ศ. 2016 อยู่ระหว่างการบูรณะโดยได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินจากจีน คาดว่างานบูรณะจะดำเนินไปจนถึงประมาณ ค.ศ. 2028[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Maha Yazawin Vol. 1 2006: 199
- ↑ 2.0 2.1 Ishizawa, Kono 1989: 183
- ↑ Myo Nyunt Aung 2017: 32
- ↑ 4.0 4.1 "China assists Myanmar city with temple restoration". The People's Daily. 2019-09-10.
- ↑ 5.0 5.1 Fiala 2002
- ↑ เจดีย์สัพพัญญู ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- ↑ "Bagan". Union of Myanmar Travel Association. สืบค้นเมื่อ 2020-05-16.
- ↑ "Shwesandaw Pagoda – A "GUARDIAN" OF ANCIENT BAGAN". 2019-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัดตะบะญุ