ข้ามไปเนื้อหา

มาโนช พุฒตาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาโนช พุฒตาล
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดมาโนช พุฒตาล
รู้จักในชื่อฮะซัน (Hason), ซัน
เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
แนวเพลง
อาชีพ
นักร้อง
เครื่องดนตรี
ร้อง
ค่ายเพลงเจ้าของบริษัท Mile Stone Records

มาโนช พุฒตาล (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2499) เป็นนักร้อง นักดนตรี เคยเป็นนักจัดรายการดนตรีเพลงสากลทางโทรทัศน์ และทำนิตยสารเกี่ยวกับดนตรี ปัจจุบันเป็นนักจัดรายการวิทยุ

ประวัติ

[แก้]

มาโนช พุฒตาล เกิดในครอบครัวมุสลิมที่ชุมชนหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อว่า ฮะซัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเล่น "ซัน" เป็นบุตรคนสุดท้องของนายเฉลียว และนางอำไพ พุฒตาล มาโนชเป็นน้องชายของดำรง พุฒตาล และขนิษฐา พุฒตาล

มาโนช ชอบเล่นดนตรีและฟังเพลงมาตั้งแต่เด็ก เมื่อจบชั้นมัธยม 8 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ไม่ติด แต่ได้รับทุนเอเอฟเอสไปเรียนที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหนึ่งปี เมื่อกลับมาจึงเข้าศึกษาต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิทยุ-โทรทัศน์

ขณะเรียนที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งวงดนตรีกับเพื่อน เล่นเพลงแนวร็อก วง CANNED CAN มาโนชมีโอกาสได้ช่วยงานพี่ชาย และพี่สาว ซึ่งจัดรายการโทรทัศน์ทางช่อง 5 และช่อง 9 หลายรายการ เช่น อาทิตย์ยิ้ม พระจันทร์แย้ม ครอบครัวบันเทิง สุขสันต์วันเสาร์ มีหน้าที่เขียนบทรายการ และเริ่มจัดรายการของตัวเอง เมื่อ พ.ศ. 2525 เป็นโปรเจกต์เพื่อจบการศึกษาในชั้นปีที่ 4 ชื่อ เที่ยงวันอาทิตย์

รายการเที่ยงวันอาทิตย์ของมาโนชเป็นรายการเพลงสากลความยาวครึ่งชั่วโมง เป็นรายการแรก ๆ ที่นำมิวสิกวิดีโอมาเปิดในรายการ รายการเที่ยงวันอาทิตย์จัดอยู่สองปีจึงถูกย้ายเวลาไปอยู่วันอื่น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บันเทิงคดี เมื่อ พ.ศ. 2527 และย้ายไปช่อง 11 เมื่อ พ.ศ. 2533 ผู้ที่ตั้งชื่อรายการให้คือ ดนู ฮันตระกูล ต่อมามาโนชได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ ไมล์สโตน ทำรายการโทรทัศน์ทางช่อง 3 ชื่อ เกมเปิดโลก และรายการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ 2534 โลกนี้ของใคร ทำนิตยสารเกี่ยวกับดนตรีสากล ชื่อ บันเทิงคดี เมื่อ พ.ศ. 2532 จัดจำหน่ายผลงานให้กับดิ โอฬาร โปรเจ็คต์, มาลีฮวนน่า, โกรอิ้งเพน, พาราณสี ออเคสตรา และผลิตผลงานออกมาจำนวนหนึ่ง

เมื่อปี พ.ศ. 2550 มาโนชจัดรายการวิทยุเป็นประจำทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 8.00–11.00 น. ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 มีคำพูดเปิดและปิดรายการที่เป็นเอกลักษณ์ คือ "สวัสดีครับ ผม มาโนช พุฒตาล บุตรของนายเฉลียว กับนางอำไพ" และ "ถ้าไม่ตายไปเสียก่อน พรุ่งนี้กลับมาเจอกันครับ"

ปัจจุบันมาโนชจัดรายการวิทยุอยู่ที่ 96.5 คลื่นความคิด ในช่วงคนกรุงเก่า เล่าเรื่อง ทุกวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 23.30–00.30 น. และที่วิทยุไทย เพื่อเด็กและครอบครัว FM 105 MHz รายการ I Jude (ไอ้จู๊ด) ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 22.00–24.00 น.

