ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ปากน้ำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Swat JJ Hock (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| place=ปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[สยาม]]
| place=ปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[สยาม]]
| coordinates=
| coordinates=
| result=ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและบรรลุวัตถุประสงค์
| result=ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและสยามเสีย เขมรส่วนนอก รวมถึง ลาวทั้งประเทศ
| combatant1={{flag|ฝรั่งเศส}}
| combatant1={{flag|ฝรั่งเศส}}
| combatant2={{flagicon|Thailand|1855}} [[สยาม]]
| combatant2={{flagicon|Thailand|1855}} [[สยาม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:59, 6 พฤษภาคม 2558

วิกฤตการณ์ปากน้ำ
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

เรือรบฝรั่งเศสภายใต้การระดมยิงจากป้อมปืนของสยาม
ที่ปากแม่น้ำ
วันที่13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436
สถานที่
ผล ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและสยามเสีย เขมรส่วนนอก รวมถึง ลาวทั้งประเทศ
คู่สงคราม
 ฝรั่งเศส ไทย สยาม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส แอดการ์ อูว์มัน ไทย พระยาชลยุทธโยธินทร์
กำลัง
เรือการข่าว 1 ลำ
เรือปืน 1 ลำ
เรือกลไฟ 1 ลำ
พื้นดิน:
ปืนเสือหมอบ 7 กระบอก
ค่ายทหาร 1 แห่ง
ทะเล:
เรือปืน 5 ลำ
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 3 นาย
บาดเจ็บ 2 นาย
เรือกลไฟเกยตื้น 1 ลำ
เรือนำร่องเสียหาย 1 ลำ
เรือปืนเสียหาย 1 ลำ
เสียชีวิต ~10 นาย
บาดเจ็บ ~12 นาย
เรือปืนอับปาง 1 ลำ
เรือปืนเสียหาย 1 ลำ1
  • เรือกลไฟของฝรั่งเศสถูกควบคุมโดยสยามหลังจากการรบโดยปราศจากการต่อต้าน

วิกฤตการณ์ปากน้ำ เป็นการรบระหว่างวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 ในขณะที่แล่นเรือผ่านเข้าไปในปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบฝรั่งเศส 3 ลำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและดำเนินการปิดล้อมกรุงเทพซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์

ภูมิหลัง

ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète) 2 ของกองทัพเรือฝรั่งเศสเดินทางมาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) [1] เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วยป้อมพระจุลจอมเกล้าที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก3 สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว

เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์4 มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์[2] ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาวดัตช์ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวยุโรปหลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน

ยุทธนาวี

ฝรั่งเศสเลือกที่จะเข้าปากแม่น้ำหลังพระอาทิตย์ตกดินในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีวัตถุประสงค์คือแล่นผ่านการป้องกันของสยามให้ได้ถ้ามีการเปิดฉากยิงกันขึ้น สภาพอากาศครึ้มฝน ขณะนั้นสยามได้ประจำสถานีรบและเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด เรือรบฝรั่งเศสได้แล่นตามเรือกลไฟนำร่องฌองบัปติสต์เซย์ (Jean Baptiste Say) เข้าสู่ปากแม่น้ำ เมื่อเวลา 18.15 น. ฝนหยุดตก ทหารในป้อมสังเกตเห็นเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่านกระโจมไฟ สองสามนาทีหลังจากนั้นเรือฝรั่งเศสแล่นผ่านทุ่นดำเข้ามาในระยะยิงของป้อม ทหารประจำป้อมได้รับคำสั่งให้ยิงเตือน 3 นัด แต่ถ้าฝรั่งเศสเพิกเฉยเรือปืนจะเปิดฉากยิง

เวลา 18.30 น. ป้อมปืนเปิดฉากยิงเตือนด้วยกระสุนเปล่า 2 นัด แต่เรือรบฝรั่งเศสยังคงแล่นต่อไป ในนัดที่สามสยามได้ใช้กระสุนจริงยิงเตือน กระสุนตกลงในน้ำหน้าเรือฌองบัปติสต์เซย์ เมื่อเห็นฝรั่งเศสเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน นัดที่สี่จากเรือปืน มกุฎราชกุมาร และ มูรธาวสิตสวัสดิ์ ก็เปิดฉากยิงเมื่อเวลา 18.50 น. เรือแองกองสตองได้ยิงตอบโต้กับป้อมในขณะที่โกแมตยิงสู้กับเรือปืนสยาม มีเรือขนาดเล็กที่บรรจุระเบิดถูกส่งมาพุ่งชนเรือฝรั่งเศสแต่พลาดเป้า การต่อสู้กินเวลาประมาณ 25 นาที

