ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางกุสาวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
[[หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 17]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 17]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
[[หมวดหมู่:สตรีในประวัติศาสตร์ไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:48, 8 สิงหาคม 2555

นางกุสาวดี

เจ้านางกุลธิดา
สมเด็จพระพันปีหลวง
พระราชสวามีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระเพทราชา
พระราชบุตรสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8
ราชวงศ์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาพญาแสนหลวง

พระนางกุสาวดี หรือ เจ้านางกุสาวดี เป็นอิสตรีที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอีกพระองค์ โดยมีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยาถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา และ สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) จะกล่าวไปแล้ว พระนางกุสาวดีมีความเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงของกรุงศรีอยุธยาทั้ง 7 พระองค์ รวมทั้ง สมเด็จพระนารายมหาราชแห่งราชวงศ์ปราสาททอง รวมทั้งหมดเป็น 8 พระองค์

พระประวัติ

พระนางกุสาวดี เดิมมีพระนามว่า เจ้านางกุลธิดา[ต้องการอ้างอิง] เป็นพระธิดาในพญาแสนหลวง (พระแสนเมือง) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในสมัย พ.ศ. 2193 (ขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นแก่พม่า) ครองเมืองได้ 13 ปี ใน พ.ศ. 2205 ก็เสียเมืองให้แก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งเป็นแม่ทัพในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในครั้งนั้น เจ้านางกุลธิดาได้ถูกนำตัวมาถวายเป็นบาทบาจาริกาแก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ยกพระนางให้อภิเษกกับพระเพทราชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมช้าง กล่าวกันว่า ขณะนั้นพระนางได้ทรงครรภ์กับสมเด็จพระนารายณ์แล้ว แต่เกิดความละอายที่มีลูกกับหญิงลาว (ซึ่งแต่เดิมไทยอยุธยาถือว่าเชียงใหม่หรืออาณาจักรล้านนาก็เป็นลาวเหมืองกับล้านช้าง-หลวงพระบาง-เวียงจันทร์ และดูถูกว่าต่ำต้อยกว่าไทยที่อยุธยาหรือรัตนโกสินทร์[ต้องการอ้างอิง]) จึงพระราชทานนางให้แก่พระเพทราชา พระนางประสูติพระโอรสที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร (บริเวณวัดโพธิ์ประทับช้างในปัจจุบัน) มีนามว่า เจ้าเดื่อ หรือ มะเดื่อ ดังนั้น พระโอรสที่ประสูติจากพระนางจึงเป็นบุตรบุญธรรมของพระเพทราชา ซึ่งต่อมาก็คือ สมเด็จพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตแล้ว หลวงสรศักดิ์ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้พระเพทราชายึดอำนาจ โดยพระองค์กำจัดผู้มีสิทธิสืบราชสมบัติ 3 พระองค์ คือ พระราชอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2 องค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศและสมเด็จเจ้าฟ้าน้อย รวมทั้ง โอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ โดยมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจบาทหลวงคริสต์ศาสนาเข้าร่วม[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งกองกำลังจากกองทหารมอญที่เข้ามารับราชการอยู่ในไทยเป็นกำลังในการสนับสนุนการยึดอำนาจ แล้วจึงปราบดาภิเษกพระเพทราชาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง แทน

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต สมเด็จพระเจ้าเสือซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระนางกุสาวดีจึงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา โดยเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวงองค์ที่ 2 และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าเสือ ซึ่งถือว่าเป็นพระราชนัดดาของพระนางกุสาวดี ก็ได้ครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมา ด้วยเหตุนี้ พระนางกุสาวดีจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับ พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงทุกพระองค์

อ้างอิง