รากูโงะ
รากูโงะ (ญี่ปุ่น: 落語; โรมาจิ: Rakugo; แปลว่า "คำตก") เป็นรูปแบบความบันเทิงที่ใช้คำพูดของญี่ปุ่น โดยนักเล่าเรื่องเดี่ยว (ญี่ปุ่น: 落語家; โรมาจิ: rakugoka) นั่งบนเวทีที่เรียกว่า โคซะ (ญี่ปุ่น: 高座; โรมาจิ: kōza) ใช้เพียงพัดกระดาษ (ญี่ปุ่น: 扇子; โรมาจิ: sensu) และผ้าผืนเล็ก (ญี่ปุ่น: 手拭; โรมาจิ: tenugui) เป็นอุปกรณ์ และไม่มีการยืนขึ้นมาจากตำแหน่งนั่งบนเบาะรองนั่ง (ญี่ปุ่น: 正座; โรมาจิ: seiza) ศิลปินรากูโงะจะเล่าเรื่องตลก (หรือบางครั้งเป็นเรื่องซึ้งกินใจ) ที่ยาวและซับซ้อน เรื่องราวที่เล่ามักเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครสองคนหรือมากกว่า ความแตกต่างระหว่างตัวละครจะแสดงออกมาผ่านเพียงการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง น้ำเสียง หรือการหันศีรษะเล็กน้อย
ศัพทมูล
[แก้]รากูโงะเดิมรู้จักในชื่อ คารูกูจิ (ญี่ปุ่น: 軽口; โรมาจิ: karukuchi)[1] การปรากฏของอักษรคันจิที่เก่าแก่ที่สุดที่หมายความถึงการแสดงชนิดนี้มีตั้งแต่ ค.ศ. 1797 แต่เวลานั้นตัวอักษรดังกล่าว (落とし噺) โดยปกติอ่านว่า โอโตชิบานาชิ (การพูดที่ตกลง)
ในช่วงกลางยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) คำว่า รากูโงะ เริ่มมีการใช้เป็นครั้งแรก และกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในยุคโชวะ (ค.ศ. 1926–1989).
ศิลปินรากูโงะที่มีชื่อเสียง
[แก้]เอโดะ (โตเกียว)
[แก้]- Hayashiya Kikuō (เดิมชื่อ Hayashiya Kikuzō I)
- Hayashiya Konpei
- Hayashiya Sanpei I
- Hayashiya Shōzō IX
- Hayashiya Taihei
- Kairakutei Black I (Henry Black)
- Katsura Utamaru
- Katsura Yonesuke
- Kokontei Shinchō
- Kokontei Shinshō
- Reireisya Bafū
- Reireisya Suzumaru (Yamada Takao)
- Ryūtei Chiraku
- San'yūtei Enchō
- San'yūtei Enraku V
- San'yūtei Enraku VI (เดิมชื่อ San'yūtei Rakutarō)
- San'yūtei Kōraku
- San'yūtei Koyūza
- Sanshōtei Yumenosuke
- Shunpūtei Koasa
- Shunpūtei Ryūshō
- Shunpūtei Shōta
- Tachibanaya Enzō
- Tachibanaya Takezō
- Tatekawa Danshi
- Tatekawa Shinosuke
- Yanagiya Kosan
- Yanagiya Kosanji
คามิกาตะ (โอซากะ)
[แก้]- Hayashiya Somemaru IV
- Katsura Beichō
- Katsura Bunchin
- Katsura Bunshi V
- Katsura Bunshi VI (เดิมชื่อ Katsura Sanshi)
- Katsura Harudanji
- Katsura Shijaku II
- Katsura Sunshine
- Shōfukutei Kakushow
- Shōfukutei Matsunosuke
- Shōfukutei Nikaku
- Shōfukutei Shōkaku
- Shōfukutei Tsurube
- Showko Showfukutei
- Tsukitei Happō
- Tsukitei Hōsei (เดิมชื่อ Yamasaki Hōsei)
- Tsukitei Kachō
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- English-Rakugo web site
- YouTube Rakugo examples
- Rakugo video (in English) SFGTV San Francisco
- Bilingual Kamigata (Osaka) Rakugo web site
- Katsura Sunshine's essay concerning the difference between Kamigata(Osaka) rakugo and Edo(Tokyo) rakugo
- Learning Japanese Language and Culture through Rakugo Appreciation