ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาจุฬาลงกรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ความหมายอื่น|เพลงพระราชนิพนธ์|สถาบันการศึกษาของพระสงฆ์|มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย}}
{{ความหมายอื่น|เพลงพระราชนิพนธ์|สถาบันการศึกษาของพระสงฆ์|มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย}}
{{วิกิซอร์ซ|มหาจุฬาลงกรณ์}}
{{วิกิซอร์ซ|มหาจุฬาลงกรณ์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:48, 12 มิถุนายน 2551

เมื่อปี พ.ศ. 2492 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงแบบใช้ Pentatonic Scale คือ 5 เสียง ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ก่อนแล้ว พระราชทานแก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้ใส่คำร้องเอง ภายหลังท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา กับนายสุภร ผลชีวิน จึงได้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย

เมื่อต้น พ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นำทำนองเพลง "มหาจุฬาลงกรณ์" ในแนวสากลมา แต่งทำให้เป็นแนวไทยเดิมเพื่อให้เป็นเพลงโหมโรง ก่อนบรรเลงดนตรีไทย นายเทวาประสิทธิ์ รับพระราชทานลงมาทำ และบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำ "เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์" มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม ฯ ตลอดมา

ในปัจจุบัน "เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์" เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่พบไฟล์เสียง "MahaChulalongkorn.ogg"

น้ำใจน้องพี่สีชมพู
ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา
พระคุณของแหล่งเรียนมา
จุฬาลงกรณ์

ขอทูนขอเทิดพระนามไท
พระคุณแนบไว้นิรันดร
ขอองค์พระเอื้ออาทร
หลั่งพรคุ้มครอง

นิสิตพร้อมหน้า
สัญญาประคอง
ความดีทุกอย่างต่างปอง
ผยองพระเกียรติเกริกไกร

ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง
นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
ถาวรยศอยู่คู่ไทย
เชิดชัย ชโย

มีเดีย

แหล่งข้อมูลอื่น