เส้นเก้าขีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นเก้าขีด
เส้นเก้าขีด (เน้นด้วยสีเขียว)
อักษรจีนตัวเต็ม九段線
อักษรจีนตัวย่อ九段线
ความหมายตามตัวอักษรเส้นเก้าส่วน

เส้นเก้าขีด (อังกฤษ: nine-dash line) ซึ่งบ่อยครั้งยังเรียกว่า เส้นสิบขีด (ten-dash line) และ เส้นสิบเอ็ดขีด (eleven-dash line) หมายถึงเส้นแบ่งเขตอย่างหยาบ ๆ[1] ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ใช้ในการอ้างสิทธิ์ของตนเหนือน่านน้ำส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้[2][3] พื้นที่ที่เป็นประเด็นพิพาทในทะเลจีนใต้ได้แก่ หมู่เกาะพาราเซล[a] หมู่เกาะสแปรตลี[b][4] และพื้นที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งรวมทั้งเกาะปราตัชและเนินตื้นใต้ทะเลเวเรเกอร์ เนินตื้นใต้ทะเลแม็กเคิลส์ฟีลด์ และดอนทรายใต้น้ำสการ์บะระ การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวครอบคลุมถึงพื้นที่โครงการถมทะเลของจีนในหมู่เกาะสแปรตลีที่เรียกว่า "กำแพงทรายใหญ่" หรือ "กำแพงทรายเมืองจีน"[5][6][7] แม้จะได้ประกาศอ้างสิทธิ์อย่างคลุมเครือต่อที่สาธารณะใน พ.ศ. 2490 แต่ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีนก็ยังไม่เคยยื่นคำร้องเพื่ออ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าวด้วยแนวเขตที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ (ณ พ.ศ. 2561)[8]

แผนที่แรกเริ่มฉบับหนึ่งที่แสดงเส้นสิบเอ็ดขีดรูปตัวยูได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2490[9] ขีดสองขีดในอ่าวตังเกี๋ยถูกลบออกในเวลาต่อมาตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ของจีน ทำให้เส้นดังกล่าวเหลือเพียงเก้าขีด นักวิชาการจีนกล่าวยืนยันในเวลานั้นว่าแผนที่ฉบับที่มีขีดเก้าขีดแสดงถึงขอบเขตสูงสุดของการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์เหนือทะเลจีนใต้[10] ใน พ.ศ. 2556 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เผยแพร่แผนที่ประเทศฉบับใหม่โดยเพิ่มขีดที่สิบลงไปในทะเลจีนตะวันออกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะไต้หวัน[11][12][13]

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ศาลอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (อันคลอส) ตัดสินว่าการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์ของจีนเหนือพื้นที่ทางทะเล (ตรงข้ามกับดินแดนทางบกและน่านน้ำอาณาเขต) ภายในเส้นเก้าขีดไม่มีผลทางกฎหมายหากการอ้างนั้นเกินกว่าข้อจำกัดที่นิยามไว้ในอนุสัญญาฯ[15][16] ข้อโต้แย้งประการหนึ่งคือจีนไม่เคยใช้อำนาจควบคุมน่านน้ำและทรัพยากรเหล่านี้แต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ศาลยังชี้แจงว่าจะไม่ "... ชี้ขาดปัญหาว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนทางบกใด ๆ และจะไม่กำหนดขอบเขตทางทะเลใด ๆ ระหว่างคู่กรณี"[17] ทั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลสาธารณรัฐจีนไม่ยอมรับคำชี้ขาดดังกล่าว[18][19]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หมู่เกาะพาราเซลถูกสาธารณรัฐประชาชนจีนยึดครอง แต่ถูกเวียดนามและสาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์เช่นกัน
  2. หมู่เกาะสแปรตลีเป็นดินแดนพิพาทระหว่างฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน บรูไน มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ละประเทศอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของหมู่เกาะนี้ซึ่งเชื่อกันว่าอุดมไปด้วยทรัพยากรรวมทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. Raul (Pete) Pedrozo (19 August 2014). "China versus Vietnam: An Analysis of the Competing Claims in the South China Sea". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  2. Martin Riegl; Jakub Landovský; Irina Valko, บ.ก. (26 November 2014). Strategic Regions in 21st Century Power Politics. Cambridge Scholars Publishing. pp. 66–68. ISBN 9781443871341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  3. Michaela del Callar (26 July 2013). "China's new '10-dash line map' eats into Philippine territory". GMA News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  4. Jamandre, Tessa (14 April 2011). "PH protests China's '9-dash line' Spratlys claim". Malaya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  5. "China building 'great wall of sand' in South China Sea". BBC. 1 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2015.
  6. "US Navy: Beijing creating a 'great wall of sand' in South China Sea". The Guardian. 31 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2015.
  7. Marcus, Jonathan (29 May 2015). "US-China tensions rise over Beijing's 'Great Wall of Sand'". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2015. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  8. Cheney-Peters, Scott (14 December 2014). "China's Nine-Dashed Line faces renewed assault". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
  9. Wu 2013, p. 79(at History of the U-shaped line)
  10. Brown, Peter J. (8 December 2009). "Calculated ambiguity in the South China Sea". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2010. สืบค้นเมื่อ May 18, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  11. Euan Graham. "China's New Map: Just Another Dash?". RUSI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2013.
  12. "Limits in the Seas" (PDF). Office of Ocean and Polar Affairs, U.S. Department of State. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
  13. "New ten-dashed line map revealed China's ambition". 19 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
  14. 14.0 14.1 "The South China Sea Arbitration Award of 12 July 2016" (PDF). Permanent Court of Arbitration. Permanent Court of Arbitration. 12 July 2016.
  15. PCA Award, Section V(F)(d)(264, 266, 267), p. 113.[14]
  16. PCA Award, Section V(F)(d)(278), p. 117.[14]
  17. "PCA Press Release: The South China Sea Arbitration (The Republic of the Philippines v. The People's Republic of China) | PCA-CPA". pca-cpa.org. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  18. "South China Sea: Tribunal backs case against China brought by Philippines". BBC News. 12 July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  19. Jun Mai, Shi Jiangtao (12 July 2016). "Taiwan-controlled Taiping Island is a rock, says international court in South China Sea ruling". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)