ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไข้หวัดใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ln:Gilípi
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
=== การรักษาตามอาการ และการประคับประคอง ===
=== การรักษาตามอาการ และการประคับประคอง ===
* ลดไข้ด้วยยาลดไข้ เช่น [[paracetamol]] ไม่ควรให้ [[aspirin]] ในคนที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิด [[Reye syndrome]] ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าไอมากอาจจะซื้อ[[ยาแก้ไอ]]รับประทาน
* ลดไข้ด้วยยาลดไข้ เช่น [[paracetamol]] ไม่ควรให้ [[aspirin]] ในคนที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิด [[Reye syndrome]] ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าไอมากอาจจะซื้อ[[ยาแก้ไอ]]รับประทาน
* สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจใช้น้ำ 1 แก้วผสมกับเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ แต่ห้ามดื่ม
* สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจใช้น้ำ 1 แก้วผสมกับเกลือ 1 ช้อนกลั่วคอ แต่ห้ามดื่ม
* สำหรับท่านที่มีอาการคัดจมูกอาจจะใช้ไอน้ำช่วยวิธีง่าย ๆ คือ ต้มน้ำร้อนแล้ให้นั่งหน้ากาน้ำเอาผ้าคลุมศีรษะและสูดดมไอน้ำ อาจจะใส่ [[vick]] หรือ[[ขิง]]ลงไปเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
* สำหรับท่านที่มีอาการคัดจมูกอาจจะใช้ไอน้ำช่วยวิธีง่าย ๆ คือ ต้มน้ำร้อนแล้ให้นั่งหน้ากาน้ำเอาผ้าคลุมศีรษะและสูดดมไอน้ำ อาจจะใส่ [[vick]] หรือ[[ขิง]]ลงไปเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
* อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะจะทำให้เชื้อลุกลาม
* อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะจะทำให้เชื้อลุกลาม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:14, 3 กันยายน 2551

ไข้หวัดใหญ่
(Influenza)
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดแสดงไวรัสไข้หวัดใหญ่ กำลังขยายประมาณ 100,000 เท่า
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10J10, J11
ICD-9487
DiseasesDB6791
MedlinePlus000080
eMedicinemed/1170 ped/3006
MeSHD007251

โรคไข้หวัดใหญ่ ( Influenza / Flu ) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาด พบเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็อาจพบการผิดพลาดได้

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสมีชื่อว่า ไวรัสอินฟลูเอนซา ( Influenza virus ) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสถูกมือของเครื่องใช้เปื้อนเชื้อโรค ระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ,บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธ์ย่อยๆ ไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากพันธุ์ย่อยๆ เพียงพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อพันธุ์นั้น เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อของประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร?

ไข้หวัดใหญ่พบมากทุกอายุ โดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการตายมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอดโรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ป้องกันได้ผลมากที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน และลดการหยุดงาน ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลมีไข้ไม่สูง สำหรับไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อจากไวรัส ที่เรียกว่า "Influenza virus" เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจจะลามลงไปปอด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเร็ว ไข้สูงกว่าไข้หวัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างฉับพลัน

ในปี ค.ศ. 2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้

  1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือ เดือนตุลาคม และ พฤศจิกายน (เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
  2. เ ด็กที่อายุ 6-23 เดือน ควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
  3. ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2) -like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1) -like, และ B/Hong Kong/330/2001
  4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท

อาการ

มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง แต่บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง อาการไอและอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่นๆ จะหายลงแล้ว บางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการเวียนศีรษะเมารถเมาเรือเนื่องจากการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเอง ใน 3-5 วัน

  1. ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1-4วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างฉับพลัน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปวดตามแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบตา
  • ไข้สูง 39-40 ํc
  • เจ็บคอ และ คอแดง มีน้ำมูกใสไหล
  • ไอแห้ง ๆ
  • ตามตัวจะร้อน แดง ตาแดง
  • อาการอาเจียน หรือท้องเดิน ไข้เป็น 2-4 วันแล้วค่อย ๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูก และแสบคอยังคงอยู่โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์
  1. สำหรับรายที่เป็นรุนแรงมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นด้วย เช่น

สิ่งตรวจพบ

ไข้ 38.5-40 องศาเซลเซียส หน้าแดง เปลือกตาแดงอาจมีน้ำมูกใสๆ คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลยก็ได้ ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่นๆ

อาการแทรกซ้อน

ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะที่สำคัญคือปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดกับจากแบคทีเรียพวก นิวโมค็อกคัส หรือสเตฟฟิโลค็อกคัส ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรีจัด หรือผู้ป่วยที่มีโรเรื้อรังทางปอดหรือหัวใจ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่จะมีโอกาสแทรกซ้อนถึงตายได้นั้นนับว่าน้อยมาก มักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยเรื้อรัง

การติดต่อ

เชื้อนี้จะติดต่อได้ง่าย การติดต่อสามารถติดต่อได้โดย

  1. เชื้อสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจได้รับน้ำมูก หรือ เสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้อจะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูก และปาก
  2. การที่คนได้สัมผัสสิ่งที่ปนเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ การจูบ
  3. การที่มือไปสัมผัสเชื้อแล้วขยี้ตา หรือ เอาเข้าปาก

ระยะติดต่อ

ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ, 5 วันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลักโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของเชื้อ การวินิจฉัยที่แน่นอนอาจจะทำได้ 2 วิธีคือ

  • นำไม้พันสำลีแหย่ที่คอ หรือจมูก แล้วนำไปเพาะเชื้อ
  • เจาะเลือด
    • ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโดยต้องเจาะ 2 ครั้งห่างกัน 2 ชั่วโมงแล้วเปรียบการเพิ่มของภูมิต่อเชื้อ
    • การตรวจหา Antigen
    • การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent

