ภาวะ (ปฏิทินจีน)
ภาวะ (ทั้งยี่สิบสี่) | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | (二十四)節氣 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | (二十四)节气 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาไทย | |||||||||||||
อักษรไทย | (เอ้อร์ฉือสื่อ) เจี๋ยชี่ แปลตรงตัวได้ว่า เทศกาลหรือภาวะทั้งยี่สิบสี่ |
ภาวะทั้งยี่สิบสี่ ความรู้เรื่องเวลาและแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นในจีนผ่านการสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในรอบปี * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ภาวะทั้งยี่สิบสี่ | |
ประเทศ | จีน |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00647 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2559 (คณะกรรมการสมัยที่ 11) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ภาวะ หรือ สารท[ม 1] (จีนต้วเต็ม: 節氣; จีนตัวย่อ: 节气; พินอิน: jiéqì; คำอ่าน: เจี๋ยชี่ อังกฤษ: Solar term) หมายถึงระยะที่สำคัญอันสังเกตจากสิ่งแวดล้อมได้รอบตัว ซึ่งชาวจีนได้บัญญัติขึ้นไว้ 24 ภาวะด้วยกันในหนึ่งรอบปี นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการฉลองไหว้บรรพบุรุษตามสมควร ภาวะในปฏิทินจีน มีใช้ในประเทศจีน รวมถึงเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้รับวัฒนธรรมจีนอีกด้วย
ในภาวะตามปฏิทินจีนทั้งหมด จะมีสี่ภาวะซึ่งตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แก่ 春分 (ชุนเฟิน) 夏至 (เซี่ยจื้อ) 秋分 (ชิวเฟิน) และ 冬至 (ตงจื้อ หรือวันไหว้ขนมบัวลอย) ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับวันสำคัญทางดาราศาสตร์ประจำปี ได้แก่ วสันตวิษุวัต อุตรายัน ศารทวิษุวัต และทักษิณายัน ตามลำดับ แต่ละวันมีคำอธิบายโดยย่อดังนี้
- วสันตวิษุวัต หรือชุนเฟิน ช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน แต่หลังจากวันดังกล่าวช่วงเวลากลางวันยาวขึ้น พลังเอี๊ยง (หยาง) เพิ่มขึ้น
- อุตรายัน ครีษมายัน หรือเซี่ยจื้อ ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด อากาศร้อน หลังจากนั้นจะค่อยสั้นลง พลังเอี๊ยงถึงที่สุด
- ศารทวิษุวัต หรือชิวเฟิน ช่วงเวลากลางวันกลับมาเท่ากับช่วงเวลากลางคืนอีกครั้ง โดยหลังจากนี้กลางคืนจะเริ่มยาว พลังอิม (หยิน) เพิ่มขึ้นแทนเอี๊ยง
- ทักษิณายัน เหมายัน หรือตงจื้อ ช่วงเวลากลางคืนยาวที่สุด อากาศหนาวเย็น พลังอิมขึ้นถึงจุดสูงสุดของปี
รายชื่อภาวะในปฏิทินจีน
[แก้]องศาอาทิตย์ที่แสดงในที่นี่ ยึดตามโหราศาสตร์ระบบสายนะ ซึ่งอาศัยฤดูกาลกำหนดราศี ต่างจากระบบนิรายนะที่ใช้ตำแหน่งบนท้องฟ้าจริง (ดู โหราศาสตร์สากล)
