ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลาจีด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: vi:Heteropneustes
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
[[pl:Heteropneustidae]]
[[pl:Heteropneustidae]]
[[pt:Heteropneustes]]
[[pt:Heteropneustes]]
[[vi:Heteropneustes]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:00, 28 มีนาคม 2554

ปลาจีด
ภาพวาดของปลาจีดสายพันธุ์ Heteropneustes fossilis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Clariidae
วงศ์ย่อย: Heteropneustidae
สกุล: Heteropneustes
Müller, 1840
ชนิดต้นแบบ
Silurus fossilis
Bloch, 1794
สายพันธุ์
ชื่อพ้อง

ปลาจีด (อังกฤษ: Stringer Catfish, Heteropneustid Catfish) เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง มีสกุลว่า Heteropneustes พบทั้งหมด 2 ชนิด คือ H. fossilis และ H. kemratensis ในวงศ์ Heteropneustidae ในวงศ์ใหญ่ Clariidae

มีรูปร่างคล้ายปลาดุกทั่วไป แต่มีลำตัวยาวเรียวและแบนข้างกว่ามาก ส่วนหัวแบนลาดลงข้างล่าง ปากเล็ก ตาเล็ก มีหนวดค่อนข้างยาว 4 คู่รอบปาก ครีบหลังมีขนาดเล็ก อยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบหูมีก้านครีบที่เป็นหนามแหลมหนึ่งอัน มีพิษแรงกว่าปลาดุกมาก ครีบก้นเป็นแผง ครีบหางกลมมน ไม่มีครีบไขมัน ครีบก้นเล็ก ตัวมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำตาลอมแดง ในสายพันธุ์ H. fossilis มีแถบสีขาวจางบนข้างลำตัวข้างละ 1 - 2 แถบตามความยาวลำตัว ส่วนในสายพันธุ์ H. kemratesis สีลำตัวจะอ่อนจางกว่า ด้านท้องสีจาง หนวดสีคล้ำ เพศผู้มีลำตัวยาวเรียว เพศเมียป้อม ขนาดโตเต็มที่ได้ราว 1 ฟุต

นอกจากนี้แล้วปลาจีดยังมีอวัยวะช่วยหายใจที่แตกต่างไปจากปลาในวงศ์ Clariidae ชนิดและสกุลอื่น คือ มีท่อยื่นยาวจากช่องเหงือกไปทางด้านท้ายของลำตัว 1 คู่ ซึ่งทำให้ได้รับชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอีกชื่อหนึ่งว่า "Airsac Catfish"[1]

ปลาจีดพบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย รวมทั้งพบในประเทศใกล้เคียง ตั้งแต่ อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, พม่า จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย สำหรับในประเทศไทย ใกล้สูญพันธุ์แล้วในภาคกลาง แต่ในภาคใต้ยังพบมากอยู่ และมีการนิยมเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจด้วยการผสมเทียมในบ่อเลี้ยง

โดยมีชื่อท้องถิ่นในภาษาใต้เรียกว่า "ปลาเมง"

ปลาจีดจะแพร่พันธุ์วางไข่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยแม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว 70-100 กรัม สามารถวางไข่ได้ประมาณ 2,500-4,000 ฟอง โดยไข่มีลักษณะเป็นไข่จมน้ำและมีสภาพเกาะตัวติดกัน

อนึ่ง ยังมีปลาจีดที่พบในประเทศใกล้เคียงกับไทยอีก 2 สายพันธุ์ คือ H. microps และ H. longipectoralis แต่ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ อาจเป็นไปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ซ้ำซ้อนกับสายพันธุ์ที่รู้จัก 2 สายพันธุ์แรก

นอกจากนี้แล้ว ปลาจีดยังถูกนิยมรวบรวมปลาวัยอ่อนที่พบในธรรมชาติ เลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

อ้างอิง

  1. หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026