ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุขาวดี (นิกาย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
* ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545
* ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
* [http://http://www.mahaparamita.com/PDF/01/001.pdf/ มหาสุขาวตีวยูหสูตร ,มหาปารมิตาดอทคอม]

* [http://www.jodo.org/ Jōdo Shū Buddhism official website]
* [http://www.jodo.org/ Jōdo Shū Buddhism official website]
* [http://www2.hongwanji.or.jp/english/ Jōdo Shinshū Official Site]
* [http://www2.hongwanji.or.jp/english/ Jōdo Shinshū Official Site]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 17 ธันวาคม 2551

พระอมิตาภะพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวร (ขวา) และพระมหาสถามปราบต์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับ Meinong, มณฑล Kaohsiung, ไต้หวัน

นิกายสุขาวดี (จีนตัวย่อ: 净土宗; จีนตัวเต็ม: 淨土宗; พินอิน: Jìngtǔzōng; ญี่ปุ่น: 浄土教, Jōdokyō; เกาหลี: 정토종, jeongtojong; เวียดนาม: Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ ตั้งขึ้นโดยพระฮุ่นเจียงเมื่อพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภะพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายจิ้งถู่

คัมภีร์

คัมภีร์ที่สำคัญมี 4 เล่มคือ มหาสุขาวดีวยูหสูตร แปลเป็นภาษาจีนเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 7 อมิตายุรธยานสูตร จุลสุขาวดีวยูหสูตร และอมิตายุอุปเทศสูตร นอกจากนั้นยังมีคัมภีร์ของนิกายนี้ที่แต่งเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่น

หลักธรรม

นิกายนี้ถือว่าการพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วย นิกายนี้จึงเน้นการไปเกิด ณ แดนสุขาวดีของพระอมิตาภะซึ่งเชื่อว่าเมื่อไปเกิดแล้วจะไตกต่ำมาสู่อบายภูมิอีก โดยผู้จะไปเกิดต้องมีคุณธรรมสามประการคือ กตัญญูกตเวที ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จิตมั่นคงต่อโพธิญาณ นอกเหนือจากนี้ต้องสวดมนต์ระลึกถึงพระอมิตาภะตั้งปณิธานไปเกิดในสุขาวดีจึงจะได้ไปเกิดสมปรารถนา

ชั้นของสุขาวดี

ดินแดนสุขาวดีหรือพุทธเกษตรของพระอมิตาภะตามที่กล่าวไว้ในอมิตายุรธยานสูตรมี 9 ชั้นคือ

  1. สำหรับผู้มีเมตตากรุณา มีศีลสมบูรณ์ มีจิตเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
  2. สำหรับผู้มีความรู้แตกฉานในธรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เชื่อในกฏแห่งกรรม เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัวไม่ทันข้ามวัน ดอกบัวจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 7 วัน
  3. สำหรับผู้เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัว 7 วันจึงจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 37 วัน
  4. สำหรับผู้รักษาศีลอุโบสถสมบูรณ์ ดอกบัวที่ผู้นั้นไปเกิดจะค่อยๆบาน เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้เป็นพระอรหันต์
  5. สำหรับผู้ถือศีลอุโบสถเพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง หรือสมาทานศีลภิกษุหรือศีลสามเณรไม่บกพร่อง เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวอยู่ 7 วัน ดอกบัวจึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจะได้เป็นพระโสดาบัน อีกครึ่งกัลป์จะได้เป็นพระอรหันต์
  6. สำหรับผู้เลี้ยงดูบิดามารดา มีมนุษยธรรม เมื่อใกล้ตายได้ฟังเรื่องของสุขาวดีและมีจิตเลื่อมใส เมื่อตายจะไปเกิดในสุขาวดี และฟังธรรมเรื่องไปหนึ่งกัลป์จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
  7. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรม แต่ได้ฟังเสียงสวดพระธรรม หรือมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 77 วัน จึงจะบาน หลังจากนั้นต้องฟังธรรมนานถึง 10 กัลป์ จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
  8. สำหรับผู้ทุศีล มีทุคติเป็นที่หมาย แต่เมื่อใกล้ตายมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 6 กัลป์ จึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจึงเริ่มตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ
  9. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรมไว้มาก มีอบายภูมิเป็นที่หมาย แต่มีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ แล้วทำตามอยู่ชั่ว 10 ขณะจิต เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนานถึง 12 กัลป์จึงจะบาน เมื่อได้ฟังธรรมจึงตั้งจิตถึงพุทธภูมิ

สุขาวดีในญี่ปุ่น: นิกายโจโด

ก่อตั้งโดยโฮเนน เน้นให้ระลึกถึงอมิดาหรือพระอมิตาภะ เพื่อไปเกิดในเนมบุตซู (พุทธเกษตร) ภายหลังชินราน ลูกศิษย์ของโฮเนนได้ตั้งนิกายโจโด ซินชู (สุขาวดีที่แท้) ซึ่งถือว่าในพุทธเกษตรนั้นไม่มีการแบ่งแยกระหว่างคนดีและคนชั่ว สมาชิกของนิกายนี้ไม่จำเป็นต้องถือวินัยเป็นพิเศษ ชินรานแต่งงานและทำให้เกิดระบบการสืบสกุลของพระในญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปยังนิกายอื่นด้วย

อ้างอิง

  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
  • ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545

แหล่งข้อมูลอื่น