ข้ามไปเนื้อหา

การหลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นอน)
เด็กกำลังหลับ

การหลับ เป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด

ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง[1] มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน[2][3] แต่แท้จริงกลับลดเมแทบอลิซึมเพียง 5-10%[2][3] สัตว์ที่จำศีลต้องการหลับ แม้ว่าภาวะเมแทบอลิซึมต่ำจะพบได้ในการจำศีล และต้องเปลี่ยนกลับจากภาวะตัวเย็นเกินมาเป็นอุณหภูมิปกติของร่างกายก่อนจึงจะหลับได้ ทำให้การหลับ "มีราคาทางพลังงานสูง"[4]

แต่ละช่วงอายุต้องการการหลับต่อวันไม่เท่ากัน เด็กต้องการหลับมากกว่าเพื่อให้ร่างกายพัฒนาและทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ทารกเกิดใหม่ต้องการหลับถึง 18 ชั่วโมง และมีอัตราลดลงในวัยเด็ก

อายุหรือสภาวะ ความต้องการการหลับ
ทารกเกิดใหม่ (0-2 เดือน) 12-18 ชั่วโมง[5]
ทารก (3–11 เดือน) 14-15 ชั่วโมง[5]
เด็กวัยหัดเดิน (1–3 ขวบ) 12-14 ชั่วโมง[5]
เด็กก่อนวัยเรียน (3–5 ขวบ) 11-13 ชั่วโมง[5]
เด็กวัยเรียน (5–10 ปี) 10-11 ชั่วโมง[5]
วัยรุ่น (10-17 ปี) 8.5-9.25 ชั่วโมง[5][6]
ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ 7-9 ชั่วโมง[5]
สตรีมีครรภ์ 8 ชั่วโมงขึ้นไป

ขณะหลับ มนุษย์มีการฝัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ของการสัมผัสทางการมองเห็นและเสียง ในลำดับที่ผู้ฝันโดยปกติรับรู้ในฐานะผู้มีส่วนร่วมชัดเจนมากกว่าผู้สังเกต ฝันถูกกระตุ้นโดยพอนส์และส่วนมากเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM

การอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ ที่เรียกว่า "หนี้การหลับ" (sleep debt) นั้น จะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลง

ความผิดปกติของการหลับมีหลายอย่าง เช่น การนอนไม่หลับ (insomnia), ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจของผู้ป่วยหย่อนขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจล้มเหลวและขวางการรับออกซิเจน และผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาจากภาวะหลับลึกเพื่อหายใจ และภาวะง่วงเกิน (narcolepsy) ที่ผู้ป่วยจะหลับอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bingham R, Terrence S, Siegel J, Dyken ME, Czeisler C (February 2007). "Waking Up To Sleep" (Several conference videos). The Science Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2008.
  2. 2.0 2.1 "Sleep Syllabus. B. The Phylogeny of Sleep". Sleep Research Society, Education Committee. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
  3. 3.0 3.1 "Function of Sleep.". Scribd.com. Retrieved on 2011-12-01.
  4. Daan S, Barnes BM, Strijkstra AM (1991). "Warming up for sleep? Ground squirrels sleep during arousals from hibernation". Neurosci. Lett. 128 (2): 265–8. doi:10.1016/0304-3940(91)90276-Y. PMID 1945046.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "How Much Sleep Do We Really Need?". National Sleep Foundation. n.d. สืบค้นเมื่อ 2012-04-16.
  6. "Backgrounder: Later School Start Times". National Sleep Foundation. n.d. สืบค้นเมื่อ 2009-10-02. Teens are among those least likely to get enough sleep; while they need on average 91/4 hours of sleep per night...

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]