ในที่สุด พลเรือตรี อูว์มัน ก็พาเรือรบฝ่าการป้องกันของสยามไปได้ และสามารถจมเรือปืนฝ่ายสยามได้หนึ่งลำ ส่วนอีกลำได้รับความเสียหายจากกระสุนปืน ทหารสยามตาย 10 นาย บาดเจ็บ 12 นาย ฝรั่งเศสได้รับความเสียหายน้อยกว่า ขณะที่ผ่านปากน้ำเรือฌองบัปติสต์เซย์ถูกยิงด้วยปืนใหญ่ ไปเกยตื้นที่แหลมลำพูราย เรือแองกองสตองและเรือโกแมตแล่นผ่านไปได้ถึงกรุงเทพ จอดทอดสมออยู่ที่สถานทูตฝรั่งเศส[1] ทหารฝรั่งเศสตาย 3 นาย บาดเจ็บ 2 นาย เรือโกแมตถูกยิงได้รับความเสียหายมากกว่าเรือแองกองสตองแต่ไม่ได้เสียหายร้ายแรง ป้อมของสยามไม่ได้รับความเสียหาย

ผลที่ตามมา

เช้าวันต่อมา ลูกเรือฌองบัปติสต์เซย์ยังคงอยู่บนเรือที่เกยตื้น สยามได้ส่งเรือเข้ามาควบคุมเรือกลไฟฌองบัปติสต์เซย์และได้พยายามจมเรือแต่ไม่สำเร็จ จากรายงาน นักโทษได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายและถูกส่งตัวเข้าคุกกรุงเทพ วันต่อมาเรือปืนฝรั่งเศส ฟอร์แฟต (Forfait) ได้มาถึงปากน้ำและส่งเรือพร้อมทหารเต็มลำเข้ายึดเรือฌองบัปติสต์เซย์แต่เมื่อถึงเรือกลับโดนโจมตีขับไล่ถอยไปโดยทหารสยามที่ยึดเรืออยู่ เมื่อพลเรือตรี อูว์มัน มาถึงกรุงเทพ เขาได้ทำการปิดล้อมและหันกระบอกปืนมาทางพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ก็มีการลงนามในสนธิสัญญาถือเป็นการสิ้นสุดการรบ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  • หมายเหตุ 1:
    เอกสารบางฉบับแสดงความสูญเสียดังนี้ ทหารฝรั่งเศสตาย 3 คนบาดเจ็บ 3 คน ทหารสยามตาย 8 คน บาดเจ็บ 41 คนและสูญหาย 1 คน[1]
  • หมายเหตุ 2:
    เรือการข่าวแองกงสตัง ระวางขับน้ำ 825 ตัน ความเร็ว 13 นอต ปืนใหญ่ 14 ซม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 1 กระบอก ปืนกล 37 มม. 5 กระบอก มีนาวาโท โบรี (Boy) เป็นผู้บังคับการเรือ และ ผู้บังคับหมู่เรือ
    เรือปืนโกแมต ระวางขับน้ำ 495 ตัน ปืนใหญ่ 14 ซม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 2 กระบอก ปืนกล 37 มม. 2 กระบอก มีเรือเอกหลุยส์ ดาร์ติช ดู ฟูร์เนต์ (Louis Dartige du Fournet) เป็นผู้บังคับการเรือ[2]
  • หมายเหตุ 3:
    เอกสารบางฉบับมีป้อมผีเสื้อสมุทรรวมอยู่ด้วย[1]
  • หมายเหตุ 4:
    เรือมกุฎราชกุมาร ระวางขับน้ำ 609 ตัน ความเร็ว 11 นอต อาวุธประจำเรือไม่ทราบชัด ฝ่ายฝรั่งเศสบันทึกว่า มีปืนใหญ่ 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่ 12 ซม. 5 กระบอก ปืนกล 3 กระบอก มีนาวาโท วี. กูลด์แบร์ก (Commander V. Guldberg) เป็นผู้บังคับการเรือ ดับเบิลยู. สมาร์ท (W. Smart) เป็นต้นกลเรือ
    เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ระวางขับน้ำ 250 ตัน ปืนใหญ่อาร์มสตรอง 70 ปอนด์ 1 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 4 กระบอก ปืนกล 1 กระบอก มี เรือเอก ดับเบิลยู. คริสต์มาส (Lieutenant W. Christmas) เป็นผู้บังคับการเรือ จี. แคนดุตตี (G. Candutti) เป็นต้นเรือ
    เรือหาญหักศัตรูระวางน้ำ 120 ตัน ความเร็ว 7 นอต ปืนใหญ่ 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่ 12 ซม. 1 กระบอก มี เรือเอก เอส. สมีเกโล (Lieutenant S. Smiegelow) เป็นผู้บังคับการเรือ
    เรือนฤเบนทร์บุตรีระวางขับน้ำ 260 ตัน ปืนใหญ่ 10 ซม. 6 กระบอก เรือทูลกระหม่อม (เรือใบ) ระวางขับน้ำ 475 ตัน ปืนใหญ่ 10 ซม. 6 กระบอก[2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ไกรฤกษ์ นานา, วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112, สารคดีปีที่ 26 ฉบับที่ 308 ตุลาคม 2553
  2. 2.0 2.1 2.2 การสู้รบทางเรือในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พระปิยมหาราช กองทัพเรือ