โรคแทรกซ้อน

ติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจะทำให้ปอดบวม ฝีในปอด หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด นอกจากนี้ ไข้หวัดใหญ่ในหญิงมีครรภ์ ยังผลต่อมารดามักเป็นชนิดรุนแรงและมีอาการมาก ผลต่อเด็กอาจจะทำให้แท้ง

การรักษา

ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนท่านผู้อ่านสามารถดูแลตัวเองที่บ้าน

  • ให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ท่านขาดเกลือแร่ได้ หรืออาจจะเตรียมโดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือ และน้ำตาลก็ได้
  1. ให้การดูแลปฏิบัตตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำและนหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้ยาแก้ปวดParacetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน
  2. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบททีเรีย เช่น น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี ขนาดผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 4 แสนยูนิต ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ในเด็กให้ครั้งละ 50,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หรืออิริโทรไมซิน ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ในเด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
  3. ถ้ามีอาการหอบหรือสงสังปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ข้อแนะนำ

  1. โรคนี้ไม่ถือว่าเป็นโรคร้ายแรง ส่วนมาให้การดูแลตามอาการก็จะได้เองภายใน 3-5 วัน ถ้ามีไข้เกิน7 วัน ควรสงสัยไข้อื่นๆ นอนจากไข้หวัด ควรพบแพทย์เพื่อดูแลรักษาต่อไป

การป้องกัน

ปฏิบัติตัวเหมือนโรคหวัด

การรักษาตามอาการ และการประคับประคอง

  • ลดไข้ด้วยยาลดไข้ เช่น paracetamol ไม่ควรให้ aspirin ในคนที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิด Reye syndrome ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าไอมากอาจจะซื้อยาแก้ไอรับประทาน
  • สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจใช้น้ำ 1 แก้วผสมกับเกลือ 1 ช้อนกลั่วคอ แต่ห้ามดื่ม
  • สำหรับท่านที่มีอาการคัดจมูกอาจจะใช้ไอน้ำช่วยวิธีง่าย ๆ คือ ต้มน้ำร้อนแล้ให้นั่งหน้ากาน้ำเอาผ้าคลุมศีรษะและสูดดมไอน้ำ อาจจะใส่ vick หรือขิงลงไปเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
  • อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะจะทำให้เชื้อลุกลาม
  • ให้ล้างมือบ่อย ๆ เมื่อออกนอกบ้าน ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ ลูกบิดประตู เป็นต้น
  • สวมผ้าปิดจมูก ป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น และช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เพราะ ระหว่างเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีภูมิต้านทานต่ำ
  • ไม่อยู่ใกล้ เด็ก หรือ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
  • ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงจากที่สาธารณะ

ผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อไร

ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้และท่านสามารถดูแลตัวเองที่บ้าน แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่าน

ผู้ป่วยเด็ก

ในเด็กควรจะปรึกษาแพทย์เมื่อ

  • ไข้สูง และเป็นนาน
  • ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5ํ c
  • หายใจหอบ หรือหายใจลำบาก
  • มีอาการมากกว่า 7 วัน
  • ผิวสีม่วง
  • เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
  • เด็กซึมลง ไม่เล่น
  • เด็กไข้ลดลง แต่หายใจหอบ

ผู้ป่วยผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่

  • ไข้สูง และเป็นมานาน
  • หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • หน้ามืดเป็นลม
  • สับสน
  • อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้

ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรพบแพทย์ทันทีที่เป็นไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

ผู้ป่วยไขหวัดใหญ่ที่มีอาการต่อไปนี้ต้องเข้าโรงพยาบาล

  • มีอาการขาดน้ำ ไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
  • ไอ แล้วเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจลำบาก หายใจหอบ
  • สีริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีเขียว
  • ไข้สูงมากผู้ป่วยเพ้อ
  • มีอาการไข้ และไอหลังจากที่อาการไข้หวัดใหญ่หายไปแล้ว

การรักษาในโรงพยาบาล

  • ผู้ป่วยที่ขาดน้ำแพทย์จะให้น้ำเกลือ
  • ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับยา amantadine และ rimantadine เพื่อให้หายเร็ว และลดความรุนแรงของโรคยานี้ควรให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลัง* จากเริ่มมีอาการและให้ต่อ 5-7 วัน ยานี้ไม่ช่วยลดโรคแทรกซ้อน
  • ถ้ามีอาการคัดจมูกแพทย์จะให้ยาลดน้ำมูก
  • ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนก็ไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วัน ไข้จะหายใน 7 วัน อาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้นาน1-2 สัปดาห์

การป้องกัน

  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
  • อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วย
  • ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
  • สวมผ้าปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม

วัคซีนป้องกัน

การป้องกันที่ดี คือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดที่แขนปีละครั้ง หลังฉีด 2สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจึงจะสูงพอป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะเลือกผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน คือ

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่อาศัยในบ้านพักคนชรา
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • สมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคเรื้อรัง
  • นักเรียนที่อยู่รวมกัน
  • ผู้ที่จะไปเที่ยวยังแหล่งระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่ต้องการลดอัตราการติดเชื้อ

การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา

การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค

จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด

เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษา ได้แก่

  • คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
  • เด็กอายุ 6-23 เดือน
  • คนท้อง
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ

การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่

ยาที่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ อะแมนตาดีน ไรแมนตาดีน และ โอเซลทามิเวียร์ วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุ ดคือ การฉีดวัคซีน แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่ดูแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น โรคเอดส์
  • กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และไม่อยากเป็นโรค

อ้างอิง

ตำราตรวจรักษาโรคทั่วไป :นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ


แม่แบบ:Link FA

แม่แบบ:Link FA