วิกิพีเดีย:รายการโดด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายการโดด (เรียกอีกอย่างว่า บทความรายการ) เป็นบทความที่ประกอบด้วยรายการฝังตัวตั้งแต่หนึ่งรายการขึ้นไป หรือชุดรายการที่จัดรูปแบบเป็นรายการ รายการโดดจำนวนมากระบุรูปแบบของเนื้อหาในชื่อเรื่อง หรือขึ้นต้นด้วยคำบรรยายลักษณะอย่าง "รายการ", "ลำดับเวลา" หรือคำที่คล้ายกัน

เพื่อประโยชน์ของการรวบรวมคำแนะนำ หน้านี้จึงมีแนวทางเนื้อหา ลีลาโดยเฉพาะสำหรับรายการโดด และธรรมเนียมการตั้งชื่อ

เนื้อหารายการ[แก้]

นโยบายเนื้อหา[แก้]

รายการโดดอยู่ภายใต้นโยบายด้านเนื้อหาของวิกิพีเดีย เพราะเป็นบทความเหมือนกัน นโยบายดังกล่าว เช่น การพิสูจน์ยืนยันได้, งดงานค้นคว้าต้นฉบับ, มุมมองที่เป็นกลาง และอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เช่นเดียวกับแนวปฏิบัติความโดดเด่น

รูปแบบทั่วไปของบทความรายการ[แก้]

มีหลายรูปแบบทั้งแบบ ทั้งสามัญและเฉพาะด้าน ที่ใช้ในวิกิพีเดียปัจจุบันสำหรับบทความรายการ

  • รายการเรียงตามพยัญชนะ เช่นเดียวกับรายการเรียงตามพยัญชนะอย่างง่ายโดยไม่มีพาดหัวย่อยอักษร
  • รายการความเห็นประกอบ
  • รายการตามลำดับเวลา (รายการที่ชื่อเรื่องขึ้นต้นด้วย "ลำดับเวลา" จะเรียงตามเวลาเสมอ)
  • รายการที่จัดเรียงได้ ซึ่งจัดรูปแบบเป็นตาราง
  • รายการที่มีโครงสร้างพาดหัวย่อย (คือ รายการจัดหมวดหมู่ หรือรายการลำดับชั้น) เช่น รายชื่อสายพันธุ์แมว

บทความรายการเฉพาะ[แก้]

  • เส้นเวลา (timeline) ใช้ผังมาตรฐานเพื่อนำเสนอบทสรุปตามลำดับเวลาของหัวข้อหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เส้นเวลาแบบกราฟิกของบิกแบง
  • อภิธาน ใช้ลีลาการจัดรูปแบบอภิธานที่มีอยู่หลากหลาย ปกติใช้รายการเรียงลำดับพยัญชนะที่มีความเห็นประกอบที่นิยามศัพท์ดังกล่าวแบบสารานุกรม ตัวอย่างเช่น คำศัพท์ปรัชญา รูปแบบดังกล่าวสามารถใช้เพื่อความมุ่งหมายอย่างอื่นได้ สำหรับเนื้อหาอภิธานที่ไม่เป็นสารานุกรมควรย้ายไปวิกิพจนานุกรม

หัวข้อที่เหมาะสมสำหรับรายการ[แก้]

หัวข้อที่สามารถสร้างรายการได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อคงประโยชน์ของบทความรายการ เราต้องจำกัดขนาดและหัวข้อของรายการที่เหมาะสม

รายการซึ่งมีขอบเขตเนื้อหากว้างเกินไปมีคุณค่าน้อย ยกเว้นแต่เมื่อแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ตัวอย่างเช่น รายการชื่อยี่ห้อสินค้าจะกว้างเกินไปที่จะมีคุณค่า ถ้าคุณสนใจรวบรวมรายการยี่ห้อสินค้า ลองพยายามจำกัดขอบเขตเนื้อหา (เช่น แบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ แบ่งตามประเทศ แบ่งตามปี เป็นต้น) ซึ่งควรทำด้วยการแบ่งส่วนหน้าทั่วไปภายใต้หมวดหมู่จะดีที่สุด เมื่อรายการในหมวดมหู่มีมากพอที่จะแยกเป็นบทความรายการใหม่ จึงค่อยย้ายไปสร้าง แล้วแทนที่ด้วยดูลิงก์ [[รายการใหม่]] เมื่อทุกหมวดหมู่ลิงก์ไปรายการแล้ว หน้าดังกล่าวสามารถเป็นคลังรายการหรือ "รายการของรายการ" (list of list) และสามารถแสดงหน่วยเป็นรายการจุดนำ

