ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผานกู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
==ดูเพิ่ม==
==ดูเพิ่ม==
*[[ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน]]
*[[ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน]]
{{commons|Category:Pangu}}


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:28, 26 พฤษภาคม 2554

ภาพวาดผานกู่

ตามเทพปกรณัมจีน ผานกู่ (อังกฤษ: Pangu; จีนตัวย่อ: 盘古; จีนตัวเต็ม: 盤古; พินอิน: Pángǔ) คือสิ่งมีชีวิตชนิดแรกสุดของโลก เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง

ตำนานผานกู่

เมื่อแรกเริ่มไม่มีสิ่งใดในจักรวาลเลยนอกจากความสับสนวุ่นวาย ต่อมาความวุ่นวายนั้นรวมตัวกันเข้าเป็นไข่จักรวาลใบหนึ่งเป็นเวลา 18,000 ปี ภายในนั้นคือหยินและหยางที่สมบูรณ์แบบและสมดุล ผานกู่ถือกำเนิดในไข่ใบนั้น คำพรรณนาถึงผานกู่มักว่าเขาเป็นยักษ์มีขนดก มีเขาอยู่บนศีรษะ ร่างคลุมไปด้วยขน ผานกู่เริ่มต้นสร้างโลกโดยแยกหยินและหยางออกโดยการจามด้วยขวานยักษ์ของเขา หยินกลายเป็นโลก และหยางกลายเป็นท้องฟ้า เพื่อให้ทั้งสองแยกกันตลอดไป ผานกู่จึงยืนขวางระหว่างทั้งสองส่วนไว้แล้วดันท้องฟ้าขึ้นไป ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 18,000 ปี แต่ละวันท้องฟ้าสูงขึ้น 10 เชียะ (3 เมตร) และโลกก็กว้างขึ้น 10 เชียะ ผานกู่ก็สูงขึ้น 10 เชียะ เรื่องเล่าบางแห่งบอกว่าในระหว่างการสร้่างโลกนี้มีสัตว์ใหญ่ 4 ชนิดมาช่วย คือ เต่า, กิเลน, หงส์ และมังกร

หลังสิ้นสุด 18,000 ปี ผานกู่นอนลงพักผ่อน ลมหายใจของเขากลายเป็นสายลม เสียงของเขาเป็นสายฟ้า ตาซ้ายเป็นดวงอาทิตย์ ตาขวาเป็นดวงจันทร์ ร่างกายของเขากลายเป็นเทือกเขาและที่ราบสูงส่วนใหญ่ของโลก เลือดของเขากลายเป็นแม่น้ำ กล้ามเนื้อเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ หนวดเคราเป็นดวงดาวและทางช้างเผือก ขนเป็นพุ่มไม้และป่าไม้ กระดูกเป็นแร่ธาตุมีค่า ไขกระดูกเป็นเพชร เหงื่อของเขาเป็นฝน และเหลือบไรบนขนตามร่างกายกายไปเป็นปลาและสัตว์ต่างๆ บนแผ่นดิน เทพธิดาหนี่ว์วาเอาดินโคลนมาปั้นเป็นรูปมนุษย์ มนุษย์เหล่านี้ฉลาดหลักแหลมเพราะถูกประดิษฐ์ขึ้นทีละคน แต่ต่อมาหนี่ว์วาเหน็ดเหนื่อยในการสร้างทีละคน นางจึงเอาเชือกมาจุ่มน้ำโคลนและสะบัดออกไป โคลนเหล่านี้กลายเป็นมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกลุ่มแรก [1]

นักเขียนคนแรกที่บันทึกปกรณัมผานกู่คือ สวีเจิ่ง (徐整) ในระหว่างยุคสามก๊ก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. หนังสือ สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง แปลและเรียบเรียงโดย แสงจินดา กันยาทิพย์, (พ.ศ. 2541) สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ISBN 974-604-217-3