ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่วอเตอร์ลู"

พิกัด: 50°41′N 4°24′E / 50.683°N 4.400°E / 50.683; 4.400
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kienose (คุย | ส่วนร่วม)
Kienose (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
[[File:Napoleon crop.jpg|thumb|แผนการของนโปเลียนคือแยกกองทัพของอังกฤษและปรัสเซีย แล้วโจมตีแยกกัน]]
[[File:Napoleon crop.jpg|thumb|แผนการของนโปเลียนคือแยกกองทัพของอังกฤษและปรัสเซีย แล้วโจมตีแยกกัน]]
[[File:NapoleonsHeadquartersAtWaterloo.jpg|thumb|ศูนย์บัญชาการของนโปเลียน, ฟาร์มกายลู ("Caillou")]]
[[File:NapoleonsHeadquartersAtWaterloo.jpg|thumb|ศูนย์บัญชาการของนโปเลียน, ฟาร์มกายลู ("Caillou")]]
การยกพลกองทัพไปผ่าน[[มองส์]]ไปยังบรัสเซลส์ มีจุดประสงค์เพื่อตั้งรับการโจมตีนของนโปเลียน <ref>{{Harvnb|Siborne<!--W-->|1990|p=82}}.</ref> การทำเช่นนี้ทำให้เวลลินตันไม่สามารถติต่อกับฐานบัญชาการที่[[ออสเตนด์]] แต่กองทัพของเขาจะใกล้กับบลือเชอร์มาก ฝั่งซ้ายของกองทัพควบคุมโดย[[Michel Ney|มิเชล เนย์]] ฝั่งขวาควบคุมโดย[[เอ็มมานูเอล, มาร์กีสแห่งกรูชี|มาร์เชลกรูชี]] กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมของกลุ่มพัทธมิตร ในช่วงรุ่งอรุณของวันที่ 15 มิถุนายน ที่[[ชาร์เลอรัว]]
Wellington's initial dispositions were intended to counter the threat of Napoleon enveloping the Coalition armies by moving through [[Mons]] to the south-west of Brussels.<ref>{{Harvnb|Siborne<!--W-->|1990|p=82}}.</ref> This would have cut Wellington's communications with his base at [[Ostend]], but would have pushed his army closer to Blücher's. Napoleon manipulated Wellington's fear of this loss of his supply chain from the channel ports with false intelligence.<ref>{{Harvnb|Hofschröer|2005|pp= 136–160}}</ref> He divided his army into a left wing commanded by [[Michel Ney|Marshal Ney]], a right wing commanded by [[Emmanuel, marquis de Grouchy|Marshal Grouchy]], and a reserve, which he commanded personally (although all three elements remained close enough to support one another). Crossing the frontier near [[Charleroi]] before dawn on 15 June, the French rapidly overran Coalition outposts, securing Napoleon's "central position" between Wellington's and Blücher's armies.


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:00, 3 กันยายน 2556

ยุทธการวอเตอร์ลู
ส่วนหนึ่งของ สงครามเจ็ดพันธมิตร

Wellington at Waterloo ผลงานของ โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ฮิลลิงฟอร์ด
วันที่18 มิถุนายน ค.ศ. 1815
สถานที่50°41′N 4°24′E / 50.683°N 4.400°E / 50.683; 4.400
ผล พันธมิตรต่อต้านนโปเลียนที่เจ็ดได้ชัยชนะเด็ดขาด
คู่สงคราม
ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศส สัมพันธมิตรครั้งที่ 7:
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
สาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์
จังหวัดฮันโนเฟอร์ ราชอาณาจักรฮาโนเวอร์
แคว้นดยุคแห่งนัสเซา
แคว้นดยุคแห่งบรันสวิก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส นโปเลียน โบนาปาร์ต
ฝรั่งเศส มีแชล แน
สหราชอาณาจักร อาเธอร์ เวลเลสลีย์ ดยุคแห่งเวลลิงตันที่ 1
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เกบฮาร์ด ฟอน บลือเชอร์
กำลัง
72,000[1] อังกฤษ-พันธมิตร: 68,000[1]
ปรัสเซีย: 50,000[2]
ความสูญเสีย
ตาย/บาดเจ็บ 25,000 คน
ตกเป็นเชลย 7,000 คน
สูญหาย 15,000[3]
ตาย/บาดเจ็บ 22,000 คน[4]

ยุทธการที่วอเตอร์ลู เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 1815 ที่ เมืองวอเตอร์ลู ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยี่ยม, ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์. กองทัพแห่งฝรั่งเศสยุคจักรพรรดิที่ 1 ของจักรพรรดินโปเลียน ได้ปราชัยแก่กองทัพพันธมิตรต่อต้านนโปเลียนที่ 7, ภายใต้การนำทัพ แองโกลของ ดยุกแห่งเวลลิงตัน รวมกับกองทัพปรัสเซีย ของเกบฮาร์ด ฟอน บลือเชอร์ซึ่งเป็นการสู้รบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเคมเปญวอเตอร์ลู ผลของการสู้รบทำให้นโปเลียนสิ้นสุดอำนาจการเป็นจักรพรรดิ หยุดการขึ้นสู่อำนาจ 100 วัน และนโปเลียนถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา

การกลับสู่อำนาจของนโปเลียนในปี 1815 ทำให้รัฐต่างๆ ร่วมกันต่อต้านนโปเลียนเป็นครั้งที่ 7. กองทัพจำนวนมากของเวลเลสลีย์ และบลือเชอร์ได้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส นโปเลียนวางแผนเข้าโจมตีเพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพทั้งสอง เข้ารวมกับกองทัพของรัฐต่างๆ การตัดสินใจนี้เรียกว่าเคมเปญที่วอเตอร์ลู (16–19 มิถุนายน 1815) เวลลิงตันเคยกล่าวไว้ว่า สงครามนี้เป็น "the nearest-run thing you ever saw in your life" .[5]

นโปเลียนได้ชะลอการโจมตีถึงตอนเที่ยงวันที่ 18 เพื่อให้พื้นแห้ง ในขณะที่กองทัำพของเวลลิงตันได้ประจำตำแหน่งไปตามถนนที่เนินมงต์-แซงต์-ฌอง ตั้งรับการโจมตีของฝรั่งเศสจนถึงตอนเย็น กองทัพของบลือเชอร์ได้มาถึงและเข้าโจมตีทางขวาของกองทัพฝรั่งเศส ร่วมกับกองทัพของเวลลิงตันที่ได้เข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศสจนหมดสภาพในการรบ กองกำลังผสมได้เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศสและคืนอำนาจแก่หลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส นโปเลียนถูกถอดจากอำนาจและถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา

ปัจจุบันสมรภูมินี้อยู่ในประเทศเบลเยี่ยม ระยะทางประมาณ 8 ไมล์ (13 กิโลเมตร) จากทิศใต้ไปตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซล และ 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) จากเมืองวอเตอร์ลู ปัจจุบันมีรูปปั้นไลออนส์โมนด์ตั้งอยู่

ต้นเหตุ

สถานการที่ยุโรปตะวันตกปี 1815 : ทหารฝรั่งเศส 250,000 นาย ต่อสู้กับพันธมิตรต่อต้านนโปเลียน 850,000 นาย โดยนโปเลียนยังต้องแบ่งกำลัง 20,000 นายไว้ที่ฝรั่งเศสตะวันตกเพื่อป้องกันกลุ่มรอยัลลิสต์

วันที่ 13 มีนาคม 1815, 6 วันก่อนนโปเลียนเดินทางถึงปารีส, สภาคอนเกรสแห่งเวียนนาประกาศให้นโปเลียนเป็นคนนอกกฏหมาย.[6] สี่วันต่อมา สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ออสเตรีย, และ ปรัสเซีย ได้ยกกองทัพมาเพื่อกำจัดอำนาจของนโปเลียน[7] นโปเลียนทราบว่า ถ้าเขาไม่สามารถป้องกันการโจมตีของมพันธมิตรต่อต้านนโปเลียนในการโจมตีฝรั่งเศสได้แล้ว เขาต้องโจมตีกองทัพของพันธมิตรก่อนที่จะยกทัพมา เพื่อรักษาอำนาจที่ตนมี ถ้าหากเขาสามารถโจมตีกองกำลังผสมที่อยู่ทางตอนใต้ของกรุงบรัสเซล ได้สำเร็จแล้ว อาจจะทำให้กองทัพอังกฤษถอยทัพออกไปยังเกาะบริเตน และทำให้กองทัพปรัสเซียพ่ายแพ้

เหตุผลอีกประการหนึ่งคือในเขตนั้นมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอยู่ (Francophone) ชัยชนะอาจทำให้เกิดการเข้าร่วมกับกองทัพฝรั่งเศส อีกประการหนึ่ง กองทัพอังกฤษที่นั่นเป็นทหารใหม่ กองทัพจำนวนมากที่เคยรบสงครามคาบสมุทรสเปนได้ถูกส่งไปประจำการที่อเมริกาในสงครามปี 1812[8]

แผนที่แสดงยุทธการที่วอเตอร์ลู
แผนการของนโปเลียนคือแยกกองทัพของอังกฤษและปรัสเซีย แล้วโจมตีแยกกัน
ศูนย์บัญชาการของนโปเลียน, ฟาร์มกายลู ("Caillou")

การยกพลกองทัพไปผ่านมองส์ไปยังบรัสเซลส์ มีจุดประสงค์เพื่อตั้งรับการโจมตีนของนโปเลียน [9] การทำเช่นนี้ทำให้เวลลินตันไม่สามารถติต่อกับฐานบัญชาการที่ออสเตนด์ แต่กองทัพของเขาจะใกล้กับบลือเชอร์มาก ฝั่งซ้ายของกองทัพควบคุมโดยมิเชล เนย์ ฝั่งขวาควบคุมโดยมาร์เชลกรูชี กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมของกลุ่มพัทธมิตร ในช่วงรุ่งอรุณของวันที่ 15 มิถุนายน ที่ชาร์เลอรัว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Hofschröer, pp. 72–73
  2. Chesney, p. 4
  3. Barbero, p. 420
  4. Barbero, p. 419
    กองทัพของเวลลิงตัน: ตาย 3,500 คน; บาดเจ็บ 10,200 คน; สูญหาย 3,300 คน
    Blücher's army: ตาย 1,200 คน; บาดเจ็บ 4,400 คน; สูญหาย 1,400 คน
  5. Wikiquote:Wellington citing Creevey Papers, ch. x, p. 236
  6. Timeline: The Congress of Vienna, the Hundred Days, and Napoleon's Exile on St Helena, Center of Digital Initiatives, Brown University Library
  7. Hamilton-Williams 1993, p. 59
  8. Chandler 1966, pp. 1016, 1017, 1093
  9. Siborne 1990, p. 82.

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA