หมื่นปี
หมื่นปี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 萬歲 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 万岁 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | vạn tuế | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จื๋อโนม | 萬歲 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 만세 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันจา | 萬歲 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชินจิไต | 万歳 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คีวจิไต | 萬歲 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | ばんざい | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คาตากานะ | バンザイ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ในภาษาเอเชียตะวันออกหลายภาษา คำว่า "หมื่นปี" ใช้อวยพรให้อายุยืน มีที่มาจากคำถวายพระพรจักรพรรดิจีนว่า "ทรงพระเจริญหมื่นปี หมื่นปี หมื่น ๆ ปี" (จีน: 吾皇萬歲,萬歲,萬萬歲; พินอิน: wú huáng wànsuì, wànsuì, wàn wàn suì; "May His Majesty live for ten thousand years, ten thousand years, ten thousand of ten thousand years")
การออกเสียง[แก้]
- ภาษาจีนกลาง: วั่นซุ่ย (จีน: 萬歲; จีน: 万岁; พินอิน: wàn suì)
- ภาษาญี่ปุ่น: บันไซ (ญี่ปุ่น: 万歳; โรมาจิ: ばんざい; ทับศัพท์: banzai)
- ภาษาเกาหลี: มันเซ (เกาหลี: 만세)
- ภาษาเวียดนาม: ม็วนเนิม (เวียดนาม: muôn năm)
ประเทศจีน[แก้]
คำว่า "หมื่นปี" (萬歲; ten thousand years) นั้นเดิมใช้อวยพรให้บุคคลมีอายุยืนนาน ครั้นสมัยราชวงศ์ถัง ถ้อยคำดังกล่าวสงวนไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินจึงได้ชื่อว่า "พระหมื่นปี" (จีนตัวย่อ: 万岁爷; จีนตัวเต็ม: 萬歲爺; พินอิน: wànsuì ye; Lord of Ten Thousand Years)[1][2] ถึงยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ได้ใช้สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อยู่ช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง เพราะต่อมาถือกันว่า ถ้าใช้แก่ผู้อื่นนอกจากพระเจ้าแผ่นดินเป็นความผิดอุกฉกรรจ์[3]
อนึ่ง ตามธรรมเนียมแล้ว ฮองเฮาและฮองไทเฮาจะได้รับถวายพระพรว่า "พันปี" (千歲; thousand years) แต่ปรากฏว่าพระนางซูสีไทเฮา (慈禧太后) ได้ใช้คำถวายพระพรว่า "หมื่นปี" และภาพถ่ายพระนางหลายภาพมีป้ายว่า "ฮองไทเฮาผู้เป็นอริยมารดาพระองค์ปัจจุบันแห่งชิงอันยิ่งใหญ่ ทรงพระเจริญหมื่นปี หมื่น ๆ ปี" (大清國當今聖母皇太后萬歲萬歲萬萬歲; "The Incumbent Holy Mother, the Empress Dowager of the Great Qing, [will live and reign for] ten thousand years, ten thousand years, ten thousand of ten thousand years")[4] นอกจากนี้ ในคราวที่พระเจ้าแผ่นดินไร้ความสามารถ ขันทีผู้ทรงอำนาจหลายคน เช่น เว่ย์ จงเสียน (魏忠賢) และหลิว จิ่น (劉瑾) ได้กำหนดให้อวยพรพวกตนว่า "เก้าพันปี" (九千歲, 9000 years) เพื่อแสดงว่าตนเองมีสถานะสูงส่งกว่าผู้อื่นทั้งปวง แต่ก็ยังอยู่ใต้พระยุคลบาท
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Current literature, Volume 51. Current Literature Pub. Co. 1911. p. 624. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ Edward Jewitt Wheeler, Frank Crane (1911). Current opinion, Volume 51. The Current Literature Publishing Co. p. 624. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ Ouyang, Xiu. Davies, Richard L. [2004] (2004). Historical Records of the Five Dynasties. Columbia university press. ISBN 0-231-12826-6
- ↑ "瑞丽女性网-生活-揭密慈禧太后奢侈生活". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-09. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
![]() |
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |