ภาษาเคิร์ด
ภาษาเคิร์ด | |
---|---|
Kurdî / کوردی | |
ประเทศที่มีการพูด | ตุรกี, อิรัก, อิหร่าน, ซีเรีย, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน |
ภูมิภาค | เคอร์ดิสถาน, อานาโตเลีย, คอเคซัส, จังหวัดโฆรอซอน, ชาวเคิร์ดพลัดถิ่น |
ชาติพันธุ์ | ชาวเคิร์ด |
จำนวนผู้พูด | [1] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบมาตรฐาน | |
ภาษาถิ่น | ภาษาเคิร์ดเหนือ (กุรมันชี)
ภาษาเคิร์ดตอนกลาง (โซรานี)
ภาษาเคิร์ดใต้ (Xwarîn, Palewani)
|
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรฮะวาร (อักษรละติน; ส่วนใหญ่ใช้ในตุรกีและซีเรีย) ชุดตัวอักษรโซรานี (อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ; ส่วนใหญ่ใช้ในอิหร่านและอิรัก) ชุดตัวอักษรซีริลลิก (อดีตสหภาพโซเวียต) ชุดตัวอักษรอาร์มีเนีย (ค.ศ. 1921-29 ในอาร์มีเนีย)[4][5][6] |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อิรัก[7][a] ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก[9][10] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อาร์มีเนีย[11] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ku |
ISO 639-2 | kur |
ISO 639-3 | kur – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: kmr – ภาษาเคิร์ดเหนือckb – ภาษาเคิร์ดตอนกลางsdh – ภาษาเคิร์ดใต้lki – ภาษาเคิร์ดลากี |
Linguasphere | 58-AAA-a (North Kurdish incl. Kurmanji & Kurmanjiki) + 58-AAA-b (Central Kurdish incl. Dimli/Zaza & Gurani) + 58-AAA-c (South Kurdish incl. Kurdi) |
ภาษาเคิร์ด (Kurdî, کوردی) เป็นภาษาหรือกลุ่มภาษาที่พูดโดยชาวเคิร์ดในภูมิภาคเคอร์ดิสถานกับชาวเคิร์ดพลัดถิ่น ภาษาเคิร์ดอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาย่อยสามภาษาหลักของภาษานี้คือภาษาเคิร์ดเหนือ (Kurmanji), ภาษาเคิร์ดตอนกลาง (Sorani) และภาษาเคิร์ดใต้ (Xwarîn)
กลุ่มภาษาซาซา–โกรานี กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ใช่เคิร์ด เป็นกลุ่มภาษาที่ผู้มีเชื้อสายเคิร์ดใช้พูดหลายล้านคน[12][13][14] ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่พูดสำเนียงกุรมันชี[15][16] และข้อความภาษาเคิร์ดส่วนใหญ่เขียนในอักษรกุรมันชีและโซรานี สำเนียงกุรมันชีเขียนด้วยชุดตัวอักษรฮะวารที่มาจากอักษรละติน ส่วนสำเนียงโซรานีเขียนด้วยชุดตัวอักษรโซรานีที่มาจากอักษรอาหรับ
การจัดอันดับให้ภาษาลากีเป็นภาษาย่อยของภาษาเคิร์ดใต้หรือเป็นภาษาที่สี่ของภาษาเคิร์ดยังคงเป็นที่ถกเถียง[3] แต่ความแตกต่างระหว่างภาษาลากีกับสำเนียงเคิร์ดใต้อื่น ๆ มีน้อย[17]
จุดกำเนิดและรากของภาษา
[แก้]เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนพุทธศักราช เผ่าที่พูดภาษากลุ่มอิหร่านได้แพร่กระจายเข้าไปในบริเวณที่เรียกเคอร์ดิสถานในปัจจุบัน เป็นกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าผู้พูดภาษาเมเดียในยุคเหล็กเป็นบรรพบุรุษของผู้พูดภาษาเคิร์ดในปัจจุบัน มีหลักฐานที่แสดงถึงอิทธิพลของภาษาฮูร์เรียคือไวยากรณ์แบบสัมพันธการก อีกภาษาหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภาษาเคิร์ดคือภาษาแอราเมอิก (M.R. Izady (1993)) หนึ่งในสามของชื่อเผ่าและสองในสามของชื่อภูมิประเทศในภาษาเคิร์ดมาจากภาษาฮูร์เรีย
ประวัติ
