เจ้าฟ้าแสนเมือง
เจ้าฟ้าแสนเมือง | |
---|---|
เจ้าฟ้าเชียงแสน | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2198/2199 ไทยสากล - พ.ศ. 2215/2216 ไทยสากล |
รัชสมัย | 18 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | เจ้าฟ้าหมวกคำ |
รัชกาลถัดไป | เจ้าฟ้าอินทร์เมือง |
ประสูติ | ไม่ปรากฏ |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2215/2216 ไทยสากล |
พระราชบุตร | เจ้าฟ้าอินทร์เมือง |
ราชวงศ์ | หลวงทิพเนตร |
พระราชบิดา | เจ้าฟ้าหมวกคำ |
เจ้าฟ้าแสนเมือง[1][2] หรือพระแสนเมือง[3][4] ทรงเป็นเจ้าฟ้าเชียงแสนภายใต้การปกครองของพม่าระหว่างปี พ.ศ. 2198/2199 ไทยสากล[note 1] (จ.ศ. 1017) - พ.ศ. 2215/2216 ไทยสากล (จ.ศ. 1034)
พระราชประวัติ
[แก้]เจ้าฟ้าแสนเมืองขึ้นครองเมืองเชียงแสนหลังจากเจ้าฟ้าหมวกคำผู้เป็นพระราชบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2198/2199 ไทยสากล (จ.ศ. 1017) หลังจากนั้นถูกนำตัวไปกรุงอังวะในปีเดียวกัน เจ้าฟ้าแสนเมืองทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าฟ้าและกลับมายังเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. 2200/2201 ไทยสากล (จ.ศ. 1019)
ในปี พ.ศ. 2204 ไทยสากล สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ รวมถึงเมืองเชียงแสนในสงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664)[5] ทำให้ชาวเมืองเชียงแสนต้องอพยพออกจากเมืองไปตั้งเป็นเมืองใหม่ชื่อว่า เวียงเชียงแสนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2205/2206 ไทยสากล (จ.ศ. 1024) จึงกลับเข้าไปอยู่ในเมืองดังเดิม ตั้งแต่นั้นมาเจ้าฟ้าแสนเมืองทรงตัดขาดจากกรุงอังวะ ดังที่ระบุไว้ในพงศาวดารเงินยางเชียงแสนว่า แต่นั้นมาบ่ได้ไปเฝ้ากษัตริย์เจ้าในเมืองอังวะ ก็ขาดจากราชการในอังวะแต่นั้นมา[2]
เจ้าฟ้าแสนเมืองสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2215/2216 ไทยสากล (จ.ศ. 1034) เจ้าฟ้าอินทร์เมืองผู้เป็นพระโอรสได้ครองเมืองเชียงแสนต่อมา
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของเจ้าฟ้าแสนเมือง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. pp. 114, 121–122. ISBN 9742726612.
- ↑ 2.0 2.1 กรมศิลปากร, บ.ก. (19 April 1936), "พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน" [Phongsawadan Mueang Ngoen Yang Chiang Saen], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์อักษรโสภณ, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, p. 81, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
- ↑ ประชากิจกรจักร, พระยา (1973). พงศาวดารโยนก (7th ed.). กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. pp. 408–413. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (22 November 2021). "สงครามขยายอำนาจของสมเด็จพระนารายณ์ ตอนที่ 3 – เชียงใหม่ ล้านนาตอนบน ล้านช้าง". Facebook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-01.^
ก่อนหน้า | เจ้าฟ้าแสนเมือง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าฟ้าหมวกคำ | เจ้าฟ้าเชียงแสน (พ.ศ. 2198/2199 ไทยสากล - พ.ศ. 2215/2216 ไทยสากล) |
เจ้าฟ้าอินทร์เมือง |