ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดนิมมานรดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


==อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ==
==อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ==
[[ไฟล์:Luang Pho Ket at Wat Nimma Noradee II.jpg|thumb|หลวงพ่อเกศจำปาศรี]]
พระอุโบสถประดิษฐาน ''หลวงพ่อเกศจำปาศรี'' พระพุทธรูป[[ปางมารวิชัย]] สร้างด้วยโลหะทองเหลืองผสมลงรักปิดทอง พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติ โดยเมื่อปี 2508 ได้เกิดเหตุการณ์โบสถ์พังทลายลงมา แต่ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ภายในวัดยังมีองค์[[เจ้าแม่กวนอิม]]องค์ใหญ่ และ[[พระสังกัจจายน์]] อยู่บริเวณด้านตรงข้ามกับอุโบสถ<ref name="mgronline"/>
พระอุโบสถประดิษฐาน ''หลวงพ่อเกศจำปาศรี'' พระพุทธรูป[[ปางมารวิชัย]] สร้างด้วยโลหะทองเหลืองผสมลงรักปิดทอง พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติ โดยเมื่อปี 2508 ได้เกิดเหตุการณ์โบสถ์พังทลายลงมา แต่ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ภายในวัดยังมีองค์[[เจ้าแม่กวนอิม]]องค์ใหญ่ และ[[พระสังกัจจายน์]] อยู่บริเวณด้านตรงข้ามกับอุโบสถ<ref name="mgronline"/>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:21, 21 สิงหาคม 2563

วัดนิมมานรดี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดนิมมานรดี วัดบางแค
ที่ตั้งแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อเกศจำปาศรี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดนิมมานรดี หรือชาวบ้านเรียก วัดบางแค เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ติดคลองภาษีเจริญ แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 19 ไร่ 84 ตารางวา วัดนิมมานรดีได้ให้โรงเรียนประชาบาลของทางราชการซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของวัด คือ โรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณวัดอยู่ใกล้กับตลาดน้ำวัดนิมมานรดี

ประวัติ

วัดสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 ประมาณปี พ.ศ. 2350 ในชื่อ วัดบางแค ยังมีหลักฐานปรากฏกล่าวถึงวัดนี้ในจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 2 กล่าวถึงการแต่งตั้งพระคณาจารย์จำนวน 71 รูป หนึ่งในนั้นคือ พระอาจารย์เกษ วัดบางแค

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ โดยผู้ที่เป็นกำลังสำคัญสนับสนุนทุนทรัพย์ในการบูรณะก็คือ ขุนตาลวโนชากร (นิ่ม) และภรรยาชื่อดี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิมมานรดี อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่ 5[1] วัดนิมมานรดีได้เปิดทำการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี แผนกธรรมได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ได้รับพระราชทานครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถ[2] ปี พ.ศ. 2528 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ

หลวงพ่อเกศจำปาศรี

พระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเกศจำปาศรี พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยโลหะทองเหลืองผสมลงรักปิดทอง พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติ โดยเมื่อปี 2508 ได้เกิดเหตุการณ์โบสถ์พังทลายลงมา แต่ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ภายในวัดยังมีองค์เจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่ และพระสังกัจจายน์ อยู่บริเวณด้านตรงข้ามกับอุโบสถ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 หนุ่มลูกทุ่ง (2 มีนาคม 2553). "เก่าๆใหม่ๆใน"บางแค"". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. "ด้านข้างพระอุโบสถวัดนิมมานรดี". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด.