วงศ์ส้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dilleniaceae)

Dilleniaceae
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ก่อนยุคพาลีโอจีน–ปัจจุบัน (ดูในบทความ) 52–0Ma
Hibbertia stellaris
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: Dilleniales
วงศ์: ส้าน
Salisb.[1]
สกุล

ระบบ APG II ได้จำแนกเป็นสกุลดังนี้

วงศ์ส้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dilleniaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกประกอบด้วย 11 สกุล และมีชนิดพันธุ์ที่รู้จัก 430 ชนิด[2] พืชในวงศ์นี้ที่มีการนำไปใช้แต่งสวนอยู่ในสกุล Hibbertia ซึ่งมีชนิดพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักทางการค้าจำนวนมาก ในระบบ APG II ใน พ.ศ. 2546 ยังคงกำหนดให้มีวงศ์นี้อยู่ แต่ไม่จัดให้อยู่ในอันดับใด โดยให้อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้แกนกลาง

คำอธิบายและการกระจายพันธุ์[แก้]

พืชในวงศ์นี้พบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนรวมถึงออสเตรเลียทั้งทวีป ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นหรือเถาวัลย์ เช่นสกุล Dillenia แต่ก็มีสกุลไม้ล้มลุกเช่น Hibbertia ใบมีลักษณะกว้างและเจริญดี ยกเว้นบางชนิดในสกุล Hibbertia ดอกส่วนใหญ่มีสีฉูดฉาดและมีเกสรที่มองเห็นได้ชัดเจน โดยปกติการผสมเกสรเป็นการถ่ายเรณูด้วยการสั่น (buzz pollination)[3] ผลของบางชนิดพันธุ์ เช่น มะตาด (Dillenia indica) สามารถรับประทานได้

วิวัฒนาการ[แก้]

วงศ์นี้มีความโดดเด่นเนื่องจากลักษณะความแปรปรวนของลักษณะทางสัณฐานวิทยาในปัจจุบันมีน้อยกว่าในกลุ่มพืชดอกอื่น ๆ ดังนั้นวงศ์ Dilleniaceae อาจเป็นเคลดโบราณที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่แท้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มที่ดั้งเดิมมากกว่า[4] มีการคาดกันว่ากลุ่มเคลดแยกตัวออกจากกันเมื่อประมาณ 115 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส แต่กลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันล่าสุดของสมาชิกที่ยังหลงเหลืออยู่ (crown group) ได้ก่อตัวขึ้นในภายหลัง คือเพียง 52 ล้านปีก่อนเท่านั้น[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
  2. Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.
  3. Endress, Peter K. (1997). "Relationships between floral organization, architecture, and pollination mode in Dillenia (Dilleniaceae)". Plant Systematics and Evolution. 206 (1–4): 99–118. doi:10.1007/BF00987943. S2CID 23394517.
  4. Horn, James W. (2009). "Phylogenetics of Dilleniaceae Using Sequence Data from Four Plastid Loci (rbcL, infA, rps4, rpl16 Intron)". International Journal of Plant Sciences. 170 (6): 794–813. doi:10.1086/599239. S2CID 84857528.
  5. "Dilleniales Berchtold & J. Presl". Missouri Botanical Garden.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]