พลับแห้ง
พลับแห้ง | |
ประเภท | ผลไม้แห้ง |
---|---|
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออก |
ส่วนผสมหลัก | พลับจีน |
พลับแห้ง เป็นขนมผลไม้อบแห้งแบบดั้งเดิมรูปแบบหนึ่งของเอเชียตะวันออก[1] ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อปิ่ง (จีน: 柿餅, shìbǐng), โฮชิงากิ (ญี่ปุ่น: 干し柿, hoshigaki), คดกัม (곶감, gotgam) และ ห่งโค (เวียดนาม: hồng khô) ตามธรรมเนียมแล้วนิยมทำในระหว่างฤดูหนาว โดยการตากแห้งพลับจีน พลับแห้งยังนำมาใช้ในการผลิตไวน์ ชา[2] ตลอดจนผลไม้อื่น ๆ
การผลิต
[แก้]พลับแห้งทำมาจากพลับจีนสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยปกติแล้วเมื่อพลับสุกจะมีลักษณะเปลือกบาง นุ่ม และมีรสหวาน แต่พลับที่นำมาตากแห้งจะเก็บเกี่ยวก่อนที่จะสุก ทำให้มีลักษณะแน่น มีรสขม และมีขนาดหดเล็ก[3]
ญี่ปุ่น
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น พลับจะนำมาปอกเปลือกแล้วผูกด้วยด้ายแขวนแยกกัน[4] หลังเริ่มแห้ง จะมีการนวดผลพลับ[5] ทั้งหมดนี้ทำให้พลับแห้งของญี่ปุ่นมีรูปและรสสัมผัสที่ต่างจากพลับแห้งของญี่ปุ่นกับเกาหลี[6] อัมโปงากิ (Anpo-gaki) เป็นพลับแห้งรูปแบบหนึ่งที่ทำให้แห้งโดยใช้กำมะถันรมควัน ทำให้ได้เนื้อสัมผัสชุ่มน้ำและนุ่ม[7]
เกาหลี
[แก้]ในเกาหลี พลับจะถูกนำมาปอกเปลือก ทำให้แห้ง และผูกด้วยเชือกฟางจากข้าว แซ็กกี แล้วนำมาตากแห้งในพื้นที่รับแดดและมีลมผ่าน เช่น ชายคาของบ้านเรือน[8][9] เมื่อสีของพลับเป็นสีน้ำตาลและส่วนนอกแข็ง จะนำเมล็ดออก จากนั้นทำการห่อและนำไปกดให้แบน[10] หลังผ่านไปสามสัปดาห์ ที่ซึ่งผลพลับจะมีน้ำหนักเหลือเพียง 75% ของเดิม จะถูกคลุมด้วยฟางจากข้าว และนำไปเก็บรักษาในกล่องในที่เย็นจนกว่ากระบวนการตากแห้งจะเสร็จสิ้น และเกิดน้ำตาลพลับสีขาวเป็นผงเกิดขึ้นคลุมพลับที่แห้งแล้ว[1] พลับแห้งเป็นของขึ้นชื่อประจำเมืองซังจูในจังหวัดคย็องซังเหนือ[11][12]
สารอาหาร
[แก้]พลับแห้งเกาหลี คดกัม มักจะมีความชุ่มชื้นอยู่ที่ 32%, โปรตีน 6.3%, ไขมัน 0.44%, คาร์บ 44.8%, เส้นใย 15% และขี้เถ้า 1.99%[10] และให้พลังงาน (32g/ea) 75.8 กิโลแคลอรี
การนำไปประกอบอาหาร
[แก้]ในอาหารเกาหลี พลับแห้งสามารถนำมาทานเปล่า ๆ หรือใช้ประกอบอาหารอื่นได้ เช่น คดกัมซัม ซึ่งทำโดยการห่อวอลนัตด้วยพลับแห้ง[10] ส่วนพลับแห้งสอดไพน์นัตจะเสิร์ฟคู่กับ ซุกชิลกวา หรือผลไม้แห้ง[10] และยังใช้พลับแห้งเป็นส่วนประกอบหลักของ ซูจ็องกวา (พันช์ซินนามอน)[10]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]ตำนานพื้นถิ่นของเกาหลีเรื่อง "เสือกับพลับแห้ง" เป็นเรื่องราวของเสือที่กลัวพลับแห้ง[13][14]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
โฮชิงากิ เสิร์ฟเป็นขนมในญี่ปุ่น
-
คดกัม เสิร์ฟเป็นขนมในเกาหลี
-
คดกัมซัม ซึ่งมีวอลนัตเป็นไส้
-
คางามิโมจิ เสิร์ฟกับพลับแห้งบนไม้
-
พลับแห้งจีนขายตามท้องถนนในอู๋โจว
-
พลับแห้งในจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Means, Becky (2 August 2010). "Dried Persimmon". Houston Press. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ "수정과". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "gotgam" 곶감. Doopedia (ภาษาเกาหลี). Doosan Corporation. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ Wan Yan Ling. "Grocery Ninja: Dried Persimmons Are a Taste of Honeyed Sunshine". www.seriouseats.com (ภาษาอังกฤษ). Serious Eats. สืบค้นเมื่อ 15 May 2018.
- ↑ "How To Make Hoshigaki (Dried Persimmons)". Root Simple. 13 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 May 2018.
- ↑ Mucci, Kristy (November 15, 2016). "This is the Kobe Beef of Dried Fruit". SAVEUR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
- ↑ "Go Go Tohoku". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
- ↑ Korea Tourism Organization (5 October 2016). "Seasonal foods to eat this fall". Stripes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2017. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ "First lady to treat Trump couple with personally made refreshments". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 이, 효지. "gotgam" 곶감. Encyclopedia of Korean Culture (ภาษาเกาหลี). Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ Chung, Kyung-a (October 2014). "Season of Beauty, Season of Plenty". KOREA. Korean Culture and Information Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ Kim, Sun-mi; Kim, Sarah (20 August 2015). "Taste of a fruit is the only trace of a happy youth". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
- ↑ Wi, Ki-cheol (2004). The Tiger and Dried Persimmon. Kookminbooks. ISBN 8911022241.
- "The Tiger and Dried Persimmon". Korea Literature Translation Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13.
- ↑ "The Tiger and the Persimmon" (PDF). Jordan Schnitzer Museum of Art. University of Oregon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-11-11. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.