ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงรุ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Panyatham (คุย | ส่วนร่วม)
[http://maps.google.com/maps?ll=21.962788,100.80574&spn=0.172258,0.220757&t=h&z=12&vpsrc=0&lci=com.panoramio.all maps.google]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Location of Jinghong within Yunnan (China).png|thumb|300px|แผนที่เชียงรุ้ง]]
[[ไฟล์:Location of Jinghong within Yunnan (China).png|thumb|300px|แผนที่เชียงรุ้ง]]
[[ไฟล์:Jinghong-view-of-mekong.jpg|thumb|300px|[[แม่น้ำโขง]]ช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ้ง]]
[[ไฟล์:Jinghong-view-of-mekong.jpg|thumb|300px|[[แม่น้ำโขง]]ช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ้ง - [http://maps.google.com/maps?ll=21.962788,100.80574&spn=0.172258,0.220757&t=h&z=12&vpsrc=0&lci=com.panoramio.all maps.google]
]]
'''เชียงรุ่ง''' หรือ '''เชียงรุ้ง''' ([[ภาษาจีน|จีน]]: 景洪; พินอิน: Jǐnghóng;) หรือ จิ่งหง เจียงฮุ่ง เจงฮุ่ง คือเมืองเอกในเขตปกครองพิเศษไท-[[สิบสองปันนา]] [[มณฑลยูนนาน]] [[ประเทศจีน]]
'''เชียงรุ่ง''' หรือ '''เชียงรุ้ง''' ([[ภาษาจีน|จีน]]: 景洪; พินอิน: Jǐnghóng;) หรือ จิ่งหง เจียงฮุ่ง เจงฮุ่ง คือเมืองเอกในเขตปกครองพิเศษไท-[[สิบสองปันนา]] [[มณฑลยูนนาน]] [[ประเทศจีน]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:58, 24 มกราคม 2555

แผนที่เชียงรุ้ง
แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ้ง - maps.google

เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง (จีน: 景洪; พินอิน: Jǐnghóng;) หรือ จิ่งหง เจียงฮุ่ง เจงฮุ่ง คือเมืองเอกในเขตปกครองพิเศษไท-สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

ที่ตั้ง

มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และ ตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศลาว

ประชากร และ ขนาด

ประชากร: 363,110 คน (ประชากรในเมือง: 94,162 คน) ขนาด: 7'003 km²

ภูมิศาสตร์

เมืองเชียงรุ่งติดกับเทือกเขาเหิงต้วน และ แม่น้ำโขง สภาพอากาศนั้น ตอนบนเป็นเขตอบอุ่น และ ตอนล่างเป็นเขตอุ่นชื้น มีความชื้นมากในฤดูมรสุม และแห้งมากในฤดูหนาว ชั่วโมงแดดต่อปีก็คือ 1800-2300 ชั่งโมง อุณหภูมิเฉลี่ย 18.6°C -21.9°C และ ปริมาณฝน 1200-1700 mm.

ประชากร

เมืองเชียงรุ่งนั้น มีประชากรเป็นชาวไทลื้อเป็นหลัก โดยประชากรชนเผ่าต่างๆรวมชาวฮั่นและไม่ใช่ชาวไทเมื่อปี พ.ศ. 2545 ก็คือ 249,721 คน หรือ ประมาณร้อยละ 67.27 ของทั้งหมด ส่วนชาวไทนั้นมีร้อยละ 35 ของทั้งหมด มีชาวฮั่น 121,511 คน และ ร้อยละ 32.73 ของทั้งหมด

การคมนาคม

  • พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เปิดถนนเชื่อมระหว่างคุนหมิง - เชียงรุ่ง
  • พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) เปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขง
  • พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เปิดทำการสนามบินสิบสองปันนา ใช้เวลาเพียง 45 นาทีในการเดินทางระหว่างคุนหมิงกับเชียงรุ่ง

ชื่อที่มาของเมืองเชียงรุ่ง

ชื่อที่มานั้น มีตำนาน "พะเจ่าเหลบโหลก" อยู่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำของ(ภาษาลื้อเรียกน้ำของ ภาษาจีนเรียก หลานชาง คำว่าน้ำโขงจึงไม่มีในภาษาลื้อ) ของอาณาจักรชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า "เชียง" ที่แปลว่า "เมือง" และ "รุ่ง" ที่แปลว่า "รุ่งอรุณ" ว่า "เชียงรุ่ง" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส

เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง หากเทียบภาษา และสำเนียงไทลื้อแล้ว จะออกเสียงว่า เจงฮุ่ง ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งรุ่งอรุณ คำว่า "เชียงรุ้ง" นั้นไม่ถูกต้องเพราะเมื่อเทียบภาษาของชาวไทลื้อ เมื่อเทียบสำเนียงภาษาลื้อแล้ว จะได้ความหมายดังนี้

  • ฮุง แปลว่า ตะไคร่น้ำ (หากฮุง)มีลักษณะสีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นตาน้ำ หรือบ่อน้ำตามริมห้วย
  • ฮุ่ง แปลว่า เวลารุ่งเช้า (ยามค่ำคืนฮุ่ง) (น.)ต้นละหุ่ง ผลของลูกละหุ่ง หรือ
  • ฮุ้ง แปลว่า นกชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเดียวกับเหยี่ยว (ส่วนรุ้ง หรือ สายรุ้ง ที่เกิดบนฟ้านั้นชาวลื้อเรียกว่าแมงอี่ฮุม)
  • ภาษาลื้อไม่มีคำว่ารุ้ง การเรียกชื่อเมืองเชียงรุ้ง นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะภาษาลื้อ ออกเสียงว่า เจงฮุ่ง (เดิม อาจออกเสียงว่า เจียงฮุ่ง แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) อาจได้รับอิทธิพลจากการออกเสียงในภาษาจีนกลาง) เมื่อเทียบกับภาษาเขียนแล้วเชียงรุ่งในอักษรลื้อ ใช้ตัว ร แต่อ่านออกเสียงตัว ฮ ซึ่งการเรียกชื่อเมืองเชียงรุ่งในศัพท์ภาษาไทยนั้นถูกต้องที่สุด