ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย]]
[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย]]
{{โครงการเมือง}}
{{โครงการเมือง}}

[[de:Deutsch-thailändische Beziehungen]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:32, 8 มีนาคม 2556

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และประธานาธิบดี ไฮน์ริค ลืบค์ ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2503

ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึง พระเจนดุริยางค์ หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[2]

ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ยังคงมีมาโดยตลอด โครงการที่รัฐบาลเยอรมันให้ความสำคัญ คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่น การวิจัยการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย โดยมีการขอยืมช้างไทยไปวิจัยศึกษาที่สวนสัตว์ในโคโลญ อันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ ของระหว่างสองประเทศ[3]

ความสัมพันธ์ทางการทูต

ในสมัยที่เยอรมนียังคงแยกเป็นรัฐเสรีหลายรัฐ ได้มีรัฐสำคัญอย่างปรัสเซียที่จัดตั้งจัดตั้งคณะทูตสันถวไมตรีแห่งปรัสเซียมายังสยาม โดยมีหัวหน้าคณะทูตคือ เคานท์ ซู ออยเลนบวร์ก พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กับชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเดินทางมาถึงสยาม ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเจรจาการค้าพระราชไมตรี ด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2406 โดยมีเจ้าฟ้ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ซึ่งทางปรัสเซียไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ การเจรจาเสร็จสิ้นและลงนามสัญญา ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2406 โดยสัญญาระบุถึงการปฏิบัติไมตรีต่อกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 ได้มีการตั้งสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และ พ.ศ. 2431 ได้มีการเลื่อนระดับสถานกงสุลเยอรมันขึ้นเป็นสถานอัครราชทูตเยอรมัน ณ กรุงเทพฯ[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Auswärtiges Amt – Thailand Daten zu den deutsch-thailändischen Beziehungen (engl.)
  • Andreas Stoffers: Im Lande des weißen Elefanten: die Beziehungen zwischen Deutschland und Thailand von den Anfängen bis 1962. Deutsch-Thailändische Gesellschaft, Bonn 1995, ISBN 3923387210.
  • หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย: History of the Thai-German relations (from the files of the Thai Embassy in Bonn and the German Ministry of Foreign Affairs). กรุงเทพฯ: เฉลิมนิจ 2521.
  • Rudolf Baierl: "140 Years Peace : fundamental conditions for the commencement of German-Thai amity". 5th Asia Pacific Forum 2003. Als pdf unter http://public.beuth-hochschule.de/~baierl/Thai/A4Thai_Deut_Peace.pdf (letzter Zugriff am 10. November 2010).
  • Stefanie Rathje: Unternehmenskultur als Interkultur: Entwicklung und Gestaltung interkultureller Unternehmenskultur am Beispiel deutscher Unternehmen in Thailand. Wissenschaft und Praxis, Sternenfels 2004, ISBN 978-3896732071.