ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาคม ตุลาดิลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name =อาคม ตุลาดิลก
| image =
| honorific-suffix =
| order =
| primeminister =
| term_start =
| term_end =
| predecessor =
| successor =

| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2485|12|20}}
| birth_place =
| death_date =
| death_place =

| religion =
| party = [[พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา]]
| signature =
| footnotes =
}}
'''อาคม ตุลาดิลก''' เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกวุฒิสภา]]จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตสมาชิก[[พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา]]
'''อาคม ตุลาดิลก''' เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกวุฒิสภา]]จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตสมาชิก[[พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:28, 11 มกราคม 2565

อาคม ตุลาดิลก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
พรรคการเมืองพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

อาคม ตุลาดิลก เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตสมาชิกพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

ประวัติ

อาคม ตุลาดิลก เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาและสาขาบริหารงานตำรวจขบวนการยุติธรรม ระดับปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษาชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต เมื่อปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2520 ตามลำดับ[1]

การทำงาน

อาคม ตุลาดิลก รับราชการเป็นข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง เคยเป็นนายอำเภอฝาง[2] จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอาจารย์และวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรนายอำเภอ ของกรมการปกครอง และเคยเป็นเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ปฏิบัติงานกำกับการเลือกตั้งในประเทศนามิเบีย และเป็นคณะทำงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

อาคม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย – บราซิล[3] ต่อมาในปี 2549 นายอาคม ได้ยื่อความประสงค์สมัครเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วนกลุ่มจังหวัดที่ 1 สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ลำดับที่ 4[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

อาคม เป็นอาจารย์สอนวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6] มหาวิทยาลัยรังสิต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม[ลิงก์เสีย]มหาวิทยาลัยรังสิต
  2. ส.ว.เชียงใหม่ ฟันธง" กลุ่มอิทธิพล" ฆ่าพระสุพจน์
  3. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล - กระทรวงการต่างประเทศ
  4. ผู้สมัครชิงเลขาฯ กกต.ล่าสุด 9 คน แล้ว "การุณ" แย้มจะลงชิงด้วย
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
  6. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๒๘, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖๗, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