พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์

อะฮ์มัด เฟาอัด
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์
สุลต่านและกษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์[1]
ครองราชย์9 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - 28 เมษายน ค.ศ. 1936
รัชสมัย19 พรรษา
รัชกาลก่อนหน้าสุลต่านฮุซัยน์ คามิน
รัชกาลถัดไปพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
ประสูติ26 มีนาคม พ.ศ. 2411
พระราชวังกีซา กรุงไคโร รัฐเคดีฟอียิปต์
สวรรคต28 เมษายน พ.ศ. 2479 (68 ปี)
พระราชวังกุบบา กรุงไคโร ราชอาณาจักรอียิปต์
พระมเหสีเจ้าหญิงชูวาการ์ อิบราฮิม (ค.ศ. 1895-1898)
สมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ (ค.ศ. 1919-1936)
พระราชบุตรเจ้าชายอิสมาอิลแห่งอียิปต์
เจ้าหญิงเฟากียะห์แห่งอียิปต์
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์
เจ้าหญิงไฟซาแห่งอียิปต์
เจ้าหญิงไฟกาแห่งอียิปต์
เจ้าหญิงฟัตฮียะห์แห่งอียิปต์
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์
ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี
พระราชบิดาเคดีฟอิสมาอิล พาชา
พระราชมารดาฟาเรียล คาดีน

พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ (อาหรับ:فؤاد الأول‎) (26 มีนาคม ค.ศ. 1868-28 เมษายน ค.ศ. 1936) สุลต่านและกษัตริย์อียิปต์และซูดาน, องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาของพระองค์ คือ สุลต่านฮุสเซน คามิล โดยพระองค์ตั้งตนเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอียิปต์ หลังจากพ้นจากการปกครองของสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1922

พระราชประวัติ[แก้]

พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1868 ณ พระราชวังกีซา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ในเคดีฟอิสมาอิล พาชากับฟาเรียล คาดิน โดยพระองค์สืบเชื้อสายจากมูฮัมหมัดอาลี พาชา และมีเชื้อสายแอลเบเนีย เมื่อพระองค์ประสูติอียิปต์ยังไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤๅก็เข้ามามีอิทธิพลต่ออียิปต์จนสุลต่านอิสมาอิล พาชา พระบิดาของพระองค์ ได้ส่งพระองค์เข้าไปศึกษายังประเทศอิตาลี ก่อนศึกษาวิชาทหารที่ตูริน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917

ในปี ค.ศ. 1882 ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา อียิปต์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง แต่พระราชบิดาของพระองค์นิยมตะวันตก และสร้างความแตกแยกในประเทศ ข้าราชการและขุนนางแบ่งกันเป็นฝักฝ่าย ซึ่งส่วนใหญล้วนนิยมต่อต้านตะวันตกทั้งสิ้นต่อมาพระบิดาของพระองค์จึงดำเนินนโยบายเพื่อสานผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย[2]

ก่อนที่พระองค์จะได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์ พระได้มีส่วนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยไคโร ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยไคโร ในปี ค.ศ. 1903-1913 โดยนายฮุสเซน รุสดี พาชา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นได้รับช่วงต่อจากพระองค์ แต่พระองค์ไม่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการช่วยเหลือพระราชวงศ์แอลเบเนีย ซึ่งได้รับอิสระจากจักรวรรดิออตโตมันก่อนกำหนด[3] นอกจากนี้พระองค์ยังดำรงตำแหน่งนายกสภาภูมิศาสตร์อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1915-1918[4]

เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระเชษฐาของพระองค์คือสุลต่านฮุสเซน คามิลจึงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยเมื่อพระเชษฐาครองราชย์ได้ระยะเวลาหนึ่งจึงสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งสุลต่านจึงตกมาเป็นของพระองค์ ใน ค.ศ. 1917 โดยหลังจากนั้นไม่นาน สงครามโลกครั้งที่สองจึงได้อุบัติขึ้น ระหว่างสงครามนั้นเอง สุลต่านฟุอาดได้แสดงตัวเป็นฝ่ายอังกฤษอย่างเปิดเผย สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มที่ต่อต้านอังกฤษมาก และหลังจากสงครามจบลง คนกลุ่มนี้จึงก่อความไม่สงบขึ้น สุลต่านฟุอาดจึงพยายามประนีประนีจนเหตุการณ์สงบลง ด้วยความดีความชอบนี้เอง อังกฤษจึงมอบเอกราชให้แก่อียิปต์โดยพระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็น พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ กษัตริย์พระองค์แรกของอียิปต์ หลังจากพ้นจากการปกครองของสหราชอาณาจักร[2] เมื่อ ค.ศ. 1922

อภิเษกสมรส[แก้]

การอภิเษกสมรสครั้งแรก[แก้]

พระองค์อภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงชูวาการ์ อิบราฮิม พระธิดาของจอมพลเจ้าชายอิบราฮิม ฟาห์มี อาห์หมัด พาชา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1895 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ด้วยชีวิตสมรสของพระองค์ทั้งสองไม่ราบรื่น สุดท้ายทั้งสองพระองค์จึงหย่าจากกัน ใน ค.ศ. 1898 โดยมีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์ ได้แก่

  • เจ้าชายอิสมาอีล (ค.ศ. 1896) สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเป็นทารก
  • เจ้าหญิงเฟากียะห์(ค.ศ. 1897-1974) เคยเป็นแม่ยายของกลอเรีย จินเนสส์ (Gloria Guinness)

การอภิเษกสมรสครั้งที่สอง[แก้]

พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับนางสาวนาซลี ซาบรี[2] ธิดาของมูฮัมหมัด ชารีฟ พาชา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ กับภรรยาคือเตาฟิกา คานุม ชารีฟ โดยพระมเหสีองค์ใหม่นี้สืบเชื้อสายจากสุไลมาน พาชา ทหารของนโปเลียนที่หันมานับถือศาสนาอิสลาม แต่พระราชินีองค์ใหม่นี้สร้างความยุ่งยากแก่พระองค์ เนื่องจากทรงต้องการออกไปนอกพระราชวัง แม้พระเจ้าฟุอาดจะห้ามก็ตาม โดยหลังจากการสวรรคตของพระสวามี พระนางนาซลีได้นำฉลองพระองค์ของพระเจ้าฟุอาดขายในตลาดท้องถิ่น เพื่อเป็นการแก้แค้นเอาคืนพระองค์ อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ โดยเป็นพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 4 พระองค์ ได้แก่

สวรรคต[แก้]

หลังจากที่พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ ครองราชย์มากว่า 19 ปี พระองค์จึงทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1936 ณ พระราชวังกุบบา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ สิริรวมพระชนมายุได้ 68 พรรษา โดยฝังพระศพไว้ที่ที่บรรจุพระศพเคดิวาล ในมัสยิดอัลริไฟในกรุงไคโร

อ้างอิง[แก้]

  1. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The Royal House of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 36. ISBN 9780850110296. OCLC 18496936. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม.กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 134-136
  3. Reid, Donald Malcolm (2002). Cairo University and the Making of Modern Egypt. Volume 23 of Cambridge Middle East Library. Cambridge University Press. pp. 61–62. ISBN 9780521894333. OCLC 49549849. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  4. "The Presidents of the Society". Egyptian Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
ก่อนหน้า พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ ถัดไป
สุลต่านฮุสเซน คามิน
สุลต่านแห่งอียิปต์
(9 ตุลาคม ค.ศ. 1917- 15 มีนาคม ค.ศ. 1922)
เปลี่ยนตำแหน่ง
ตั้งตำแหน่งใหม่
กษัตริย์แห่งอียิปต์
(15 มีนาคม พ.ศ. 1922- 28 เมษายน ค.ศ. 1936)
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์