ข้ามไปเนื้อหา

มันไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คู่ผู้แสดงมันไซในงานเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ โดยคนขัดจังหวะ (สึกโกมิ) อยู่ด้านหน้า และคนใสซื่อ (โบเกะ) อยู่ด้านหลัง (ไม่ทราบศิลปิน ภาพวาดญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ 19)

มันไซ (ญี่ปุ่น: 漫才โรมาจิManzai) เป็นการแสดงตลกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น[1] ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี[2]

โดยทั่วไปแล้ว มันไซจะประกอบไปด้วยผู้แสดงสองคน (ญี่ปุ่น: 漫才師โรมาจิManzaishi) ได้แก่ คนขัดจังหวะ (ญี่ปุ่น: 突っ込みโรมาจิTsukkomiทับศัพท์: สึกโกมิ; สอดเข้า, ขัดจังหวะ) และ คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケโรมาจิBokeทับศัพท์: โบเกะ (มาจากคำว่า 呆ける ซึ่งหมายถึงเติบโตอย่างไร้เดียงสา)) รับและส่งมุกตลก (เปรียบเสมือนการชง-ตบ) ด้วยความเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นมุกตลกที่เล่าถึงสถานการณ์การที่ต่างคนต่างเข้าใจผิด พูดไร้สาระ หรือคำพูดสองแง่สองง่าม[3]

ในปัจจุบัน มันไซจะถูกเล่นในแถบโอซากะและผู้แสดงมันไซจะใช้สำเนียงคันไซในระหว่างการทำการแสดง

ในปี ค.ศ. 1933 โยชิโมโตะ โคเกียว บริษัทความบันเทิงขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในโอซากะ ได้เริ่มมีการนำเสนอการแสดงมันไซในแบบโอซากะและการเขียนคำว่า 'มันไซ' โดยใช้อักษรคันจิ "漫 (man)" และ "才 (zai)" (เป็นหนึ่งในวิธีเขียนหลายแบบของ 'มันไซ' ในภาษาญี่ปุ่น (ดู § ชื่อเรียก ด้านล่าง) แก่ผู้ชมชาวโตเกียวได้รู้จัก ในปี 2015 นวนิยายมันไซของมาโตโยชิ นาโอกิ สปาร์ค (ญี่ปุ่น: 火花โรมาจิHibana) ได้รับรางวัลวรรณกรรมอากูตางาวะ[4] และถูกดัดแปลงเป็นละครชุด ฮิบานะ: สปาร์ค บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2016[5] นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง เด็กอาซากุสะ ที่เล่าเรื่องราวของนักแสดงมันไซ ทาเกชิ คิตาโนะ ได้เผยแพร่บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2021 ด้วยเช่นกัน[3][6]

ประวัติ

[แก้]

พบหลักฐานการแสดงมันไซเป็นครั้งแรกในเทศกาลตรุษญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอัง[7] ผู้แสดงมันไซสองคนที่ตอบโต้กันด้วยคำพูดที่มาจากเหล่าเทพ โดยผู้แสดงคนหนึ่งมีท่าที่หรือแสดงปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง รูปแบบนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่จวบจนถึงปัจจุบันในบทบาทของคนใสซื่อ (โบเกะ) และ คนขัดจังหวะ (สึกโกมิ)

ภาพพิมพ์แสดงนักแสดงมันไซสองคนในฉากปีใหม่ (ราว 1825)

ต่อมาในยุคเอโดะ การให้ความสำคัญกับอารมณ์ขันได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบวิธีการแสดงมันไซที่แตกต่างกันไป เช่น โอวาริ มันไซ (ญี่ปุ่น: 尾張万歳โรมาจิOwari Manzai) มิกาวะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 三河万歳โรมาจิMikawa Manzai) และ ยาโมโตะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大和万歳) การมาถึงของยุคเมจิ ทำให้เกิด โอซากะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大阪万才โรมาจิŌsaka Manzai) ที่ได้เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าในเชิงความนิยมเมื่อเทียบกับมันไซในยุคก่อน ๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น รากูโกะ ยังคงเป็นที่นิยมเสียมากกว่า[ต้องการอ้างอิง]

หลังสิ้นสุดยุคไทโช ในปี 1912 บริษัทโยชิโมโตะ โคเกียว ที่ก่อตั้งในช่วงต้น ๆ ของยุคได้คิดค้นมันไซที่ไม่มีการแสดงในเชิงเฉลิมฉลองเหมือนมันไซสมัยก่อน โดยมันไซรูปแบบใหม่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและความนิยมก็ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น รวมถึงโตเกียวด้วยเช่นกัน และประกอบกับคลื่นเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ มันไซยังถูกแสดงบนเวทีโรงละคร วิทยุ โทรทัศน์ และวิดีโอเกม[8][9][10][11][12]