รายการที่เจาะจงเกินไปก็เป็นปัญหาเช่นกัน เช่น รายการ "โจรขโมยม้าตาเดียวจากรัฐมอนทานา" จะเป็นที่สนใจของบุคคลจำนวนน้อยนอกจากผู้สร้างรายการเท่านั้น

ชาววิกิพีเดียบางส่วนรู้สึกว่าบางหัวข้อไม่เหมาะสมโดยสภาพของหัวข้อนั้น จากที่นโยบายระบุไว้ในอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย พวกเขารู้สึกว่าบางหัวข้อเป็นเรื่องจิปาถะ ไม่เป็นสารานุกรมหรือไม่สัมพันธ์กับความรู้ของมนุษย์ หากคุณต้องการสร้างรายการอย่าง "รายการเฉดสีซอสแอปเปิ้ล" ก็เตรียมตัวอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงรู้สึกว่ารายการนี้ส่งเสริมต่อองค์ความรู้ของมนุษย์

รายชื่อบุคคล[แก้]

โดยทั่วไปจะใส่ชื่อบุคคลหนึ่งในรายชื่อบุคคลได้ต่อเมื่อเป็นไปตามข้อกำหนดต่อไปนี้

มีข้อยกเว้นทั่วไปบางประการเกี่ยวกับข้อกำหนดความโดดเด่นทั่วไป ดังนี้

  • หากบุคคลนั้นมีชื่อเสียงจากเหตุการณ์เดียว อาจไม่จำเป็นต้องผ่านข้อกำหนดความโดดเด่นก็ได้ หากบุคคลในรายการไม่มีบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับเขา จะต้องใส่การอ้างอิงแหล่งที่มา (หรือลิงก์ไปบทความอื่น) เพื่อ ก) ยืนยันสมาชิกภาพของเขาในกลุ่มของรายการ และ ข) ยืนยันความโดดเด่นของเขา
  • ในบางกรณี เช่น รายชื่อสมาชิกกรรมการบริหารหรือนักวิชาการที่ดำรงตำแหน่งที่มีชื่อเสียง อาจใส่ชื่อของบุคคลที่ไม่โดดเด่นในรายการที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงได้ เพื่อให้รายการสมบูรณ์

ในกรณีอื่น ๆ ผู้เขียนเลือกข้อกำหนดที่เข้มงวเมากขึ้น เช่น ต้องมีบทความเขียนแล้ว (ไม่เพียงแค่มีคุณสมบัติผ่าน) หรือมีความโดดเด่นอย่างเจาะจงสำหรับเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกภาพในรายการ โดยทั่วไปใช้เพื่อควบคุมขนาดของรายการซึ่งอาจมีได้หลายร้อยหลายพันคน เช่น รายชื่อนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น บทความเกี่ยวกับสถานศึกษามักใส่ (หรือลิงก์ไป) รายการศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แต่รายการดังกล่าวไม่ได้เจตนาให้ใส่ชื่อทุกคนที่เคยเข้าเรียนในสถาบันนั้น ผู้เขียนที่อยากใส่ชื่อตนเองว่าเป็นศิษย์เก่าของสถาบันนั้นควรใช้หมวดหมู่สำหรับชาววิกิพีเดียโดยเฉพาะแทน อีกด้านหนึ่ง รายการในบทความอดีตผู้อำนวยการ อธิการบดีสามารถใส่ชื่อทุกคนที่เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ ไม่เฉพาะผู้ที่มีชื่อเสียงเท่านั้น

ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเมื่อเพิ่มรายชื่อบุคคลที่ยังมีชีวิตใส่รายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาหรือรสนิยมทางเพศ ต้องปฏิบัติตามนโยบายวิกิพีเดียว่าด้วยชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่

กรุณาระบุเกณฑ์การคัดเลือกรายการในหน้าคุยของรายการด้วย

หมายเหตุว่าคำชี้แนะในส่วนนี้ใช้กับบุคคลโดยเจาะจง แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้กับรายการอื่นได้ทั้งหมด

รายการคำ[แก้]

รายชื่อบริษัทและองค์การ[แก้]

บริษัทหรือองค์การอาจรวมอยู่ในรายชื่อบริษัทหรือองค์การได้หากผ่านข้อกำหนดความโดดเด่นของวิกิพีเดีย เว้นแต่ว่ารายการหนึ่ง ๆ เจาะจงว่าต้องผ่านเกณฑ์ดังกล่าว หากบริษัทหรือองค์การใดไม่มีบทความอยู่แล้วในวิกิพีเดีย ควรใส่การอ้างอิงแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียเพื่อยืนยันว่าเป็นสมาชิกกลุ่มของรายการ

อภิธาน หรือรายการคำในหัวข้อหนึ่งเรียงตามพยัญชนะ เป็นสารานุกรมเมื่อหน่วยที่อภิธานรวบรวมให้คำอธิบายชี้แจงเป็นหลักของศัพทวิทยาที่แสดงรายการ โดยที่เป็นของหัวข้อที่มีความโดดเด่นที่มีบทความของตนเองแล้วในวิกิพีเดีย สำหรับอภิธานสั้น ๆ ควรใช้เป็นรายการฝังตัวดีกว่า สามารถสร้างผ่านหน้าเปลี่ยนทางจากชื่อเรื่องอย่าง อภิธาน X ไปยังส่วน และเพิ่มการเปลี่ยนทางไปยังหมวดหมู่นั้น อภิธานแบบฝังตัวดังกล่าวอาจแยกเป็นอภิธานโดดได้ภายหลัง มีวิธีการจัดรูปแบบอภิธานหลายวิธี

ด้วยเหตุว่าวิกิพีเดียมิใช่พจนานุกรม ความคิดจำนวนมากสำหรับอภิธาน ซึ่งหน่วยมีเนื้อหามากกว่าบทนิยามแบบพจนานุกรมเล็กน้อย อาจเหมาะกับโครงการวิกิพจนานุกรมมากกว่า อภิธานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นของวิกิพีเดียหรือนโยบายมิใช่พจนานุกรมควรย้ายข้ามโครงการ

รายการคำอย่างอื่นที่ไม่ใช่อภิธานอาจมีหน้าสารานุกรมเช่นกันอย่างรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด โดยมีเงื่อนไขว่าสามารถอ้างอิงแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับหัวข้อนั้นได้

เกณฑ์การคัดเลือก[แก้]

เกณฑ์การคัดเลือก (หรือเรียก เกณฑ์การรวม หรือ เกณฑ์สมาชิกภาพ) ควรไม่คลุมเครือ เป็นวัตถุวิสัย และมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือรองรับ ในกรณีที่เกณฑ์สมาชิกภาพเป็นจิตวิสัยหรือน่าจะเป็นที่ถกเถียง (เช่ย รายการเหตุการณ์ก่อการร้าย) สำคัญที่จะใส่ตามแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือโดยมีการอ้างอิงในบรรทัดสำหรับแต่ละรายการที่ใส่

เมื่อสร้างเกณฑ์สมาชิกภาพสำหรับรายการหนึ่ง ควรถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ว่าเป็นจริงหรือไม่

  • หากบุคคลหรือสิ่งนี้ไม่ใช่ X จะลดชื่อเสียงหรือความสำคัญของบุคคลหรือสิ่งดังกล่าวหรือไม่
  • ฉันคาดหมายจะเห็นบุคคลหรือสิ่งนี้ในรายการ X หรือไม่
  • บุคคลหรือสิ่งนี้เป็นตัวอย่างแบบบัญญัติของบางแง่มุม X หรือไม่

