ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
== แนวทางการรักษา ==
== แนวทางการรักษา ==
'''แนวทางการรักษาโดยการใช้ยา'''
'''แนวทางการรักษาโดยการใช้ยา'''
# ใช้ยา Antidepressant เช่น Fluoxetine, Paroxetine
# ใช้ยาแก้ซึมเศร้า เช่น [[ฟลูอ็อกเซทีน]], พาโรเซทีน
# ใช้ยาพวก Adrenergic block agents
# ใช้ยาพวก Adrenergic block agents
# ใช้ยาพวก Antianxiety เช่น Diazepham
# ใช้ยาพวก Antianxiety เช่น Diazepham

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:45, 20 มกราคม 2560

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ
(Posttraumatic stress disorder)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F43.1
ICD-9309.81
DiseasesDB33846
MedlinePlus000925
eMedicinemed/1900
MeSHD013313

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (อังกฤษ: Posttraumatic stress disorder) มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD เป็นภาวะความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว อาการมักเป็นหลังจากเจอสถานการณ์ที่สะเทือนใจ ซึ่งต่างจาก Acute stress reaction ที่จะเกิดอาการขึ้นทันที่ที่เจอเหตุการณ์นั้นๆ

สาเหตุ

ได้พบเจอกับเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่สะเทือนใจมากๆ ซึ่งมักเป็นแบบเรื้อรัง และมักเป็นสถานการณ์พวกหายนะต่างๆ ได้แก่

  1. Natural disaster ภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด
  2. Technological disaster ภัยที่เกิดจากความก้าวหน้าของมนุษย์ เช่น ระเบิดปรมาณู สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล
  3. Man made disaster เช่น ก่อการร้าย ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ น่าสังเกตว่าสถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิด PTSD ถึง 70% แสดงให้เห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่มีผลด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องจะยิ่งทำให้เกิด PTSD ง่ายขึ้น

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นทั้งภาวะ Threatening (คุกคามต่อผู้ป่วยโดยตรง) หรือ Depressivness (ไม่ได้โดนกับตัวเอง แต่โดนกับคนที่ตนเองรัก)

อาการ

อาการทั่วๆไป ได้แก่ กลัว สิ้นหวัง หวาดผวา รู้สึกผิด ละอายใจ โกรธ ไม่มีใครหรืออะไรช่วยได้เลย

อาการสำคัญ
  1. เกิดภาพเหตุการณ์นั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก นึกถึงแล้วนึกถึงอีก
  2. มักจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ดังกล่าว เช่น คนที่ขับรถชนคนตาย แล้วไม่กล้าขับรถอีกเลย ดูหนังหรือเห็นอะไรเกี่ยวกับรถก็ไม่ได้
  3. อาการทางจิตใจ ได้แก่ ตื่นตัว สะดุ้ง ตกใจ ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายกับเรื่องธรรมดา

ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญอาการดังกล่าวต้องเป็นต่อเนื่องกันนานกว่า 1 เดือน

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษาโดยการใช้ยา

  1. ใช้ยาแก้ซึมเศร้า เช่น ฟลูอ็อกเซทีน, พาโรเซทีน
  2. ใช้ยาพวก Adrenergic block agents
  3. ใช้ยาพวก Antianxiety เช่น Diazepham

แนวทางการรักษาโดยวิธีอื่นๆ

  1. Hypnosis สะกดจิต
  2. Psychotherapy จิตบำบัด
  3. Anxiety management programme
  4. Group therapy ให้ผู้ป่วยมาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยอื่นที่เป็นเหมือนกัน

อ้างอิง

  • Maxmen, J. S.; Ward, N. G. (2002). Psychotropic drugs: fast facts (third ed.). New York: W. W. Norton. pp. 347–349. ISBN 0-393-70301-0.