มะตาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะตาด
ใบและตาของมะตาดในโกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, ประเทศอินเดีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Angiosperms
ชั้น: Eudicots
อันดับ: Dilleniales
วงศ์: Dilleniaceae
สกุล: Dillenia
สปีชีส์: D.  indica
ชื่อทวินาม
Dillenia indica
L.

มะตาด เป็นพืชในสกุลส้าน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และทางตะวันออกของศรีลังกาจรดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน) และเวียดนาม และทางตอนใต้ของไทยถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย[1]

มะตาดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: ส้มปรุ ส้านกว้าง ส้านท่า ส้านใหญ่ (สุราษฎร์ธานี) ส้านป้าว (เชียงใหม่) แส้น (ตรัง, สงขลา)[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

มะตาดเป็นไม้ไม่ผลัดใบ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 15 ม. ใบยาว 15-36 ซม. เส้นใบเห็นเด่นชัด ดอกมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-20 ซม.มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลือง ผลกลมมีขนาดใหญ่ สีเหลืองแกมเขียว สามารถรับประทานได้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-12 ซม. ประกอบด้วย 15 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 5 เมล็ด[3][4]

ประโยชน์[แก้]

มะตาดนอกจากปลูกไว้เพื่ออาศัยร่มเงาแล้ว ไม้จากต้นมะตาดสามารถนำมาทำฟืนได้ อีกทั้งผลยังนำมาประกอบอาหารได้อีกด้วย เช่น นำผลอ่อนมาแกงคั่ว เป็นต้น นอกจากนี้มะตาดยังเป็นยาสมุนไพร รากใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงกัดต่อย เปลือกและใบมีรสฝาดใช้เป็นยาสมานแผลได้ดี[5] เมือกที่ผลมะตาดมีลักษณะเป็นวุ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะ ขับถ่ายสะดวก[6]

มะตาด มี 2 ชนิดคือ มะตาดข้าวเจ้า เนื้อหยาบกระด้าง มีเส้นกากมาก ลูกสีเขียวอ่อน และมะตาดข้าวเหนียว เนื้อนิ่ม เส้นกากน้อย สีเขียวเข้ม รสเปรี้ยวอมฝาด ชาวมอญนิยมนำมะตาดข้าวเหนียวมาแกง ทั้งแกงส้มและแกงคั่ว [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Germplasm Resources Information Network: Dillenia indica เก็บถาวร 2015-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  3. Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening. Macmillan ISBN 0-333-47494-5.
  4. Flora of Pakistan: Dillenia indica
  5. มะตาด เก็บถาวร 2010-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ภูมิปัญญามอญ
  6. มะตาด เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนของดีท้องถิ่น ปรุมธานี เครือข่ายกาญจนาภิเษก
  7. องค์ บรรจุน. ข้างสำรับมอญ. กรุงเทพฯ: มติชน. 2557 หน้า 111 -113