ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวนอิม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
Jessica cando (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]
* [[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]
[http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87?pop=0/ ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] เจ้าแม่กวนอิมนั่งชันเข่า
[http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87?pop=0 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] เจ้าแม่กวนอิมพันกร
[http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87?pop=0 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] เจ้าแม่กวนอิมพันกรยืนมังกร
[http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87?pop=0 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] เจ้าแม่กวนอิมยืนมังกร



{{เรียงลำดับ|กวนอิม}}
{{เรียงลำดับ|กวนอิม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:23, 1 มิถุนายน 2553

พระรูปโพธิสัตว์กวนอิมบนเขาภูตั๋ว
Names
อักษรจีนตัวย่อ: 观音, 观世音
อักษรจีนตัวเต็ม: 觀音, 觀世音
พินอิน: Guān Yīn, Guān Shì Yīn
Wade-Giles: Kuan Yin, Kuan Shih Yin
สำเนียงแต้จิ๋ว: Kwun Yum, Koon Yam
สำเนียงแคะ: Kwan Yim
สำเนียงไต้หวัน: Koan-im, Koan-sè-im
ภาษาญี่ปุ่น | คันจิ: 観音, 観世音
โรมะจิ: Kannon, Kanzeon
ภาษาเกาหลี | อักษรฮันกุล: 관음, 관세음
เกาหลี: Gwan-eum, Gwan-se-eum
ภาษาเวียดนาม: Quan Âm, Quan Thế Âm
(ดูเพิ่ม พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์)

เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

พระโพธิสัตว์กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน

พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด

ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้

พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก

ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก

ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน

ดูเพิ่ม

ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์ เจ้าแม่กวนอิมนั่งชันเข่า ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์ เจ้าแม่กวนอิมพันกร ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์ เจ้าแม่กวนอิมพันกรยืนมังกร ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์ เจ้าแม่กวนอิมยืนมังกร