ข้ามไปเนื้อหา

มอลตาแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอลตาแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
AL[ต้องการอ้างอิง] MAY BLUE MED
ก่อตั้ง9 มิถุนายน ค.ศ. 2019 (5 ปี)
AOC #MT-57
ฐานการบินมอลตา
มิลาน–มัลเปนซา
ขนาดฝูงบิน174
บริษัทแม่ไรอันแอร์
สำนักงานใหญ่มอลตา เปียตา ประเทศมอลตา
บุคลากรหลักเดวิด โอไบรอัน (ซีอีโอ)

มอลตาแอร์ (อังกฤษ: Malta Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติมอลตา[1] โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติมอลตาและท่าอากาศยานมิลาโนมัลเปนซา สายการบินเป็นกิจการร่วมค้าระหว่างไรอันแอร์และรัฐบาลมอลตา[2]

เริ่มแรกมอลตาแอร์ดำเนินงานด้วยโบอิง 737-800 จำนวนหกลำที่โอนย้ายมาจากไรอันแอร์[3] และมีแผนที่จะให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 66 แห่งจากมอลตาพร้อมแผนที่ขยายเครือข่ายในอนาคต[4] แต่ก็ต้องพับแผนลงไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 เมื่อเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 จนต้องลดจำนวนนักบินมากถึงหนึ่งในสามของทั้งหมด[5]

ประวัติ

[แก้]

ในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2019 ไรอันแอร์ประกาศถึงความร่วมมือกับรัฐบาลมอลตาที่จะจัดตั้งสายการบินลูกแห่งใหม่ในประเทศด้วยชื่อ มอลตาแอร์ ซึ่งจะให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 61 แห่งของไรอันแอร์จากมอลตาด้วยฝูงบินหกลำ โดยเครื่องบินทั้งหมดในฝูงบินจะจดทะเบียนในมอลตาพร้อมกับการสร้างโรงเก็บเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติมอลตา[6][7] ไรอันแอร์จะโอนย้ายการดำเนินงานทั้งหมดในประเทศมอลตาให้กับสายการบินใหม่นี้ อีกทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มฝูงบินจากโบอิง 737-800 จำนวน 6 ลำเป็น 10 ลำพร้อมกับติดชื่อมอลตาแอร์บนฝูงบินภายในกลางปี 2020[8]

ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2019 ได้มีรายงานถึงการพบเครื่องบินของไรอันแอร์ที่มีข้อความ "operated by Malta Air" ติดอยู่บริเวณส่วนหัวของเครื่องบินที่ท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเต็ด[9] และมีรายงานในลักษณะนี้จนถึงปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 รวมถึงมีรายงานเกี่ยวกับคู่มือความปลอดภัยบนเครื่องบินและการประกาศบนเครื่องบินที่เปลี่ยนแปลงไป[10] อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีการประกาศยังเป็นทางการจากสายการบิน

ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 เมื่อมอลตาแอร์ได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19 สายการบินจำเป็นต้องลดจำนวนนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นจำนวนมาก หลังจากเดิมที่เสนอลดเงินเดือนพนักงานลง 10%[11] นักบิน 20 คนและพนักงานต้อนรับ 40 คนจากทั้งหมด 179 คนถูกยกเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 มอลตาแอร์รับมอบโบอิง 737 แมกซ์ 200 ลำแรก เครื่องบินลำดังกล่าว (ทะเบียน 9H-VUE) เป็นเครื่องบินลำแรกที่สวมลวดลายมอลตาแอร์แบบเต็ม[12] และเป็นเครื่องบินที่มอลตาแอร์ได้รับมอบจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ในขณะที่โบอิง 737-800 ลำก่อนๆ ได้โอนย้ายมาจากไรอันแอร์

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

มอลตาแอร์เดิมมีแผนที่จะให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 66 แห่งจากฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติมอลตา ในปี 2020[13] โดยนอกเหนือจากเส้นทางที่ดำเนินงานต่อจากไรอันแอร์แล้ว ยังได้เปิดเส้นทางบินเพิ่มสู่จุดหมายปลายทางในแพฟอส บรินดิซี ตราปานี ตรีเยสเต นีช และซานเตียโกเดกอมโปสเตลา[14] มอลตาแอร์จะให้บริการเที่ยวบินสู่ดับลินและเวียนนาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2020[15] ปัจจุบันมอลตาแอร์ให้บริการเที่ยวบินจาก/สู่ท่าอากาศยานมิลาโนแบร์กาโมเป็นหลัก[ต้องการอ้างอิง] และให้บริการจากฐานการบินของไรอันแอร์ในอิตาลี เยอรมนี โรมาเนีย ฝรั่งเศส และบางส่วนในสวีเดนภายใต้ไรอันแอร์

ฝูงบิน

[แก้]
โบอิง 737 แมกซ์ 200ของมอลตาแอร์

ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024 มอลตาแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[16]

ฝูงบินของมอลตาแอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
โบอิง 737-800 131 189 โอนย้ายมาจากไรอันแอร์
โบอิง 737 แมกซ์ 200 43 197
รวม 174

มอลตาแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7.1 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martin, Ivan (11 June 2019). "Ryanair subsidiary Malta Air and Air Malta 'can live happily ever after'". Times of Malta (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  2. Galea, Albert (11 June 2019). "Malta Air will fly to 60 destinations but will not clash with Air Malta, PM says". www.independent.com.mt. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  3. Martin, Ivan (9 June 2019). "Ryanair to set up a new airline based in Malta". Times of Malta (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  4. Hudson, David (11 June 2019). "Malta Air officially launched, as Ryanair promises $1 billion investment". MaltaToday.com.mt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  5. Vella, Matthew (30 May 2020). "Ryanair subsidiary Malta Air starts COVID-19 redundancies of pilots, cabin crew". MaltaToday.com.mt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-01.
  6. "Ryanair to set up a new airline based in Malta". Times of Malta.
  7. "Ryanair to establish an airline in Malta". AVIATOR. 9 June 2019.
  8. "Ryanair Snaps Up Malta Air". Airliner World. August 2019: 11.
  9. Corporate Dispatch (2019-06-20). "PhotoStory – Ryanair aircraft operated by Malta Air spotted in Stansted airport". Corporate Dispatch (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-11-23.[ลิงก์เสีย]
  10. "Trip Review: Malta Air London Stansted To Cologne". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-23.
  11. Caurana, Claire (30 May 2020). "Malta Air makes pilots, cabin crew redundant". Times of Malta (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-06-01.
  12. "Boeing Delivers The First Aircraft In Ryanair's Malta Air Livery". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
  13. "Malta Air launches six new routes for next summer". MaltaToday.com.mt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
  14. "Malta Air launches six new routes from Malta". Times of Malta (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
  15. "Malta Air: Dublin – Vienna". Ryanair. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  16. "Malta Air Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.