ชื่อเรียก

[แก้]

คันจิสำหรับคำว่า 'มันไซ' สามารถเขียนได้หลายแบบ โดยดั่งเดิมแล้วเขียนแล้วมีความหมายว่า "หมื่นปี" (ญี่ปุ่น: 萬歳โรมาจิBanzaiทับศัพท์: บันไซ) ที่ใช้คันจิ 萬 (man) แทนที่จะใช้คันจิอีกตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน 万 และคันจิที่ง่ายกว่า 才 แทนที่ 歳 (สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมาย 'ความสามารถ') การมาถึงของ โอซากะ มันไซ ทำให้มีการเปลี่ยนคันจิตัวแรกเป็น 漫 ที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน[13]

โบเกะ และ สึกโกมิ

[แก้]

โบเกะ และ สึกโกมิ ถือว่าเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญของมันไซ ซึ่งสามารถเปรียบเสมือนได้กับการชง-ตบของการแสดงตลกในประเทศไทย คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケโรมาจิBokeทับศัพท์: โบเกะ) มาจากคำกริยา โบเกรุ (ญี่ปุ่น: 惚ける/呆けるโรมาจิBokeru) ที่มีความหมายว่า "เติบโตอย่างไร้เดียงสา" ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตีความที่ผิดพลาดและการลืมสิ่งที่พึ่งพูดออกไปในระยะเวลาอันรวดเร็วของผู้ที่รับบทเป็นโบเกะ และคำว่า สึกโกมิ (ญี่ปุ่น: 突っ込みโรมาจิTsukkomi) หมายถึงผู้แสดงมันไซที่มีหน้าที่ขัดจังหวะ พูดแทรก หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของโบเกะ โดยทั่วไปแล้วสึกโกมิจะตำหนิติเตียนโบเกะ และตีศีรษะด้วยพัดลมกระดาษพับที่เรียก ฮาริเซ็ง (ญี่ปุ่น: 張り扇โรมาจิHarisen)[14] นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงมันไซอื่น ๆ เช่น กลองเล็กที่มักจะถือและใช้โดยโบเกะ ไม้ไผ่ญี่ปุ่น หรือร่มกระดาษ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] อุปกรณ์ประกอบการแสดงเหล่านี้จะใช้ในการแสดงมันไซที่ไม่มีความจริงจังเท่านั้น เนื่องจากการแสดงมันไซแบบดั้งเดิมหรือการแข่งขันจะบังคับไม่ให้มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง อีกทั้งยังทำให้การแสดงตลกนี้เป็นเหมือนกับ คนโตะ (การแสดงตลกที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และฉากประกอบการแสดง) มากกว่าการแสดงมันไซ[15]

การแสดงมันไซที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Blair, Gavin (2016). "What's Manzai?". Highlighting Japan June 2017. Public Relations Office of the Government of Japan. สืบค้นเมื่อ November 4, 2019.
  2. Blair, Gavin (2016). "What's Manzai?". Highlighting Japan June 2017. Public Relations Office of the Government of Japan. สืบค้นเมื่อ November 4, 2019.
  3. 3.0 3.1 Schley, Matt (2021-12-09). "Asakusa Kid is Full of Easter Eggs About Japanese Culture". Netflix Tudum (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Kyodo, Jiji (July 17, 2015). "Comedian Matayoshi's literary win offers hope for sagging publishing industry". Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2015.
  5. "HIBANA (SPARK), BY NAOKI MATAYOSHI, WILL BE A NETFLIX JAPAN ORIGINAL SERIES". Netflix Media Center. 2016-09-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  6. "大泉洋、"幻の浅草芸人"を体現 『浅草キッド』場面写真解禁(クランクイン!)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  7. "日本のお笑いである「漫才(manzai)」を知ろう│KARUTA - 楽しく日本を学ぼう". KARUTA - 楽しく日本を学ぼう (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Hiragana lesson through Japanese culture – manzai
  9. Manzai (Double-act comedy)
  10. Manzai (Double-act comedy)
  11. Corkill, Edan, "Yoshimoto Kogyo play reveals manzai's U.S. roots", เจแปนไทมส์, 25 May 2012, p. 13
  12. Ashcraft, Brian, "Ni no Kuni’s Funny Bone Has Quite the History", Kotaku, 5 October 2011
  13. "笑いを演じ、幸せをお迎えする郷土芸能". ちょうどいいまち 知多 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. WWWJDIC เก็บถาวร 3 มกราคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. "お笑いライブで見る「漫才」と「コント」の違いとは? | 【公式】東京俳優・映画&放送専門学校 | 俳優・映画・映像のプロが作った学校". 【公式】東京俳優・映画&放送専門学校 (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]