ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิงค์แพนเตอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sard112 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
| เว็บ =
| เว็บ =
| สมาชิก = [[วิชัย ปุญญะยันต์]] (6 ส.ค. 2493) <br> ณรงค์ อับดุลราฮิม <br> ประมาณ บุษกร <br> อดุลย์ วงษ์แก้ว <br> โสรยา สิรินันท์ <br> กรองทอง ทัศนพันธ์ <br> ปนิตา ทัศนพันธ์ <br> ประจวบ สินเทศ <br> ธนพล ไตรเวทย์ <br> มนู ทองดีมีชัย <br> เจน เฉลยกาย <br> ธนะศักดิ์ (ณิศิธ) ไวอาสา <br> มาโนช บินอุมา <br> อรรถพร กำภู ณ อยุธยา <br> สมสรรค์ สมบัติเจริญ <br> ณรงค์สิทธิ์ บำรุงกิตติกุล<ref name="การเปลี่ยนแปลงของวงพิงค์แพนเตอร์">[http://www.siamdara.com/Variety/00011165.html เสือสีชมพูในวงการเพลงไทย] siamdara.com</ref>
| สมาชิก = [[วิชัย ปุญญะยันต์]] (6 ส.ค. 2493) <br> ณรงค์ อับดุลราฮิม <br> ประมาณ บุษกร <br> อดุลย์ วงษ์แก้ว <br> โสรยา สิรินันท์ <br> กรองทอง ทัศนพันธ์ <br> ปนิตา ทัศนพันธ์ <br> ประจวบ สินเทศ <br> ธนพล ไตรเวทย์ <br> มนู ทองดีมีชัย <br> เจน เฉลยกาย <br> ธนะศักดิ์ (ณิศิธ) ไวอาสา <br> มาโนช บินอุมา <br> อรรถพร กำภู ณ อยุธยา <br> สมสรรค์ สมบัติเจริญ <br> ณรงค์สิทธิ์ บำรุงกิตติกุล<ref name="การเปลี่ยนแปลงของวงพิงค์แพนเตอร์">[http://www.siamdara.com/Variety/00011165.html เสือสีชมพูในวงการเพลงไทย] siamdara.com</ref>
| อดีตสมาชิก = [[วิรัช อยู่ถาวร]]
| อดีตสมาชิก = [[วิรัช อยู่ถาวร]] <br> [[อำนาจ ลูกจันทร์]]
| กลุ่มแฟนคลับ =
| กลุ่มแฟนคลับ =
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:32, 16 กรกฎาคม 2560

พิงค์แพนเตอร์
Pink Panther
ไฟล์:Wichaipinklenda.jpg
วิชัย ปุญญะยันต์
เสือสีชมพูแห่งวงการเพลงไทย
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อเสือสีชมพูแห่งวงการเพลง
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงสตริง, ออร์เคสตร้า
ช่วงปีพ.ศ. 2522 -
ค่ายเพลงอีเอ็มไอ, ท็อปไลน์, นิธิทัศน์, แกรมมี่
สมาชิกวิชัย ปุญญะยันต์ (6 ส.ค. 2493)
ณรงค์ อับดุลราฮิม
ประมาณ บุษกร
อดุลย์ วงษ์แก้ว
โสรยา สิรินันท์
กรองทอง ทัศนพันธ์
ปนิตา ทัศนพันธ์
ประจวบ สินเทศ
ธนพล ไตรเวทย์
มนู ทองดีมีชัย
เจน เฉลยกาย
ธนะศักดิ์ (ณิศิธ) ไวอาสา
มาโนช บินอุมา
อรรถพร กำภู ณ อยุธยา
สมสรรค์ สมบัติเจริญ
ณรงค์สิทธิ์ บำรุงกิตติกุล[1]
อดีตสมาชิกวิรัช อยู่ถาวร
อำนาจ ลูกจันทร์

พิงค์แพนเตอร์ คือชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย มี วิชัย ปุญญะยันต์ เป็นหัวหน้าวงและเป็นผู้ตั้งชื่อวงเองตามตัวการ์ตูนตลกแนวสืบสวนยอดนิยมในแถบยุโรป[2] มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักคือ "รักฉันนั้นเพื่อเธอ" และ "รอยเท้าบนผืนทราย"