[แก้]แม้ว่าภาษาเคิร์ดจะมีที่มาจากภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ความรู้เกี่ยวกับภาษานี้ในยุคก่อนอิสลามมีน้อยมาก ภาษาที่รู้จักดีในกลุ่มนี้คือภาษาเมเดียซึ่งก็มีข้อมูลไม่มากนักเช่นกันหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของยาซิดิส Mishefa Res (หนังสือสีดำ) เขียนด้วยภาษาเคิร์ด กุมันชีโดยบุตรของเชค อาคีอิส เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 กวีนิพนธ์ภาษาเคิร์ดยุคคลาสสิกและกวีได้มีการพัฒนาขึ้นจนมีรูปแบบของภาษาทางวรรณคดี
สำเนียง
[แก้]ภาษาเคิร์ดมีสำเนียงหลักสองสำเนียงคือสำเนียงเหนือและสำเนียงกลาง สำเนียงกลางเรียกโซจานีใช้พูดทางตะวันตกของอิหร่าน และภาคกลางของเคอร์ดิสถานในอิรัก สำเนียงเหนือหรือกุรมันชีใช้พูดทางเหนือของเคอร์ดิสถานในอิรัก เทือกเขาคอเคซัส ซีเรีย และตุรกี นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มจัดให้ภาษาเคิร์ดมีสามสำเนียง โดยเพิ่มสำเนียงใต้ซึ่งเป็นสำเนียงของชาวซาซัสที่มักอ้างตัวเองเป็นชาวเคิร์ด
สถานะปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันภาษาเคิร์ดเป็นภาษาราชการในอิรักในขณะที่เคยถูกห้ามใช้ในซีเรียเมื่อก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 รัฐบาลตุรกีมีการควบคุมการใช้ภาษาเคิร์ด ห้ามใช้ในวิทยุกระจายเสียงและการศึกษา จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 การใช้ภาษาเคิร์ดถูกรัฐบาลตุรกีออกกฎคุมเข้มงวดมาก แม้แต่การร้องเพลงเป็นภาษาเคิร์ดก็ทำไม่ได้
การใช้อักษรเขียนภาษาเคิร์ดยังไม่ได้รับการยอมรับในตุรกี และการใช้อักษรเฉพาะสำหรับภาษาเคิร์ด X W Q ที่ไม่มีใช้ในภาษาตุรกีถูกห้ามจนถึง พ.ศ. 2551 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองต้องขึ้นศาลเพราะใช้ภาษาเคิร์ดแม้จะเป็นส่วนน้อยเพียงไม่กี่คำ เช่นการส่งบัตรอวยพรที่มีคำว่า “สวัสดีปีใหม่” เป็นภาษาเคิร์ด การจำแนกใช้การปรากฏของอักษร X W Q ที่ไม่มีใช้ในภาษาตุรกีเป็นสำคัญ
ในอิหร่านมีการใช้ภาษาเคิร์ดในสื่อท้องถิ่นและหนังสือพิมพ์ได้ แต่ห้ามใช้ในโรงเรียน ทำให้ชาวเคิร์ดในอิหร่านจำนวนมากเข้าไปในเคอร์ดิสถานของอิรักเพื่อเรียนภาษาแม่ของตนเอง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ตุรกียอมให้มีสถานีโทรทัศน์ออกอากาศเป็นภาษาเคิร์ดได้ 1 ช่อง แต่ไม่ให้มีการ์ตูนสำหรับเด็ก หรือรายการการศึกษาที่สอนภาษาเคิร์ดและออกอากาศได้เพียง 45 นาทีต่อวัน หรือ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีแถบอักษรวิ่งเป็นภาษาตุรกี
ไวยากรณ์
[แก้]เป็นภาษาตัวอย่างของภาษาสัมพันธการก (ergative language) โดยในภาษานี้ กรรมเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กับประธาน และกริยาเกี่ยวพันกับกรรม ซึ่งต่างจากภาษาในบริเวณใกล้เคียงเช่นภาษาตุรกี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ ที่มีเครื่องหมายหรือการก สำหรับกรรม และรูปกริยาขึ้นกับประธานของประโยค
ตัวอย่างประโยคภาษาเคิร์ด เช่น Pênûsekeyan bo hênayn แยกได้เป็น
- Pênûsekeyan แบ่งเป็น Pênûs (กรรม; ปากกา) - eke- (คำชี้เฉพาะ; the) - yan (ประธาน:พวกเขา)
- bo (คำบุพบท; เพื่อ)
- hênayn แบ่งเป็น hêna (กริยารูปอดีต; ซื้อ) - yn (กรรม; เรา)
รวมแล้วประโยคนี้แปลว่า พวกเขาซื้อปากกาให้เรา
ระบบการเขียน
