ข้ามไปเนื้อหา

ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

พิกัด: 53°24′41″N 1°30′06″W / 53.4115°N 1.5016°W / 53.4115; -1.5016
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัยพิบัติฮิลส์โบโร
ภัยพิบัติฮิลส์โบโรตั้งอยู่ในเชฟฟีลด์
สนามกีฬาฮิลส์โบโร
สนามกีฬาฮิลส์โบโร
ภัยพิบัติฮิลส์โบโร (เชฟฟีลด์)
ชื่อภาษาอังกฤษHillsborough disaster
วันที่15 เมษายน 1989; 35 ปีก่อน (1989-04-15)
เวลา14:00–16:10 น. เวลามาตรฐานกรีนิช
สถานที่สนามกีฬาฮิลส์โบโร
ที่ตั้งเชฟฟีลด์ เซาท์ยอร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ
พิกัด53°24′41″N 1°30′06″W / 53.4115°N 1.5016°W / 53.4115; -1.5016
ประเภทเบียดกันจนเสียชีวิต
สาเหตุความแออัดในล็อกยืนกลาง (ล็อกที่ 3 และ 4)
เสียชีวิต97 คน (94 คน เมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 1989)
บาดเจ็บไม่ถึงตาย766 คน

ภัยพิบัติฮิลส์โบโร หรือ โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร (อังกฤษ: Hillsborough disaster) เป็นอุบัติเหตุเบียดกันจนเสียชีวิต เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 เป็นวันที่การแข่งขันรอบรองชนะเลิศของเอฟเอคัพระหว่างลิเวอร์พูลกับน็อตติงแฮมฟอเรสต์ต้องตัดสินชะตาเพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศกับเอฟเวอร์ตัน สนามที่ใช้เป็นสนามแข่งคือ สนามฮิลส์โบโร ของเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ ก่อนแข่งมีการกำหนดอัฒจันทร์สำหรับกองเชียร์ทั้งสองทีมและถูกทักท้วงโดยลิเวอร์พูลมาก่อนหน้าแล้วเนื่องจากทีมลิเวอร์พูลซึ่งมีแฟนบอลมากกว่าแต่ได้ฝั่งที่นั่งที่จุคนได้น้อยกว่าคือ เลปปิงส์ เลน เอนด์ ทีจุได้ 14,600 ที่ แต่ทีมน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ทีมที่เล็กกว่าแต่ได้อัฒจรรย์ฝั่งที่จุคนมากกว่าที่ฝั่งด้านตะวันออกหรือ สเปียน ค็อป ที่จุ 21,000 ที่ และเป็นความผิดพลาดแรกของฝ่ายจัดการแข่งขันก่อนที่เหตุการณ์เศร้าสลดจะตามมา การแข่งขันมีกำหนดการณ์คือเวลา 15.00 น. และมีการประกาศให้แฟนบอลควรเข้าสนามก่อนเวลา 14.45 น. แฟนบอลของน็อตติงแฮมฟอเรสต์เข้าสู่สนามไม่ยากนักเพราะจำนวนที่น้อย แต่แฟนบอลลิเวอร์พูลที่ประสบปัญหาการจราจรและการตรวจตราอย่างเข้มงวด รวมทั้งรู้อยู่แล้วว่าตั๋วที่มีจำกัดกับความต้องการชมของแฟนบอลที่มีมากกว่าทำให้มากระจุกอยู่ที่ทางเข้าที่มี 3 ทางและมีช่องเช็คตั๋วแบบเก่าที่ใช้การหมุนอยู่ 7 ตัว

