เลาดาโมชัน
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 2004 (20 ปี) (ในชื่อ อมิราแอร์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 25 มีนาคม ค.ศ. 2018 (6 ปี) (ในชื่อ เลาดาโมชัน) | ||||||
เลิกดำเนินงาน | ตุลาคม ค.ศ. 2020 | ||||||
ท่าหลัก | ปัลมา (มาจอร์กา) เวียนนา | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 33 | ||||||
จุดหมาย | 38 | ||||||
บริษัทแม่ | ไรอันแอร์โฮลดิ้ง | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ชเวแชต, ออสเตรีย | ||||||
พนักงาน | ~ 910 | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เลาดาโมชัน (อังกฤษ: Laudamotion) ดำเนินการในชื่อ เลาดา หรือชื่อเดิม อมิราแอร์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติออสเตรีย[1] โดยมีสำนักงานใหญ่ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย[2] โดยสายการบินเป็นหนึ่งในสมาชิกของไรอันแอร์โฮลดิ้งตั้งแต่ปีค.ศ. 2018 นิกิ เลาดา อดีตแชมป์โลกฟอร์มูลาร์วัน ได้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของอมิราแอร์ ก่อนถูกซื้อในปีค.ศ. 2016
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 เลาดาเข้าซื้อกิจการของนิกิซึ่งเป็นสายการบินที่ก่อตั้งโดยนิกิ เลาดา จากนั้นอมิราแอร์เปลี่ยนมาให้บริการเที่ยวบินประจำแทน[3] โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 เลาดาแอร์ถูกทดแทนด้วยเลาด้ายุโรป สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมอลตา[4]
ประวัติ
[แก้]เลาดาโมชันก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2004 ในชื่ออมิราแอร์ โดยนักลงทุน รอนนี เพคชิค โดยสายการบินเริ่มดำเนินเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปยังจุดหมายปลายทางในยุโรปและเที่ยวบินระหว่างประเทศ
ในปีค.ศ. 2016 นิกิ เลาดาได้เข้าซื้อกิจการของสายการบิน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเลาดาโมชัน[5] เลาดาให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำจนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 แล้วจึงเปลี่ยนมาให้บริการเที่ยวบินประจำแทน[6]
เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2018 นิกิได้ตกลงที่จะขายสายการบินให้แก่เลาดาโมชัน โดยเครื่องบินทกลำของนิกิที่ถูกโอนย้ายเข้าฝูงบินของเลาดา[7][8]
ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2018 ไรอันแอร์ได้เข้าถือหุ้นของเลาดาโมชัน 24.9% โดยไรอันแอร์ตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างผลกำไรภายในปีที่สามของการดำเนินงานด้วยเครื่องบิน 30 ลำ[9][10][11]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 เลาดาโมชันเปลี่ยชื่อเป็นเลาดา[12]
ในช่วงปีค.ศ. 2020 เลาดาได้เริ่มปิดทำการฐานหลัก ๆ ของสายการบินเช่น ท่าอากาศยานเวียนนา, ท่าอากาศยานนานาชาติดึสเซิลดอร์ฟเป็นต้น[13][14]
ในวันที่ 31 เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 เลาดาได้เลิกดำเนินงานไปในที่สุด และกิจการทั้งหมดถูกโอนย้ายไปยังเลาดายุโรป[15]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]เลาดาให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลาย 38 แห่งในยุโรป, เอเชีย, และแอฟริกา ณ เดือนมิถุนายน 2020 เที่ยวบินเลาดาทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นการเช่าเครื่องบินภายใต้หมายเลขเที่ยวบินของไรอันแอร์[16]
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินสุดท้าย
[แก้]ก่อนการเลิกดำเนินงาน เลาดาเคยมีเครื่องบินในฝูงบินดังนี้:[17][18]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 28 | — | 180 | เครื่องบิน 9 ลำดำเนินงานให้แก่เลาดาโดยมีทะเบียนของมอลตา[19] |
รวม | 28 | — |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Laudamotion Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
- ↑ https://www.laudamotion.com/en/help-contact/imprint.jsp[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ "Lauda on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Niki Lauda hat Amira Air in LaudaMotion umbenannt". Austrian Wings (ภาษาเยอรมัน - ออสเตรีย).
- ↑ "LaudaMotion adds maiden A320, shifts bizav to new unit". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Niki assets go back to former founder Niki Lauda | DW | 23.01.2018". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Schneid, 23 01 2018 um 10:43 von Hedi (2018-01-23). "Niki Lauda: "Wir starten im März mit Laudamotion"". Die Presse (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Partnership With Niki Lauda To Develop Laudamotion Airline In Austria – Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ http://atwonline.com/blog/o-leary-s-winning-hand-lauda
- ↑ "Laudamotion and Ryanair Partnership Takes Off – Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ GmbH, Euro Business Communication Verlag (2022-02-14). "News". www.touristik-aktuell.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ryanair's Laudamotion unit to close its Vienna base". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ryanair schließt Basis in Düsseldorf". aero.de (ภาษาเยอรมัน). 2020-09-10.
- ↑ "Lauda on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.austrianaviation.net/detail/lauda-kuendigt-mitarbeiter-vor-der-eingangstuer/
- ↑ World Economic Outlook, October 2019. World Economic Outlook. Washington, D.C.: International Monetary Fund. 2019-10-15. ISBN 978-1-5135-0821-4.
- ↑ "Austro Control GmbH - Search Online". www.austrocontrol.at (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ryanair Looks To Scrap Lauda Airbus Fleet In Favour Of Boeing". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.