[แก้]ภาษาเคิร์ดมีระบบการเขียนต่างกันถึงสามระบบ ในอิหร่านและอิรักใช้อักษรอาหรับดัดแปลง แต่ก็เริ่มใช้อักษรละตินบ้างแล้วในอิรัก ในตุรกีและซีเรียใช้อักษรละติน ส่วนชาวเคิร์ดที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียตใช้อักษรซีริลลิกดัดแปลง ปัจจุบันมีแผนการที่จะรวมการเขียนภาษาเคิร์ดให้เป็นเอกภาพ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ทางการในระดับรัฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ SIL Ethnologue gives estimates, broken down by dialect group, totalling 31 million, but with the caveat of "Very provisional figures for Northern Kurdish speaker population". Ethnologue estimates for dialect groups: Northern: 20.2M (undated; 15M in Turkey for 2009), Central: 6.75M (2009), Southern: 3M (2000), Laki: 1M (2000). The Swedish Nationalencyklopedin listed Kurdish in its "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), citing an estimate of 20.6 million native speakers.
- ↑ Hassanpour, Amir (1992). Nationalism and language in Kurdistan, 1918-1985. San Francisco: Mellen Research University Press. ISBN 9780773498167.
- ↑ 3.0 3.1 "Atlas of the Languages of Iran A working classification". Languages of Iran. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ MacCagg, William O.; Silver, Brian D., บ.ก. (1979). Soviet Asian Ethnic Frontiers. Pergamon Press. p. 94. ISBN 9780080246376.
Since the most active Soviet Kurdish center has been and continues to be Yerevan, the first alphabet used for publishing Kurdish in the USSR was the Armenian alphabet.
- ↑ Курдский язык (ภาษารัสเซีย). Krugosvet.
...в Армении на основе русского алфавита с 1946 (с 1921 на основе армянской графики, с 1929 на основе латиницы).
- ↑ Khamoyan, M. (1986). "Քրդերեն [Kurdish language]". Soviet Armenian Encyclopedia Volume 12 (ภาษาอาร์เมเนีย). p. 492.
...գրկ. լույս է տեսնում 1921-ից հայկ., 1929-ից՝ լատ., 1946-ից՝ ռուս. այբուբենով...
- ↑ "Iraq's Constitution of 2005" (PDF). p. 4. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ "Kurdistan: Constitution of the Iraqi Kurdistan Region". สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ "Social Contract - Sa-Nes". Self-Administration of North & East Syria Representation in Benelux. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ "Rojava could be a model for all Syria". Salih Muslim. Nationalita. 29 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ Pavlenko, Aneta (2008). Multilingualism in post-Soviet countries. Bristol, UK: Multilingual Matters. pp. 18–22. ISBN 978-1-84769-087-6.
- ↑ Kaya, Mehmet. The Zaza Kurds of Turkey: A Middle Eastern Minority in a Globalised Society. ISBN 1-84511-875-8
- ↑ "Languages of the Middle East". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 23 December 2011.
- ↑ McDowall, David (2004-05-14). A Modern History of the Kurds: Third Edition - David McDowall - Google Books. ISBN 9781850434160. สืบค้นเมื่อ 2012-12-18.
- ↑ "Kurmanji". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
- ↑ "Kurmanji Kurdish" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
- ↑ "Lak Tribe". Iranica Online. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.