ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิ่นจีน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: eu:Manis pentadactyla
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
[[en:Chinese Pangolin]]
[[en:Chinese Pangolin]]
[[et:Pangoliin]]
[[et:Pangoliin]]
[[eu:Manis pentadactyla]]
[[fr:Pangolin à courte queue]]
[[fr:Pangolin à courte queue]]
[[it:Manis pentadactyla]]
[[it:Manis pentadactyla]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:20, 8 มกราคม 2555

ลิ่นจีน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Pholidota
วงศ์: Manidae
สกุล: Manis
สปีชีส์: M.  pentadactyla
สปีชีส์ย่อย:
ชื่อทวินาม
Manis pentadactyla
(Linnaeus, 1758)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ลิ่นจีน (อังกฤษ: Chinese pangolin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Manis pentadactyla) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกลิ่น

รูปร่างลักษณะ

มีรูปร่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเหี้ยหรือจระเข้ ผิวหนังปกคลุมด้วยเกล็ดแข็งคล้ายสวมชุดเกราะ เล็บยาว เท้ามีรอยย่น ใต้ฝ่าเท้าไม่มีอุ้งเท้าหนา มีรูปร่างคล้ายลิ่นซุนดา (M. javanicus) แต่ว่าลิ่นจีนมีลำตัวบางและเล็กกว่าลิ่นซุนดา โดยหางของลิ่นจีนมีเกล็ดปกคลุมเพียง 14-17 เกล็ดเท่านั้น ในขณะที่ลิ่นซุนดามีเกล็ดปกคลุมมากถึง 30 เกล็ด และลิ่นจีนมีสีลำตัวที่เข้มกว่า

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 440-480 เซนติเมตร ความยาวหาง 160-330 เซนติเมตร มีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[1]

การกระจายพันธุ์

มีการกระจายพันธุ์ในเกาะไต้หวัน, ฮ่องกง, ตอนใต้ของจีน, เกาะไหหลำ, รัฐอัสสัม, รัฐสิกขิม, เนปาล, ภูฐาน, บังกลาเทศ, พม่า, เวียดนาม, ลาว และในประเทศไทยเคยมีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2483 โดย Allen และ Coolidge แม้แต่ในปัจจุบัน ก็ถือเป็นสัตว์ที่หายากมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย[2]

นิเวศน์วิทยาและพฤติกรรม

หากินตามลำพัง มีสายตาไม่ดี กินบนพื้นดินเป็นหลัก เนื่องจากหางไม่แข็งแรงพอที่จะเกาะเกี่ยวบนต้นไม้ได้เหมือนลิ่นชนิดอื่น กินปลวกและมดเป็นอาหารหลัก โดยใช้เล็บที่แหลมคมตะกุยรังมดหรือปลวกตกใจหนีออกมาจากรัง จากนั้นจึงใช้ลิ้นที่ยาวและมีน้ำลายที่เหนียวเนอะตวัดเข้าปากกินเป็นอาหาร ออกมากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนหลับพักผ่อน โดยจะขุดหลุมลึกประมาณ 3-4 เมตร เพื่อสร้างที่หลับนอน ออกลูกในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน ลูกลิ่นจีนจะลืมตาเมื่ออายุได้ 9-10 วัน เมื่อแรกเกิดเกล็ดตามลำตัวจะมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีน้ำหนักตัวประมาณ 200 กรัม และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 กิโลกรัม ในเวลา 150 วัน

มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[3]

อ้างอิง