ชีวิตส่วนตัว แต่งงานกับ น.ส.กาญจนา นิยมธรรม หรือครูนิด ปัจจุบันครูนิดได้ใช้นามสกุลพุฒตาลแล้ว แต่คำนำหน้าชื่อยังใช้ นางสาวอยู่ มีลูกสาวแล้ว 2 คน

ข้อขัดแย้ง

[แก้]

มาโนช พุฒตาล และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากแฟนเพลงของไมเคิล แจ็กสันในประเทศไทย จากการเป็นผู้บรรยายร่วมในรายการพิเศษที่ถ่ายทอดสดงานศพของไมเคิล แจ็กสัน โดยแฟนเพลงของไมเคิล แจ็กสันในประเทศไทยวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเชิญมาโนช พุฒตาลมาบรรยายโดยที่ไม่มีความรู้ทั้งข้อมูล และมีอคติต่อตัวนักร้องผู้จากไปอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการวิจารณ์นอกประเด็นหรือแม้กระทั่งโยงเข้าเรื่องกฎหมายที่ยังอยู่ในชั้นศาล โดยที่ไม่ให้เกียรติผู้ตายและแฟนเพลงไมเคิลชาวไทยที่รับชมการถ่ายทอดสดในคืนนั้นเลย[1]

นอกจากนี้ มาโนช พุฒตาลยังคงแสดงความคิดเห็นด้านลบต่อไมเคิล แจ็กสันในหนังสือคู่สร้าง คู่สม ฉบับประจำวันที่ 10–20 กรกฎาคม โดยการนำข่าวลือต่าง ๆ และเจือความคิดเห็นส่วนตัวในด้านลบเกี่ยวกับตัวศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นแต่งงานกับลูกสาวของเอลวิส เพรสลีย์เพื่อปกปิดความเป็นเกย์และหวังผลประโยชน์ สร้างบ้านเป็นสวนสนุกเพื่อหลอกเด็กผู้ชายไปข่มขืน แกล้งทำท่าว่าจะโยนลูกออกมาทางหน้าต่างโรงแรมที่พักเพื่อหยอกล้อกับแฟนเพลงจนเป็นข่าวถูกโจมตีไปทั่วโลก แต่เนื่องจากมีกระแสไม่น้อยที่โจมตีการทำข่าวในคืนนั้นว่า เป็นปกติที่เชิญบุคคลผู้มีความคิดเป็นของตนเองไปทำการบรรยาย ซึ่งตัวมาโนชก็กล่าวในตอนต้นแล้วว่าเขาไม่ได้เป็นแฟนของแจ็กสันผู้ล่วงลับ

ทั้งนี้แม้กระแสต่อต้านของแฟนคลับทั่วไปได้ลดลงแล้ว แต่มาโนช พุฒตาลยังคงถูกพิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของนักวิจารณ์เพลงว่าจะยอมรับกระแสสังคมได้หรือไม่หากเขาถูกวิจารณ์บ้าง

ผลงานดนตรี

[แก้]

ผลงานเพลง

[แก้]
หน้าปกอัลบั้ม ในทรรศนะของข้าพเจ้า
  • ชุด ในทรรศนะของข้าพเจ้า (2539)
1. โลกสมมุติ
2. เฝ้าประตู
3. แสงไฟและสายควัน
4. อาบน้ำศพ (บรรเลง)
5. วาสิฏฐี
6. หมอผีครองเมือง
7. ลำธาร
8. ไกลรำลึก
  • ชุด 25 ปี ให้หลัง (2564)
1. ดาวในแสงแดด
2. ครอบครัวเดียวกัน (นั่นไงล่ะ..ท้องฟ้า)
3. ความฝันหมายเลข 9
4. ตายน่ะง่ายจะตาย
5. อาบอารมณ์
6. อยู่อยุธยา
7. เจ้าหญิงนิทรา
  • ชุด ความทุกข์ของไกลบำบัดได้ด้วยตัวเอง (2565)
    1. นั่งลงก่อนสิไกล
    2. ก้าวแรก
    3. ถนนเส้นนี้ จะพาเราไปถึงไหน
    4. 3.1
    5. ลำธาร EDM
    6. ไกลนักรบผู้กล้า
    7. บอกกับดวงจันทร์ฉันเหนื่อย
    8. ความยุติธรรม
    9. บทสวดสุดท้ายของชายไม้ใกล้ฝั่ง
    10. คนฟังเสียงฝน
    11. ความรักในสายลม

ซิงเกิ้ลและอีพี

[แก้]

- ไกล (วันสุดท้าย, โหมโรง, สายน้ำและความหมาย, การเดินทาง, หมอผีครองเมือง, แค้น, ไกล)

  • ซิงเกิ้ล ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย (2549)
  • ซิงเกิ้ล ลำดับที่ ๑ อยู่อยุธยา (2551)
  • อีพี ลำดับที่ ๒ มาโนช พุฒตาล บุตรของนายเฉลียวกับนางอำไพ & สมพงค์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น (2551)
1. (กนกพงศ์) คนฟังเสียงฝน (8.00)
2. เพลงช้าง (3.29)
3. บอกดวงจันทร์เหนื่อย (4.11)
4. อย่าสิ้นหวัง (3.37)
5. ทักทาย/อารัมภบท (17.44), ที่ไหนเอ่ยไม่มีช้าง (19.37), To Be Continued (4.13)
  • อีพี ลำดับที่ ๓ มาโนช พุฒตาล บุตรของนายเฉลียวกับนางอำไพ "เชนมีคู่หูเป็นลิง" (2551)
1. เพลงนิทาน
2. ออกแขก
3. เชนคือใคร
4. เพลงเชนมีคู่หูเป็นลิง ตอน I
5. ลิงมาจากไหน
6. เพลงสะดือป่าวาสิฎฐี
7. ห้าร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว (ฉบับย่อ)
8. เพลงเชนมีคู่หูเป็นลิง ตอน II
9. ฮูวาฮูกับเชนในป่าใหญ่
10. เพลงคนตายไม่ยอมตอบคำถาม
11. ฮูวาฮูช่วยเชน
12. เข้าสภา-วาระสุดท้าย
13. เพลงเชนมีคู่หูเป็นลิง ตอน III
14. ไตเติ้ลท้าย
15. มาโนชมิดไนท์
16. เพลงกล่อมลูก
17. ห้าร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว (ฉบับเต็ม)
  • ซิงเกิ้ล ความฝันกับหน้าที่ (2560)
  • ซิงเกิ้ล หกสิบแล้วไง (2563)
  • ซิงเกิ้ล ถนนเส้นนี้ (2563)

อัลบั้มรวมเพลง

[แก้]
  • รวมเพลง Milestone 7th Mile
  • รำลึก กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (กุมภาพันธ์ 2557)
  • บันทึกเพลงดี 30 ปี สีสันอะวอร์ด (26 ธันวาคม 2560)

อัลบั้มแสดงสด

[แก้]
  • คอนเสิร์ต บันเทิงคดีเดอะมูฟวี่ "ฝนโปรยไพร ใจกลางเมือง" (28 กรกฎาคม 2555)

คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินอื่น

[แก้]
  • คอนเสิร์ต รำลึก ชัคกี้ ธัญญรัตน์ (31 พฤษภาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต Music & Technology Day (7 มิถุนายน 2551)
  • คอนเสิร์ต Fat Festival #8 (8-9 พฤศจิกายน 2551)
  • คอนเสิร์ต LOVEiS FAMILY,THE MUSIC FESTIVAL (12-13 ธันวาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต พันธุ์เล-๑๐๐๐ โล..พรรลำ (22 สิงหาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต The Memory Night Concert (25 กันยายน 2552)
  • คอนเสิร์ต Sonic Attack 2012 (4 สิงหาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 22 ปี สีบ นาคะเสถียร (15-16 กันยายน 2555)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 16 (12 มกราคม 2556)
  • คอนเสิร์ต An Evening With Overdrive (30 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 24 ปี สืบ นาคะเสถียร (31 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต จากป่าสู่เมือง รำลึก 24 ปี สืบ นาคะเสถียร (28 กันยายน 2557)
  • คอนเสิร์ต Bangkok Music Forum ครั้งที่ 8 (18 ตุลาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต 10 ปี คลึ่นความคิด ห่วงใยชายแดนใต้ (16 พฤศจิกายน 2557)
  • คอนเสิร์ต Music For Friend (21 กุมภาพันธ์ 2558)
  • คอนเสิร์ต รําลึก 25 ปี สืบ นาคะเสถียร (6 กันยายน 2558)
  • คอนเสิร์ต Bangkok Analog Fest 2nd Track (6 - 7 พฤษภาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต Song For Heroes (17 พฤศจิกายน 2561)
  • คอนเสิร์ต เปิดหมวก Festival (20 กรกฎาคม 2564)
  • คอนเสิร์ต เปิดหมวก Festival ครั้งที่ 2 (28 กรกฎาคม 2564)
  • คอนเสิร์ต เปิดหมวก Festival ครั้งที่ 3 (1 สิงหาคม 2564)
  • คอนเสิร์ต Pazan Camping EP 2 (25 มิถุนายน 2565)
  • คอนเสิร์ต ในทรรศนะของข้าพเจ้า มาโนช พุฒตาล & The Lamb (5 พฤศจิกายน 2565)
  • คอนเสิร์ต ROAD FOR LIFE (4 มีนาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 33 ปี สืบ นาคะเสถียร (8 กันยายน 2566)

ผลงานอื่น ๆ

[แก้]

รายการโทรทัศน์

[แก้]
  • เที่ยงวันอาทิตย์ (2525-2527 ช่อง 5)
  • บันเทิงคดี (2527-2532 ช่อง 5, 2533-2539 ช่อง 11)
  • เกมเปิดโลก (2530-2532 ช่อง 3)
  • มินิบันเทิงคดี (2533 ช่อง 9)
  • โลกนี้ของใคร (2534 ช่อง 5)
  • สกู๊ปทันที ทันควัน (2534 ช่อง 5)
  • สามัญชนคนไทย (2558-ปัจจุบัน ช่อง ThaiPBS)

รายการวิทยุ

[แก้]

นิตยสาร

[แก้]
  • บันเทิงคดี (2532-2539 ประมาณ 100 ฉบับ)

หนังสือ

[แก้]
  • บันเทิงคดี (นิตยสาร ฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่1 เล่ม1 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 )
  • ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย (2549) + CD Single
  • คนกรุงเก่าเล่าเรื่อง

ผลงานในรูปแบบเอ็มพีสาม

[แก้]
  • สารพันเรื่องเล่าของนักเล่าเรื่อง - มาโนช พุฒตาล บุตรของนายเฉลียวกับนางอำไพ ชุดที่ 1-2

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขาที่เข้าชิง จากผลงาน ผลการตัดสิน
2539 สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2539 อัลบั้มยอดเยี่ยม "ในทรรศนะของข้าพเจ้า" ชนะ
2549 คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2549 เพลงยอดเยี่ยม "ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" ชนะ
2566 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022[2] เพลงแห่งปี "นั่งลงก่อนสิไกล" เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. เมื่อรายการทีวีไทย “ตบหน้า” ไมเคิลกลางงานพิธีไว้อาลัย กับความคล้ายกันระหว่าง “ผู้วิจารณ์” และ “ผู้ถูกวิจารณ์” เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บทความจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2552
  2. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]