มัสยิดจาเม็ก
3°8′56.06″N 101°41′45.46″E / 3.1489056°N 101.6959611°E
มัสยิดสุลต่านอับดุล ซอมัด จาเม็ก Masjid Jamek Sultan Abdul Samad | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | อิสลาม |
หน่วยงานกำกับดูแล | อิหม่าม: อุซตัซ ฮาจี ยะฮ์ยา มะฮ์ยุดดิน บิน ดาตุก ฮาจี อูโตะฮ์ ไซด์ (ค.ศ. 2017–ปัจจุบัน) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย |
ผู้บริหาร | สภาอิสลามกัวลาลัมเปอร์ |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | อิสลาม, มัวร์, โมกุล |
เสร็จสมบูรณ์ | พ.ศ. 2452 |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความจุ | 1,000 คน[1] |
หอคอย | 2 |
มัสยิดจาเม็ก หรือชื่อทางการว่า มัสยิดสุลต่านอับดุล ซามัด จาเม็ก (มลายู: Masjid Jamek Sultan Abdul Samad, ยาวี: مسجد جامع سلطان عبدالصمد) เป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[2] มัสยิดนี้ได้รับการออกแบบโดยอาร์เทอร์ เบนิสัน ฮับแบ็ก (Arthur Benison Hubback) และสร้างใน ค.ศ. 1909 โดยสร้างใกล้กับแม่น้ำกลังและแม่น้ำกมบัก
คำว่า "จาเม็ก" ในภาษามลายูมีความหมายเดียวกันกับในภาษาอาหรับ (جامع) ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่ผู้คนมาสักการะ[3] และคนในพื้นที่เรียกมัสยิดนี้ว่า "มัสยิดวันศุกร์"[4]
ประวัติ
[แก้]มัสยิดนี้ถูกสร้างขึ้นบนสุสานเก่า[5][6] ถึงแม้ว่าจะมีมัสยิดอื่นที่สร้างบนถนนชวาก็ตาม แต่มัสยิดจาเม็กเป็นมัสยิดแรกที่สร้างในตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ โดยวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1908 และเปิดมัสยิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1909[7][8] โดยใช้งบประมาณ 32,625 ดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ[3] มัสยิดจาเม็กทำหน้าที่เป็นมัสยิดหลักของกัวลาลัมเปอร์จนกระทั่งมีการสร้างมัสยิดเนอการาใน ค.ศ. 1965
หลังจากนั้นจึงมีการขยายมัสยิด โดยสร้างทุ่งเปิดโล่งไว้ด้านนอก[9] และใน ค.ศ. 1993 โดมหนึ่งถล่มลงมาเพราะรับน้ำฝนไม่ไหว ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมแล้ว[7]
ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2017 มัสยิดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นมัสยิดสุลต่านอับดุล ซามัด จาเม็ก ตามชื่อบรรพบุรุษของสุลต่านชาราฟุดดินแห่งรัฐเซอลาโงร์[10]
รูปแบบ
[แก้]ตัวมัสยิดมีรูปร่างสถาปัตยกรรมแบบมัวร์, อินโด-ซาราเซนิก หรือโมกุล[11] อาร์เทอร์ เบนิสัน ฮับแบ็ก ได้สร้างสิ่งก่อสร้างอื่นในแบบเดียวกัน เช่น สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ และมัสยิดอุบูเดียฮ์ที่กัวลากังซาร์ ตัวมัสยิดมีหออะซานอยู่ 2 หอ[9][12] และมีโดม 3 โดม โดยโดมที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงถึง 21.3 เมตร (70 ฟุต)[3]
ใกล้มัสยิดมีสถานีรถไฟรางเบามัสยิดจาเม็กที่ให้บริการกับสายเกอลานาจายา, สายศรีเปอตาลิง และสายอัมปัง โดยที่สถานีตั้งอยู่ระหว่างไชนาทาวน์ กับลิตเทิลอินเดีย ใกล้ ๆ สถานีมีจัตุรัสเมอร์เดกาอยู่ด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]ภาพ
[แก้]-
มัสยิดจาเม็กใน ค.ศ. 2011
-
มัสยิดจาเม็กมองผ่านทางแม่น้ำ
-
ที่เอาน้ำละหมาด
-
ห้องละหมาด
-
ในระหว่างการก่อสร้างใน ค.ศ. 2016
-
เสาศูนย์ไมล์ที่มีมัสยิดจาเม็กเป็นฉากหลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tariq, Qishin (23 June 2017). "KL's oldest mosque renamed Masjid Jamek Sultan Abdul Samad". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
- ↑ "Jamek Mosque". Tourism Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 25 May 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Masjid Jamek, a beautiful mosque surrounded by the city". Malaysia Travel Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
- ↑ "Masjid Jamek: Friday Mosque". History Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
- ↑ J.M. Gullick (2000). A History of Kuala Lumpur 1856-1939. The Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. p. 164.
- ↑ Bavani M (13 April 2016). "Rock-solid proof of 200-year-old graves". The Star.
- ↑ 7.0 7.1 Lam Seng Fatt (15 October 2011). Insider's Kuala Lumpur (3rd Edn): Is No Ordinary Travel Guide. Open Your Eyes to the Soul of the City (3rd Revised ed.). Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 38–39. ISBN 9789814435390.
- ↑ "Masjid warga kota". Utusan Online. 27 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
- ↑ 9.0 9.1 Audrey Southgate, Gregory Byrne Bracken (15 January 2014). A Walking Tour Kuala Lumpur (2nd ed.). Marshall Cavendish Editions. ISBN 9789814516945.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ QISHIN TARIQ (2017-06-23). "KL's oldest mosque renamed Masjid Jamek Sultan Abdul Samad". The Star.
- ↑ Malaysian Institute of Architects (2007). Architectural Heritage: Kuala Lumpur - Pre-Merdeka. Pertubuhan Akitek Malaysia. p. 20.
- ↑ "Hubback Walk". Museum Volunteers, JMM.