ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงเมกถีหล่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7429923 สร้างโดย 124.122.5.211 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
{{ตายปี|2439}}
{{ตายปี|2439}}
[[หมวดหมู่:ชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์โกนบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โกนบอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:13, 21 เมษายน 2561

เจ้าหญิงเมกถีหล่า

เจ้าหญิงศรีสุริยราชาวดี
เจ้าหญิงพยุงพยาและเมกถีหล่า
ไฟล์:Meiktila Princess.jpg
พระฉายาลักษณ์เจ้าหญิงเมกถีหล่า ฉายก่อนปีพ.ศ. 2439
เจ้าหญิงแห่งพม่า
ประสูติพ.ศ. 2403
เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
สวรรคต1 มิถุนายน พ.ศ. 2439
เมืองมัณฑะเลย์ บริติชราช
(พระชนมายุ 36 พรรษา)
พระราชสวามีกะยอหล่ายหม่องหม่อง (Kyaw Hlaint Maung Maung)
พระราชบุตร4 คน
เจ้าหญิงพยุงพยาและเมกถีหล่า
ราชวงศ์อลองพญา
พระราชบิดาพระเจ้ามินดง
พระราชมารดาพระนางแลซา

เจ้าหญิงเมกถีหล่า (Princess of Meiktila; พ.ศ. 2403 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2439) ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงศรีสุริยราชาวดี (Sri Suriya Rajavati) เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 48 ของพระเจ้ามินดง ที่ประสูติกับพระนางแลซา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเมืองฉาน และเจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงเป็นพระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดาเดียวกันกับพระเจ้าธีบอ

ประสูติ

เจ้าหญิงเมกถีหล่าประสูติในปีพ.ศ. 2403 ณ พระราชวังมัณฑะเลย์ กรุงมัณฑะเลย์[1] ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงศรีสุริยราชาวดี (Sri Suriya Rajavati) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้ามินดงกับพระนางแลซา เจ้าหญิงเมืองฉาน[2] ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐาร่วมพระราชบิดาพระราชมารดา 3 พระองค์ ได้แก่

พระราชมารดาของเจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงถูกเนรเทศออกจากราชสำนักโดยพระราชโองการของพระเจ้ามินดง พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพในช่วงบั้นปลายด้วยการเป็น ตี่ละฉิ่น (thilashin) ซึ่งก็คือคำเรียกแม่ชีในพม่า และประทับในวัดหลวงอย่างสงบเงียบ[3]

รัชสมัยพระเจ้าธีบอ

เจ้าชายธีบอ พระเชษฐาของเจ้าหญิงทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทในช่วงที่พระเจ้ามินดงทรงพระประชวรหนัก ซึ่งตามมาด้วยการสังหารหมู่พระราชวงศ์ที่มีสิทธิในราชบัลลังก์เพื่อเปิดทางให้เจ้าชายธีบอได้ครองราชบัลลังก์ แผนการนี้ดำเนินการโดยพระนางซินผิ่วมะฉิ่น พระมเหสีรองในพระเจ้ามินดง และอัครมหาเสนาบดีในพระเจ้ามินดง คือ เกงหวุ่นมินจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระนางซินผิ่วมะฉิ่น[4] เจ้าชายหลายพระองค์ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามินดงและเจ้าหญิงบางพระองค์ได้ถูกปลงพระชนม์ในแผนการนี้ เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงรอดพระชนม์มาได้เนื่องจากทรงมีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาแท้ในพระเจ้าธีบอ

พระเจ้ามินดงเสด็จสวรรคต พระเจ้าธีบอขึ้นครองราชย์สืบต่อในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 สถานะของเจ้าหญิงและเชษฐภคินีได้รับการฟื้นคืนขึ้นมาหลังจากที่ตกต่ำลงเมื่อคราวพระราชมารดาทรงถูกเนรเทศ เจ้าหญิงได้รับพระราชทานศักดินา พยุงพยาและเมกถีหล่า (Pyaung Pya and Meiktila) จากพระเจ้าธีบอ ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2421[5] ซึ่งทำให้ทรงมีสถานะเป็นเจ้าหญิงแห่งพยุงพยาและเมกถีหล่า และกลายเป็นพระนามในการเรียกพระนางว่า เจ้าหญิงเมกถีหล่า

เจ้าหญิงเมกถีหล่าและพระเชษฐภคินีทรงมีบทบาทในราชสำนักน้อยมาก เนื่องจากบทบาทในราชสำนักและอิทธิพลอยู่ภายใต้พระราชินีศุภยาลัต พระมเหสีในพระเจ้าธีบอ เป็นสำคัญ เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงประทับในพระตำหนักร่วมกับพระนางศุภยากเล พระขนิษฐาในพระนางศุภยาลัต