องศาดวงอาทิตย์ | ภาษาจีน | ภาษาญี่ปุ่น | ภาษาเกาหลี | ภาษาเวียดนาม | ประมาณวันที่ | ความหมาย | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีน[ม 2] | จีนกลาง | จีนแต้จิ๋ว | ||||||
315° | 立春 | ลี่ชุน lìchūn |
ลิบชุง | りっしゅん ริชชุง risshun |
입춘 อิบชุน ipchun |
เหลิปซวน lập xuân |
4 กุมภาพันธ์ | เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ สรรพสัตว์บรรดาที่ไม่จำศีลทั้งหลายเริ่มออกหากินอย่างมีชีวิตชีวา สรรพพืชเริ่มแตกกิ่งก้าน |
330° | 雨水 | อวี๋สุ่ย yúshuǐ |
อู๋จุ้ย | うすい อูซูอิ usui |
우수 อูซู usu |
หวูถวี vũ thủy |
19 กุมภาพันธ์ | ฝนตกส่งท้ายฤดูหนาว |
345° | 驚蟄 (惊蛰) |
จิงเจ๋อ jīngzhé |
เก็งเต๊ก | けいちつ เคจิตสึ keichitsu |
경칩 คย็องชิบ gyeongchip |
กิญเจิป kinh trập |
6 มีนาคม | กิมิชาติด้วงแมลง เริ่มออกโบยบินหากิน บรรดาสัตว์ที่จำศึลเริ่มออกจากรัง |
0° | 春分 | ชุนเฟิน chūnfēn |
ชุงฮุง | しゅんぶん ชุมบุง shunbun |
춘분 ชุนบุน chunbun |
ซวนเฟิน xuân phân |
21 มีนาคม | กลางฤดูใบไม้ผลิ |
15° | 清明 | ชิงหมิง qīngmíng |
เช็งเม้ง | せいめい เซเม seimei |
청명 ช็องมย็อง cheongmyeong |
ทัญมิญ thanh minh |
5 เมษายน | อากาศเย็น ท้องฟ้าโปร่ง น่าอภิรมย์ |
30° | 穀雨 (谷雨) |
กู๋อวี่ gúyǔ |
ก๊กอู้ | こくう โคกูอุ kokuu |
곡우 โคกู gogu |
ก๊กหวู cốc vũ |
20 เมษายน | ฝนเริ่มฤดูเพาะปลูก |
45° | 立夏 | ลี่เซี่ย lìxià |
ลิบแห่ | りっか ริกกะ rikka |
입하 อีพา ipha |
เหลิปหะ lập hạ |
6 พฤษภาคม | เริ่มต้นฤดูร้อน |
60° | 小滿 (小满) |
เสียวหม่าน xiǎomǎn |
เสียวมั่ว | しょうまん โชมัง shōman |
소만 โซมัน soman |
เตี๋ยวหมาน tiểu mãn |
21 พฤษภาคม | พืชพรรณออกดอก แต่ยังไม่ออกผล |
75° | 芒種 (芒种) |
หมางจ้ง mángzhòng |
หม่างเจ้ง | ぼうしゅ โบชุ bōshu |
망종 มังจง mangjong |
มางจุ๋ง mang chủng |
6 มิถุนายน | พืชพรรเริ่มแข็งแรงและพร้อมเก็บเกี่ยวต่อไป |
90° | 夏至 | เซี่ยจือ xiàzhì |
แห่จี่ | げし เกชิ geshi |
하지 ฮาจี haji |
หะจี๊ hạ chí |
21 มิถุนายน | กลางฤดูร้อน |
105° | 小暑 | เสียวสู่ xiǎoshǔ |
เสี่ยวซู่ | しょうしょ โชโชะ shōsho |
소서 โซซอ soseo |
เตี๋ยวถือ tiểu thử |
7 กรกฎาคม | อากาศร้อนพอควร |
120° | 大暑 | ต้าสู่ dàshǔ |
ไต้ซู่ | たいしょ ไทโชะ taisho |
대서 แทซอ daeseo |
ดั่ยถือ đại thử |
23 กรกฎาคม | อากาศร้อนอบอ้าว |
135° | 立秋 | ลี่ชิว lìqiū |
ลิบชิว | りっしゅう ริชชู risshū |
입추 อิบชู ipchu |
เหลิปทู lập thu |
8 สิงหาคม | เริ่มฤดูใบไม้ร่วง |
150° | 處暑 (处暑) |
ฉูสู่ chǔshǔ |
ไต้สู่ | しょしょ โชโชะ shosho |
처서 ชอซอ cheoseo |
สือถือ xử thử |
23 สิงหาคม | สุดฤดูร้อน |
165° | 白露 | ไป๋ลู่ báilù |
แปะโหล่ว | はくろ ฮากูโระ hakuro |
백로 แพ็งโน baengno |
บักโหละ bạch lộ |
8 กันยายน | น้ำค้างเริ่มมีบนใบไม้ ฤดูเริ่มเข้าสู่ความหนาวเย็น |
