ภุพเนศวร
ภุพเนศวร เอกามรเกษตร จักรเกษตร[1] | |
---|---|
นคร | |
สมญา: Sports Capital of India Temple City of India | |
พิกัด: 20°16′N 85°50′E / 20.27°N 85.84°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | รัฐโอฑิศา |
เขต | Khordha |
ตั้งชื่อจาก | Lord Shiva's name: Bhubaneswar |
การปกครอง | |
• ประเภท | Municipal Corporation |
• องค์กร | Bhubaneswar Municipal Corporation (BMC) |
• Mayor | Anant Narayana Jena (BJD) |
• Municipal Commissioner | Dr. Krishan Kumar, IAS |
• Commissioner of Police | Satyajit Mohanty, IPS |
พื้นที่ | |
• นคร | 422 ตร.กม. (163 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 58 เมตร (190 ฟุต) |
ประชากร (2011)[2] | |
• นคร | 837,321 คน |
• อันดับ | 60 |
• ความหนาแน่น | 2,131.37 คน/ตร.กม. (5,520.2 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 881,988 คน |
เดมะนิม | Bhubaneswaria[3] |
ภาษา | |
• ทางการ | โอเดีย, อังกฤษ |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 751xxx |
Telephone code | 0674 |
ทะเบียนพาหนะ | OD-02 (Acharya Vihar) OD-33 (Patia) |
UN/LOCODE | IN BBI |
เว็บไซต์ | www |
ภุพเนศวร[4] (โอเดีย: ଭୁବନେଶ୍ୱର, ออกเสียง: [ˈbʱubɔneswɔɾɔ, -ɕwɔɾ] ( ฟังเสียง)) หรือ ภุวเนศวร[4] (ฮินดี: भुवनेश्वर) เป็นเมืองหลวงของรัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐโอฑิศาและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในอินเดียตะวันออก
เมืองยุคใหม่ของภุพเนศวรได้มีการก่อสร้างอย่างเป็นกิจลักษณะในปี ค.ศ. 1948 แต่ประวัติศาสตร์ในพื้นที่นี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล เมืองได้รับอิทธิพลจากฮินดู พุทธ และศาสนาเชน ที่สามารถเห็นได้จากโบสถ์กลิงคะ และมีโบสถ์จำนวนมากในศตวรรษที่ 6 ถึง 13 ที่เป็นโบสถ์ฮินดูในรูปแบบสถาปัตยกรรมกลิงคะ เมืองภุพเนศวรมักได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "นครแห่งโบสถ์ของอินเดีย"
ภุพเนศวรเป็นเมืองหลวงแทนเมืองคุตตักเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1949 สองปีหลังจากที่อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ เมืองสมัยใหม่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมันอ็อทโท เคอนิกส์แบร์เกอร์ ในปี 1946 ที่ยังออกแบบเมืองชัมเศทปุระและจัณฑีครห์ด้วย ภุพเนศวรถือเป็นหนึ่งในเมืองสมัยใหม่ที่ได้รับการวางผังเมืองแรกสุดของอินเดีย ภุพเนศวร
กับคุตตักมักได้รับการกล่าวว่าเป็น "เมืองแฝดของรัฐโอฑิศา" เขตมหานครที่เกิดจากสองเมืองมีประชากร 1.7 ล้านคนจากข้อมูลปี 2011[5] ภุพเนศวรได้รับการแบ่งเป็นเมืองชั้น 2 ยังเป็นเมืองเทคโนโลยีข้อมูลเกิดใหม่และเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา ภุพเนศวรเป็นหนึ่งในเมืองที่พัฒนาเร็วที่สุดของประเทศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "KSHETRA". Report Odisha. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 2015-11-25.
- ↑ "Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Census of India, Government of India. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ http://www.dailypioneer.com/state-editions/bhubaneswar/amme-bhubaneswariya-goes-viral-on-net.html
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Preface of the Comprehensive Development Plan for the Bhubaneswar-Cuttack Urban Complex