ประวัติ

วิชัย ปุญญะยันต์ และ วิรัช อยู่ถาวร อดีตสมาชิกวง ซิลเวอร์แซนด์(Silver Sand) ที่ยุบไป ร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อวง "พิงค์แพนเตอร์" ซึ่งชื่อนี้มาจากคุณวิชัยเกิดตรงกับปีเสือ(พ.ศ. 2493) และชื่นชอบตัวการ์ตูนพิงค์แพนเตอร์ แต่ วิรัช ได้ขอลาออกหลังจากนั้นไม่กี่เดือน เนื่องจากมีงานสอนดนตรีที่สยามกลการและมีปัญหาทางสุขภาพ

ต่อมา วิชัย ปุญญะยันต์ ได้เข้ารับตำแหน่งมิวสิคไดเรคเตอร์ให้กับบริษัท อีเอ็มไอ โดยเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ผู้ร้องไกด์ และนำวงพิงค์แพนเตอร์เล่นดนตรีบันทึกเสียงให้กับศิลปินต่างๆ ในสังกัด อาทิ วงชาตรี, จันทนีย์ อูนากูล, สุชาติ ชวางกูร เป็นต้น กระทั่งคุณประมาณ บุษกร ผู้บริหารของบริษัท[3]ได้แนะนำให้วงมีอัลบั้มเพลงเป็นของตนเอง จึงเกิดอัลบั้มชุดแรกคือ "สายชล" ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมีเพลง สายชล แต่งโดย จันทนีย์ อูนากูล แต่เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงเป็นอย่างมากกลับเป็นเพลง "รักฉันนั้นเพื่อเธอ" ซึ่งแต่งโดย ชรัส เฟื่องอารมย์ โดยเอาทำนองเพลง Yume Oi Sake ของญี่ปุ่น มาใส่เนื้อร้องเป็นภาษาไทย และได้มีการเปลี่ยนชื่อชุดตามชื่อเพลงยอดนิยมดังกล่าวในภายหลัง ทำยอดขายนับแสนตลับ [4] และเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่ขึ้นเวทีถาวรของรายการโลกดนตรี ข้างอาคารห้องส่งททบ. 5 ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2527

พิงค์แพนเตอร์ออกอัลบั้มชุดต่อมาให้กับอีเอ็มไอ ได้แก่ "ไกลเกินฝัน" (2526) มีเพลง รอยเท้าบนผืนทราย เป็นเพลงฮิต, "วิมานในฝัน" (2527), "นางนวล"(2527), "จุดหมายนั้นฉันมีเธอ" (2528), "รักพี่นะ" (2529) และ "สิ้นสายสัมพันธ์" (2529) จากนั้นจึงเปลี่ยนเข้าสังกัด ท็อปไลน์, นิธิทัศน์ และร่วมงานกับ แกรมมี่ ตามลำดับ โดยออกอัลบั้มเพลงใหม่และเพลงเก่าจากศิลปินคนอื่น รวมถึงนำเพลงของตนเองมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสมัยใหม่ แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าสมัยก่อน[5]

ทางวงได้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกวงอยู่หลายครั้งตามยุคสมัย เหลือเพียง วิชัย และบางคน ที่ยังดำเนินวงอยู่ สมาชิกเด่นๆ ได้แก่ ณรงค์ อับดุลราฮิม, อดุลย์ วงษ์แก้ว, ประจวบ สินเทศ, ธนพล ไตรเวทย์(แดง แฟนทาสติก), กรองทอง ทัศนพันธ์, ปนิตา ทัศนพันธ์(ทายาทของครูสมยศ ทัศนพันธ์) และ โสรยา สิรินันท์(นางเอกละครโทรทัศน์เรื่อง เจ้าซอใจซื่อ)[1] นอกจากนี้ยังรับทำเพลงประกอบโฆษณาให้กับสินค้าต่างๆ มากมาย และมีห้องบันทึกเสียงของตนเอง[6]

เอกลักษณ์ที่สำคัญของวง ได้แก่ การใช้เสียงดนตรีที่ต้องอาศัยนักดนตรีกลุ่มเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน วิโอลา จากวงดุริยางค์กองทัพเรือ และกรมศิลปากรเข้าเสริมในหลายๆ เพลงทั้งในภาคบันทึกเสียงอัลบั้มและภาคแสดงสด ทำให้การเรียบเรียงเสียงประสานดูขลังและกลมกลืนจนน่าติดตาม[4] กับการแต่งกายแบบสูทของสมาชิกวงทุกคนทั้งชายหญิง แม้แต่หน้าปกเทปของวงในยุคต้นๆ ยังใช้ภาพวาดตัวการ์ตูนต้นแบบมาแสดงเข้ากับคอนเซ็ปต์หรือชื่อของอัลบั้ม จึงเป็นที่จดจำของแฟนเพลงมาเนิ่นนาน

อ้างอิง