ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก tl:Wikang Indo-Europeo ไปเป็น tl:Mga wikang Indo-Europeo
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก lez:Гьинд-европадин чӀалар ไปเป็น lez:Инд-европадин чIалар
บรรทัด 109: บรรทัด 109:
[[la:Linguae Indoeuropaeae]]
[[la:Linguae Indoeuropaeae]]
[[lad:Linguas indoevropeas]]
[[lad:Linguas indoevropeas]]
[[lez:Гьинд-европадин чӀалар]]
[[lez:Инд-европадин чIалар]]
[[li:Indogermaanse taole]]
[[li:Indogermaanse taole]]
[[lij:Lengue indoeuropee]]
[[lij:Lengue indoeuropee]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:38, 6 มกราคม 2556

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL ) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน)

ประวัติศาสตร์

ความเป็นไปได้ของต้นกำเนิดร่วมของภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ เสนอเป็นครั้งแรกโดย เซอร์ วิลเลียม โจนส์ ซึ่งได้สังเกตเห็นความเหมือนกันระหว่างภาษาที่เก่าแก่ที่สุด 4 ภาษาที่รู้จักในยุคนั้น คือ ภาษาละติน ภาษากรีก ภาษาสันสกฤต และ ภาษาเปอร์เซีย การเปรียบเทียบภาษาเหล่านี้ และภาษาเก่าแก่อื่น ๆ อย่างมีระบบ โดยฟรานซ์ บอปป์ สนับสนุนทฤษฎีนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิชาการเคยเรียกภาษากลุ่มนี้ว่า "ภาษากลุ่มอินโด-เจอร์เมนิก" (Indo-Germanic) หรือ "อารยัน" (Aryan) อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏชัดเจนว่า ความคล้ายคลึงนี้ มีอยู่ในภาษาของยุโรปส่วนใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นเป็น อินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ตัวอย่างเช่น มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่าง ภาษาสันสกฤต และ ภาษาย่อยของภาษาลิทัวเนียและภาษาลัตเวียที่พูดในสมัยก่อน

ภาษาบรรพบุรุษที่เป็นต้นกำเนิด (ที่ได้สืบสร้างขึ้นมาใหม่) เรียกว่าภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, PIE). มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นถิ่นกำเนิด (เรียกว่าอูร์เฮย์มัต "Urheimat") ที่ตั้งที่เป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบันคือที่ราบทางเหนือของทะเลดำและทะเลแคสเปียน (ตามทฤษฎีของเคอร์แกน) หรืออนาโตเลีย (ตามทฤษฎีของโคลิน เร็นฟริว) ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของเคอร์แกนสักจะตั้งอายุของภาษาต้นกำเนิดเป็นประมาณ 4000 ปีก่อน ค.ศ. ส่วนผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของถิ่นกำเนิดในอนาโตเลียมักจะกำหนดอายุของภาษานี้เป็นช่วงหลายสหัสวรรษก่อนหน้านี้ (อินโด-ฮิตไตต์)

กลุ่มย่อย

กลุ่มย่อยต่าง ๆ ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนรวมถึง (ตามลำดับตามประวัติศาสตร์ของการปรากฏครั้งแรก) :

นอกจาก 10 แขนงที่ได้กล่าวไว้แล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่สูญพันธุ์ที่รู้จักน้อยมาก:

นอกจากนี้ ยังมีภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ในปัจจุบัน

แม่แบบ:Link FA