เนื่องจากวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมไม่ใช่สารบบ คลังเก็บลิงก์ หรือช่องทางการส่งเสริม และไม่ควรมีรายการแบบไม่เลือก รายการบางประเภทจึงควรมีเนื้อหาจำกัด เกณฑ์สำหรับรวมควรคำนึงถึงความเป็นสารานุกรมและความเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ ไม่เพียงแต่ว่ามีอยู่โดยพิสูจน์ยืนยันได้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตทุกสปีชีส์ที่ทราบในวงศ์ทางอนุกรมวิธาน แต่รายการนักดนตรีชาวไทยจะไม่มีประโยชน์ทางสารานุกรมหากรวมวงดนตรีโรงเรียนที่วงที่กล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แม้ความโดดเด่นมักเป็นกเกณฑ์สำหรับการใส่ในรายการในภาพรวมเกี่ยวกับหัวข้อกว้าง ๆ หัวข้อหนึ่ง แต่อาจเข้มงวดเกินไปสำหรับรายการในวงแคบกว่า หน้าที่หนึ่งของรายการต่าง ๆ ในวิกิพีเดียคือใช้เป็นที่เก็บสารสนเทศสารานุกรมที่แยกบทความต่างหากไม่ได้ ฉะนั้นจำเป็นต้องใช้สามัญสำนึกในการสร้างเกณฑ์สำหรับรายการหนึ่ง เลี่ยงการทำลิงก์แดงหน่วยรายการที่ไม่น่าจะมีบทความของตนเองในเวลาอันสั้น

เกณฑ์การคัดเลือกทั่วไป[แก้]

โดยทั่วไปเขียนรายการเพื่อให้สอดคล้องกับชุดเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ทุกหน่วยผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น สำหรับบทความที่ไม่ใช่หน้าเปลี่ยนทางของตนเองในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ หน่วยลิงก์แดงยอมรับได้หากหน่วยนั้นพิสูจน์ยืนยันได้ว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มที่แสดงรายการ และสมเหตุสมผลที่จะคาดหมายว่าจะมีการสร้างบทความดังกล่าวในอนาคต มาตรฐานนี้ป้องกันวิกิพีเดียมิให้เป็นรายการแบบไม่เลือก และป้องกันรายการหนึ่ง ๆ ไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไปจนหมดประโยชน์แก่ผู้อ่าน
  • ทุกหน่วยในรายการไม่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น รายการเหล่านี้สร้างขึ้นโดยชัดเจนว่าเพราะไอเท็มที่แสดงรายการเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดไม่สามารถมีบทความของตัวเอง เช่น รายการตัวละครเรื่องดิลเบิร์ต หรือ รายการชื่อยี่ห้อพาราเซตามอล รายการดังกล่าวน่าจะวางอยู่ในบริบทของบทความเกี่ยวกับหัวข้อ "แม่" ของมันมากกว่า ก่อนสร้างรายการโดด ให้พิจารณาอย่างระวังว่ารายการดังกล่าวควรวางในบทความแม่ของมันหรือไม่ (สังเกตว่าเกณฑ์นี้ไม่มีใช้กับบุคคลที่มีชีวิตอยู่)
  • รายการสั้นแบบสมบูรณ์ของทุกรายการที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ควรสร้างรายการแบบนี้เฉพาะเมื่อรายการสมบูรณ์สั้นอย่างสมเหตุสมผล (น้อยกว่า 32 กิโลไบต์) และมีประโยชน์ (สำหรับการนำทาง) หรือน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน การใส่รายการควรมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือรองรับ ตัวอย่างเช่น หากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือระบุว่ารายการสมบูรณ์จะมีชื่อธุรกิจที่โดดเด่นสิบธุรกิจ และธุรกิจที่ไม่โดดเด่นสองธุรกิจ เช่นนั้นคุณไม่ต้องลบธุรกิจที่ไม่โดดเด่นสองธุรกิจนั้น อย่างไรก็ดี หากรายการสมบูรณ์มีหน่วยตั้งแต่หลักร้อยหรือหลักพัน เช่นนั้นคุณควรใช้มาตรฐานความโดดเด่นเพื่อให้ความมุ่งสนใจแก่รายการ

รายการ "คู่มือการสร้าง" คือ รายการที่อุทิศให้บทความลิงก์แดง (ยังไม่ได้สร้าง) จำนวนมาก เพื่อความมุ่งหมายในการติดตามว่าควรเขียนบทความใดบ้างนั้น ไม่อยู่ในเนมสเปซหลัก ให้เขียนในเนมสเปซผู้ใช้ของคุณเอง หรือในเนมสเปซของโครงการวิกิ หรือแสดงรายการที่ วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ

การอ้างถึงแหล่งที่มา[แก้]

รายการโดดอยู่ภายใต้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านเนื้อหาสำหรับบทความ รวมทั้ง การพิสูจน์ยืนยันได้ และการแหล่งที่มา หมายความว่า ถ้อยแถลงควรมีการอ้างอิง ณ ที่ที่ปรากฏ และต้องใส่การอ้างอิงในบรรทัดหากมีเนื้อหาที่จำเป็นต้องมีแหล่งอ้างอิง

เมื่อการอ้างอิงในบรรทัดไม่จำเป็นตามนโยบายการหาแหล่งที่มา และผู้เขียนเลือกให้แหล่งอ้างอิงมากกว่าที่กำหนดอย่างเข้มงวด อาจใช้การอ้างอิงทั่วไปหรือการอ้างอิงในบรรทัดได้ โดยทั่วไปสันนิษฐานว่าเนื้อหาที่เหมาะสมอย่างชัดเจน เช่น การใส่แอปเปิ้ลในรายการผลไม้ ไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิงในบรรทัด

ลีลา[แก้]

ส่วนนี้นำเสนอข้อพิจารณาลีลาและผังโดยเจาะจงบางประการสำหรับรายการโดด นอกเหนือไปจากคู่มือการเขียนทั่วไป

ส่วนนำ[แก้]

รายการโดดควรขึ้นต้นด้วยส่วนนำที่สรุปเนื้อหาของรายการ ให้สารสนเทศภูมิหลังที่จำเป็น ให้บริบทสารานุกรม เชื่อมโยงไปบทความที่เกี่ยวข้องอื่น และให้ถ้อยแถลงโดยตรงเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกสมาชิกรายการ ยกเว้นเกณฑ์นั้นชัดเจนไม่กำกวมจากชื่อบทความอยู่แล้ว เนื้อหาบทนำนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับรายการที่มีร้อยแก้วที่ไม่ใช่รายการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในตัวบทความ แม้เกณฑ์การคัดเลือกอาจชัดเจนสำหรับบางคน แต่มาตรฐานชัดแจ้งมักมีประโยชน์สำหรับทั้งผู้อ่านในการทำความเข้าใจขอบเขต และผู้เขียนเพื่อลดแนวโน้มในการใส่หน่วยที่ไม่สำคัญหรือนอกประเด็น ส่วนนำยังสามารถใช้เพื่ออธิบายโครงสร้างของรายการฝังตัวในตัวบทความเมื่อไม่มีตำแหน่งอื่นที่ดีกว่า

การเรียงลำดับเวลา[แก้]

รายการตามเวลา รวมทั้งลำดับเหตุการณ์และรายการผลงานทั้งหมด ควรเรียงลำดับจากแรกสุดไปหลังสุด อาจมีกรณีพิเศษที่อาจเรียงลำดับย้อนกลับเพื่อความสะดวกในการเพิ่มข้อมูล แต่บทความดังกล่าวควรแปลงกลับเป็นลำดับตามเดิมเมื่อไม่จำเป็นต้องเพิ่มเนื้อหาบ่อย ๆ แล้ว

หมวดหมู่ รายการและแม่แบบนำทาง[แก้]

แม้รายการจะมีประโยชน์ แต่รายการบางประเภทอาจล้าสมัยอย่างรวดเร็ว สำหรับหัวเรื่องชนิดนี้ หมวดหมู่อาจเป็นวิธีการจัดระเบียบที่มีความเหมาะสมมากกว่า ดู วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่ และ วิกิพีเดีย:หมวดหมู่ รายการ และแม่แบบนำทาง สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับเวลาที่เหมาะสมในการใช้รายการเมื่อเทียบกับหมวดหมู่

รายการจุดนำและเลขนำ[แก้]

  • อย่าใช้รายการหากข้อความนั้นอ่านง่ายเหมือนย่อหน้าธรรมดา
  • ใช้รหัสรายการแบบใช้มาร์กอัพวิกิหรือแม่แบบ (ดู วิธีใช้:รายการ)
  • อย่าเว้นบรรทัดว่างระหว่างไอเท็มในรายการจุดนำหรือเลขนำ เว้นเสียแต่มีเหตุผล เพราะซอฟต์แวร์วิกิจะตีความว่าเป็นการขึ้นต้นรายการใหม่
  • ใช้เลขแทนจุดต่อเมื่อ
    • อาจมีความจำเป็นต้องกล่าวถึงส่วนย่อยตามเลข
    • ลำดับของรายการมีความสำคัญ หรือ
    • การกำหนดเลขมีความหมายเป็นเอกเทศ ตัวอย่างเช่น การแสดงรายการแทร็กดนตรี
  • ใช้รูปแบบไวยากรณ์เดียวกันสำหรับส่วนย่อยทั้งหมดในรายการ และอย่าผสมประโยคและประโยคไม่สมบูรณ์เป็นส่วนประกอบ

ชื่อเรื่อง[แก้]

วัตรทั่วไปคือการตั้งชื่อบทความรายการว่า รายชื่อ, รายการ, รายพระนาม ___ หากรายการดังกล่าวมีหลายสดมภ์และอยู่ในแบบผังตาราง ก็ควรใช้ชื่อดังกล่าวแทน ตาราง X หรือ การเปรียบเทียบ X (แม้ชื่อ "การเปรียบเทียบ" อาจเมหาะสมสำหรับบทความที่มีตารางข้อมูลจริง ๆ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบการจัดจำหน่ายลีนุกซ์)

หากความมุ่งหมายของรายการรายการ (list of list) นั้นเป็นไปเพื่อการนำทางโดยสภาพ แนะนำให้ใช้ชื่อเรื่อง ดัชนี X อาจเหมาะสมกว่า

ไม่คาดหมายว่าชื่อเรื่องจะเป็นคำอธิบายหัวเรื่องของรายการอย่างสมบูรณ์ รายการจำนวนมากไม่เจตนาให้ใส่สมาชิกที่เป็นไปได้ทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายในชื่อเรื่องเอง ตัวอย่างเช่น ทางเลือกที่ถูกต้องคือ รายชื่อบุคคลจากประเทศอังกฤษ ไม่ใช่ "รายชื่อบุคคลที่เกิดหรือมีความสำคัญอย่างเข้มข้นกับประเทศอังกฤษและมีบทความวิกิพีเดีย" แต่ควรมีเกณฑ์การรวบรวมในรายละเอียดในส่วนนำ และควรเลือกชื่อเรื่องที่กระชับอย่างสมเหตุสมผลเป็นชื่อรายการ พึงเลี่ยงการใช้คำว่า "โดดเด่น มีชื่อเสียง สำคัญ" เป็นต้น ในชื่อเรื่อง รวมทั้ง เลี่ยง "รายการ X ทั้งหมด"

รายการและลิงก์ "การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง"[แก้]

คุณลักษณะหนึ่งของวิกิพีเดียที่มีประโยชน์มากคือการใช้ลิงก์ "การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง" เมื่ออยู่ในหน้ารายการ ซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่ทำต่อลิงก์ที่บรรจุในรายการ หากหน้านั้นมีลิงก์หาตัวเอง คุณลักษณะนี้จะแสดงการเปลี่ยนแปลงต่อรายการนั้นเองด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]