เจ้าหญิงเมกถีหล่าไม่ทรงได้รับการปฏิบัติที่ดีนักจากพระราชินีศุภยาลัต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาในพระราชินีแล้ว เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่ากันมากจากพระนางศุภยาลัต เมื่อพระราชินีทรงมีพระอารมณ์ดี พระนางจะพระราชทานของกำนัลล้ำค่าแก่เจ้าหญิงเมกถีหล่า แต่บางครั้งทรงกล่าวถากถางเยาะเย้ยเจ้าหญิงเมกถีหล่า โดยไม่ทรงโปรดที่เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงมีพระสิริโฉม ทรงมีพระวรกายบอบบาง ซึ่งเอวของเจ้าหญิงสามารถโอบได้ด้วยมือคู่หนึ่ง ครั้งหนึ่งเมื่อพระนางศุภยาลัตทรงเข้าห้องเพื่อเตรียมพระประสูติกาลครั้งแรก เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงได้รับเกียรติให้กางและถือเศวตฉัตรเหนือพระแท่น แต่พระเศวตฉัตรหนักเกินไปและทรงเปิดอย่างยากลำบาก พระราชินีซึ่งทรงทอดพระเนตรอยู่ทรงตรัสว่า "ระวังหน่อย เดี๋ยวเอวเจ้าจะหัก"[6]

เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระนางมักจะทรงท่องบทสวดและทรงดูแลศาลประจำครอบครัวของพระนางอยู่เสมอ

สมัยอาณานิคมและสิ้นพระชนม์

ราชอาณาจักรล่มสลายลงโดยพระเจ้าธีบอทรงครองราชย์ได้เพียง 7 ปี พระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม กองทัพอังกฤษได้บุกเข้าพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อเรียกร้องให้พระเจ้าธีบอทรงยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขภายใน 24 ชั่วโมง[7] และบีบบังคับให้พระเจ้าธีบอสละราชบัลลังก์ พระองค์พร้อมพระราชินีศุภยาลัตและพระราชธิดาทรงถูกเนรเทศไปยังอินเดียในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ซึ่งเจ้าหญิงเมกถีหล่าไม่ทรงได้พบกับพระเชษฐาอีกเลย

เจ้าหญิงเมกถีหล่าไม่ทรงถูกเนรเทศ ทรงได้รับอนุญาตให้ประทับในเมืองมัณฑะเลย์ต่อไป แต่ต้องทรงออกจากพระราชวังมัณฑะเลย์พร้อมๆกับพระราชวงศ์องค์อื่นๆตามคำสั่งของทางการอังกฤษ เพื่อต้องการขจัดอิทธิพลของพระราชวงศ์และเพื่อความสะดวกในการปกครอง พระราชวงศ์ทรงต้องประทับอยู่บริเวณกำแพงพระราชวังหรือคูเมือง เจ้าหญิงและพระญาติวงศ์ไม่มีบ้านที่จะประทับ เจ้าหญิงเมกถีหล่ากับเจ้าหญิงผกันคยี พระเชษฐภคินี พร้อมพระนางเสงดน หนึ่งในพระชายาของพระเจ้ามินดง จึงต้องทรงประทับร่วมกันในที่พำนักของวัด ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของพระราชมารดาในเจ้าหญิงซึ่งสิ้นพระชนม์ไปนานแล้ว

เจ้าหญิงเมกถีหล่าทรงมีข้าราชบริพารมากมายมาถวายการรับใช้ โดยนางหนึ่งในนั้น คือ ขิ่นเลภู เจ้าหญิงได้เสด็จเยี่ยมบ้านของนางบ่อยครั้งซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในหลายปีก่อนช่วงที่ยังมีระบอบกษัตริย์ บิดามารดาของขิ่นเลภู ซึ่งเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวย เจ้าหญิงทรงพบรักกับพี่ชายของขิ่นเลภู คือ กะยอหล่ายหม่องหม่อง (Kyaw Hlaint Maung Maung)[8] ทั้งสองได้เสกสมรสกันมีบุตรร่วมกัน 4 คน เป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 1 คน บุตรชายเป็นบุตรคนที่สาม ทั้งสองย้ายมาประทับตึกหัวมุมที่ 84 บนถนนเส้นที่ 29 ของมัณฑะเลย์ ซึ่งบ้านของเจ้าหญิงก็ยังคงอยู่จนทุกวันนี้ เจ้าหญิงผกันคยี พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงไม่ทรงมีพระบุตร ทรงรับบุตรชายของทั้งสองมาเป็นบุตรบุญธรรม แต่บุตรชายได้ประสบอุบัติเหตุตกลงมาจากที่สูงสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ สร้างความโทมนัสแก่เจ้าหญิงเมกถีหล่า เจ้าหญิงผกันคยีและครอบครัวมาก บุตรสาวทั้งสามคนได้สมรสในเวลาต่อมาแต่มีเพียงบุตรสาวคนที่สองที่มีทายาท

เจ้าหญิงเมกถีหล่าสิ้นพระชนม์ด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2439 ณ เมืองมัณฑะเลย์ พระชนมายุ 36 พรรษา ปัจจุบันทายาทของเจ้าหญิงเมกถีหล่ายังคงอาศัยอยู่ในมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง

อ้างอิง

  1. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  2. Sudha Shah (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชันผู้ผลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 30; published 2014; ISBN 978-974-02-1329-1
  3. H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 48; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7
  4. H. Fielding pp. 49
  5. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  6. https://sites.google.com/site/thingsmyanmar/the-king-s-little-sister
  7. Synge, M.B. (1911). "Annexation of Burma". Growth of the British Empire.
  8. https://sites.google.com/site/thingsmyanmar/the-king-s-little-sister