มาแรน็อสตรูง
มาแรน็อสตรูง (ละติน: Mare Nostrum; แปลว่า "ทะเลของเรา") เป็นชื่อที่ใช้เรียกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในสมัยโรมัน ภาษาละตินคลาสสิกออกเสียงเป็น [ˈma.rɛ ˈnɔs.t̪rʊ̃ː] ส่วนภาษาละตินคริสตจักรออกเสียงเป็น [ˈmaː.rɛ ˈnɔs.t̪rum]
หลายทศวรรษหลังการรวมชาติอิตาลีใน ค.ศ. 1861 ฝ่ายชาตินิยมและฝ่ายฟาสซิสต์อิตาลีที่มองอิตาลีเป็นรัฐสืบทอดของจักรวรรดิโรมันพยายามฟื้นฟูการใช้ศัพท์นี้[1]
สมัยโรมัน
[แก้]เดิมทีชาวโรมโบราณใช้วลี มาแรน็อสตรูง สำหรับเรียกทะเลติร์เรเนียนหลังพิชิตซิซิลี ซาร์ดิเนีย และคอร์ซิกาในช่วงสงครามพิวนิกกับคาร์เธจ จากนั้นเมื่อ 30 ปีก่อน ค.ศ. ดินแดนโรมันมีขอบเขตจากคาบสมุทรไอบีเรียถึงอียิปต์ และเริ่มมีการใช้วลี มาแรน็อสตรูง สำหรับเรียกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด[2] นอกจากนี้ยังมีการใช้ชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มาแรอินแตร์นูง (Mare Internum; "ทะเลภายใน") แต่ไม่มีชื่อ มาแรแมดิแตร์ราเนอูง (Mare Mediterraneum) ซึ่งเป็นศัพท์ที่เกิดขึ้นในภาษาละตินตอนปลายและมีหลักฐานยืนยันการใช้หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปนานพอสมควร[3]
ฝ่ายชาตินิยมอิตาลี
[แก้]หลายทศวรรษหลังการรวมชาติอิตาลีใน ค.ศ. 1861 ฝ่ายชาตินิยมอิตาลีที่มองอิตาลีเป็นรัฐสืบทอดของจักรวรรดิโรมันพยายามฟื้นฟูการใช้ศัพท์นี้[1] โดยเฉพาะเมื่อชาตินิยมอิตาลีกำลังรุ่งเรืองในช่วง "ลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา" เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1880 นำไปสู่การเรียกร้องให้สถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลีซึ่งนำแนวคิด มาแรน็อสตรูง มาตีความใหม่เพื่อปรับใช้เป็นครั้งแรก[4]
ฝ่ายฟาสซิสต์
[แก้]เบนิโต มุสโซลินี ใช้คำนี้อีกครั้งในด้านโฆษณาชวนเชื่อฟาสซิสต์ ซึ่งคล้ายกับ เลเบินส์เราม์ ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มุสโซลินีต้องการสถาปนาความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันอีกครั้ง และเชื่อว่าอิตาลีเป็นประเทศในเมดิเตอร์เรเนียนที่มีอำนาจมากที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[5] เขาประกาศว่า "ศตวรรษที่ยี่สิบจะเป็นศตวรรษแห่งอำนาจอิตาลี" และสร้างหนึ่งในกองทัพเรือที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก เพื่อควบคุมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[6][7]
การใช้งานร่วมสมัย
[แก้]มาเรโนสตรุน เป็นชื่อวรรณกรรมขายดีของบิเซนเต บลัสโก อิบัญเญซ นักเขียนชาวสเปนที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 1918 จากนั้นมีการเผยแพร่ภาพยนตร์อิงวรรณกรรมใน ค.ศ. 1948
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lowe (2002), p.34
- ↑ Couperus (1993), p.32
- ↑ Online Etymology Dictionary. "Mediterranean". Accessed 29 Aug 2011.
- ↑ Raymond F. Betts (1975). The False Dawn: European Imperialism in the Nineteenth Century. Univ. of Minnesota Pr. p. 12.
- ↑ Anthony Rhodes, Propaganda: The art of persuasion: World War II, p70 1976, Chelsea House Publishers, New York
- ↑ Fleming, Thomas. The New Dealers' War. Perseus Books,2001
- ↑ Italian naval operations in the Mediterranean, such as the Battle of Cape Matapan, are included in the Battle of the Mediterranean
บรรณานุกรม
[แก้]- Lowe, C.J. (2002). Italian Foreign Policy 1870–1940. Routledge. ISBN 0-415-27372-2.
- Tellegen-Couperus, Olga (1993). Short History of Roman Law. Routledge. ISBN 0-415-07251-4.
- Talbert, R., M. E. Downs, M. Joann McDaniel, B. Z. Lund, T. Elliott, S. Gillies. "Places: 1043 (Internum Mare)". Pleiades. สืบค้นเมื่อ December 7, 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)