180° | 秋分 | ชิวเฟิน qiūfēn |
ชิวฮุง | しゅうぶん ชูบุง shūbun |
추분 ชูบุน chubun |
ทูเฟิน thu phân |
23 กันยายน | กลางฤดูใบไม้ร่วง |
195° | 寒露 | หานลู่ hánlù |
หั่งโหล่ว | かんろ คันโระ kanro |
한로 ฮัลโล hallo |
ห่านโหละ hàn lộ |
8 ตุลาคม | น้ำค้างเริ่มเป็นเกล็ดปนน้ำ |
210° | 霜降 | ซวางเจี้ยง shuāngjiàng |
ซึงกัง | そうこう โซโก sōkō |
상강 ซังกัง sanggang |
เซืองซ้าง sương giáng |
23 ตุลาคม | น้ำค้างเริ่มแข็งจัด ความหนาวเริ่มได้ที่ |
225° | 立冬 | ลี่ตง lìdōng |
ลิบตัง | りっとう ริตโต rittō |
입동 อิบตง ipdong |
เหลิปดง lập đông |
7 พฤศจิกายน | เริ่มฤดูหนาว |
240° | 小雪 | เสียวเสวี่ย xiǔoxuě |
เสี่ยวเซาะ | しょうせつ โชเซ็ตสึ shōsetsu |
소설 โซซ็อล soseol |
เตี๋ยวเตวี๊ยต tiểu tuyết |
22 พฤศจิกายน | หิมะตกพอควร |
255° | 大雪 | ต้าเสวี่ย dàxuě |
ไต่เซาะ | たいせつ ไทเซ็ตสึ taisetsu |
대설 แทซ็อล daeseol |
ดั่ยเตวี๊ยต đại tuyết |
7 ธันวาคม | หิมะตกหนัก |
270° | 冬至 | ตงจื้อ dōngzhì |
ตังจี่ | とうじ โทจิ tōji |
동지 ทงจี dongji |
ดงจี๊ đông chí |
22 ธันวาคม | กลางฤดูหนาว |
285° | 小寒 | เสี่ยวหาน xiǎohán |
เสี่ยวหั้ง | しょうかん โชกัง shōkan |
소한 โซฮัน sohan |
เตี๋ยวห่าน tiểu hàn |
6 มกราคม | อากาศหนาวพอควร |
300° | 大寒 | ต้าหาน dàhán |
ไต่หั้ง | だいかん ไดกัง daikan |
대한 แทฮัน daehan |
ดั่ยห่าน đại hàn |
20 มกราคม | อากาศหนาวจัด |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ปฏิทินจีน รายละเอียดเกี่ยวกับปฏิทินจีนทั้งแบบสุริยคติและจันทรคติ
อ้างอิง
[แก้]- "ซือเฮี่ย ซุงตี่". ไท่เก๊ก 24 สารทในฤดูต่างๆ ใน จดหมายข่าวชมรมภูมิโหราศาสตร์. กรุงเทพฯ: มิ.ย. - ก.ค. 2553 เข้าถึงได้จาก [1] เก็บถาวร 2016-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่ค้นข้อมูล 24 ธันวาคม 2557
- 24 Solar Terms จาก yourchineseastrologo.com วันที่ค้นข้อมูล 24 ธันวาคม 2557
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สารท แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง และงานฉลองในฤดูใบไม้ร่วง จึงผิดความหมาย และอาจสับสนกับวันสารทจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เดือน ตามปฏิทินจีน วันดังกล่าวเป็นวันอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ของชาวจีน อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์จีนนิยมใช้คำ สารท
- ↑ อักษรจีนที่แสดงนอกวงเล็บ คืออักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในวงเล็บเป็นตัวย่อ ถ้าไม่มีวงเล็บแสดงว่าตัวย่อและตัวเต็มเหมือนกัน อนึ่งอักษรจีนตัวเต็มนี้ใช้เป็นอักษรฮันจา และอักษรคันจิของภาษาเกาหลีและญี่ปุ่นตามลำดับด้วย