สนามฮิลส์โบโรในปัจจุบัน
ป้ายอนุสรณ์ที่จารึกชื่อและอายุผู้เสียชีวิต

และยิ่งใกล้เวลาแข่งแฟนบอลยิ่งกังวลใจและอยากจะเข้าไปชมเกมส์ในสนามอย่างรวดเร็วทำให้ทางเข้าที่ค่อนข้างแคบถูกผลักดันจากแฟน ๆ ข้างหลัง ในขณะที่แฟนบอลบางคนก็ไม่มีตั๋วชมเกมทำให้ถูกกัก แฟนบอลข้างหลังก็ผลักดันและเมื่อคนคุมเห็นฝูงชนที่แออัดก็เลยเปิดประตูทางเข้าประตู C ที่ไม่มีช่องเช็คตั๋วทำให้กองทัพแฟนบอลแห่กันเข้าไปช่องทางนั้นอย่างมากมาย ประกอบกับการแข่งขันเริ่มไปแล้ว เสียงกองเชียร์ในสนามโห่ยิ่งเพิ่มแรงผลักดันถาโถมเข้าไป และทางเข้า ประตู C ที่นำไปสู่ล็อกผู้ชมที่ 3 และ 4 ในสนามที่รองรับผู้ชมได้เพียง 1,600 คน แต่การถาโถมแบบไม่มีทิศทางเพราะไม่ได้ผ่านช่องเช็คตั๋ว ทำให้แฟนบอลกว่า 3,000 คนเข้าไปอัดกันในล็อกที่นั่ง 3 และ 4 และ เนื่องจากในสมัยนั้นแต่ละล็อกจะมีรั้วกั้นเพื่อป้องกันบรรดาฮูลิแกนส์หรืออันธพาลลูกหนังที่ก่อเรื่องในสมัยนั้น แฟนบอลที่แห่แหนเข้าไปจากข้างหลังก็อัดแฟนบอลที่อยู่ข้างหน้าจนติดรั้ว และเมื่อเริ่มการแข่งขันมา 4 นาที ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ ก็ซัดลูกข้ามคานทำให้เรียกเสียงเชียร์จากแฟน ๆ ในสนามแต่กลับเป็นการเร่งเร้าให้กองเชียร์นอกสนามทะลักเข้ามาในสนาม แฟนบอลถูกอัดจนหายใจไม่ออกมีบ้างที่ปีนกำแพงหนีออกมาได้ การแข่งขันที่เริ่มไปเพียง 6 นาทีตำรวจก็ให้สัญญาณหยุดการแข่งขัน ในเวลา 15.06 น. และต่างเข้าไปช่วยแฟนบอลที่โชคร้าย แต่โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดในสนามฟุตบอลก็เกิดขึ้นเพียงเพราะความผิดพลาดในการจัดการตั้งแต่แบ่งที่นั่ง การดูแลการเข้าสนามและการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์

ในที่สุดมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 95 ราย และอีกหนึ่งรายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล รวมทั้งสิ้น 96 ราย ซึ่งล้วนแต่เป็นแฟนของลิเวอร์พูล

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ ว่ากันว่าเป็นเพราะความสะเพร่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อนุญาตให้แฟนลิเวอร์พูลกว่า 2,000 คน แออัดเข้าไปในอัฒจรรย์ฝั่ง เลปปิงส์ เลน เอนด์ ในช่วงก่อนที่จะเริ่มเกมไม่กี่นาที แถมยังปล่อยให้เข้าไปในชั้นที่มีแฟนบอลแออัดกันแน่นอยู่แล้ว แทนที่จะเป็นฝั่งที่มีแฟนบอลเบาบางกว่า ทำให้แฟนบอลที่อยู่ด้านหน้าโดนอัดติดกับรั้วเหล็ก ซึ่งรั้วเหล็กดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์บางรายกล่าวว่า แฟนบอลที่โดนอัดมาติดรั้วหลายรายเริ่มมีอาการตัวเขียวหน้าเขียว ขณะที่ผู้เสียชีวิตบางรายสิ้นใจเพราะขาดอากาศหายใจขณะทียังยืนอยู่

หลังเหตุการณ์นี้ทำให้การเข้าชมฟุตบอลในสนามของลีกสูงสุดของอังกฤษต้องเป็นเปลี่ยนอัฒจรรย์แบบยืนเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมดและให้รื้อรั้วเหล็กออก ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับฟุตบอลยุคใหม่ในอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการสอบสวนเหตุการณ์นี้ใหม่อีกครั้ง พบว่าในรายงานเหตุการณ์ในครั้งนั้นที่เชื่อว่ามีความครอบคลุมและสมบูรณ์พร้อมแล้ว พบว่ามีหลายจุดในรายงานฉบับดังกล่าวที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และหลายประเด็นก็ไม่ถูกพูดถึง อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นแง่บวกของรายงานฉบับดังกล่าว คือ การที่ทำให้มีการออกกฎให้ทุกสนามใน 2 ดิวิชั่นของอังกฤษ ปรับอัฒจรรย์เป็นที่นั่งทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2014

ในปี ค.ศ. 2014 ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวาระครบ 25 ปีของอุบัติเหตุครั้งนี้ ก่อนการเตะฟุตบอลทุกระดับในอังกฤษไม่ว่าจะเป็นรายการพรีเมียร์ลีกหรือเอฟเอคัพ จะมีการยืนไว้อาลัยเป็นเวลา 6 นาที และจะเริ่มเกมในนาทีที่ 7 เนื่องจากเวลาที่เกิดเหตุซึ่งเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เป่านกหวีดให้ยุติการแข่งขันคือเวลา 15.06 น. ก็คือ หลังจากที่เกมเอฟเอเคัพในครั้งนั้นเริ่มไปได้ 6 นาทีแล้วนั่นเอง[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 20 กีฬา, รำลึก 25 ปี ฮิลส์โบโรห์ บทเรียนที่เปลี่ยนลูกหนังผู้ดีไปตลอดกาล โดย ผยองเดช. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,560: วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย
  2. "รำลึกฮิลส์โบโร่!บอลผู้ดีสัปดาห์นี้เริ่มเตะช้า7นาที". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Hillsborough disaster