พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์โลสที่ 3
พระบรมสาทิสลักษณ์โดยAnton Raphael Mengs, ประมาณ ค.ศ. 1761
พระมหากษัตริย์แห่งสเปน
ครองราชย์10 สิงหาคม 1759 – 14 ธันวาคม 1788
ก่อนหน้าเฟร์นันโดที่ 6
ถัดไปการ์โลสที่ 4
พระมหากษัตริย์แห่งเนเปิลส์และซิซิลี
ครองราชย์15 พฤษภาคม 1734 – 6 ตุลาคม 1759
ราชาภิเษก3 กรกฎาคม 1735, อาสนวิหารปาแลร์โม
ก่อนหน้าคาร์โลที่ 6 และ 4
ถัดไปแฟร์ดินันโดที่ 4 และ 3
ดยุกแห่งปาร์มาและปีอาเซนซา
ครองราชย์29 ธันวาคม 1731 – 3 ตุลาคม 1735
ก่อนหน้าอันโตนีโอ ฟาร์เนเซ
ถัดไปคาร์โลที่ 2
ประสูติ20 มกราคม 1716
อัลกาซาร์หลวงมาดริด ประเทศสเปน
สวรรคต14 ธันวาคม ค.ศ. 1788(1788-12-14) (72 ปี)
พระราชวังหลวงมาดริด ประเทศสเปน
ฝังพระศพเอลเอสโกเรียล
คู่อภิเษกมาเรีย อามาเลียแห่งแซกโซนี (สมรส 1738; เสียชีวิต 1760)
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
สเปน: การ์โลส เซบาสติอาน เด บอร์บอน อี ฟาร์เนซิโอ
อิตาลี: การ์โล เซบาสติอาโน ดิ บอร์บอเน เอ ฟาร์เนเซ
ราชวงศ์บูร์บง
พระราชบิดาพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
พระราชมารดาเอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน (สเปน: Carlos Sebastián; อิตาลี: Carlo Sebastiano; ซิซิลี: Carlu Bastianu; 20 มกราคม ค.ศ. 1716 - 14 ธันวาคม ค.ศ. 1788) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน (ค.ศ. 1759–1788) และยังดำรงตำแหน่งดยุกแห่งปาร์มาและปีอาเซนซาในฐานะ ดยุกคาร์โลที่ 1 (ค.ศ. 1731–1735); พระมหากษัตริย์แห่งเนเปิลส์ในฐานะ พระเจ้าคาร์โลที่ 7 และพระมหากษัตริย์แห่งซิซิลีในฐานะ พระเจ้าคาร์ลูที่ 5 (ค.ศ. 1734–1759) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 ในพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน และพระราชโอรสที่แก่ที่สุดในเอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ พระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 ผู้เสนอแนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและregalism, พระองค์เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สเปนในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1759 หลังการสวรรคตของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 6 แห่งสเปน พระเชษฐาต่างพระราชมารดาผู้ไม่มีพระราชโอรสธิดาสืบทอดราชบัลลังก์

ใน ค.ศ. 1731 เจ้าชายการ์โลสพระชนมายุ 15 ชันษาได้กลายเป็นดยุคแห่งปาร์มาและปิอาเซนซา ในฐานะ การ์โลที่ 1 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของอันโตนิโอ ฟาร์เนส ผู้เป็นพระปิตุลาที่ไม่มีพระราชโอรสธิดาสืบทอด ใน ค.ศ. 1738 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย อามาเลียแห่งแซกโซนี มีพระราชโอรสและธิดารวมทั้งสิ้น 13 พระองค์ มีเพียงแปดพระองค์มีชีวิตถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงการ์โลส ผู้มีสิทธิในพระราชบัลลังก์ การ์โลสและมาเรีย อามาเลียประทับที่เนเปิลส์เป็นเวลา 19 ปี พระองค์ได้รับประสบการณ์ที่ล้ำค่าจากการปกครองที่อิตาลีเป็นเวลา 25 ปี นโยบายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของพระองค์ในอิตาลีถูกนำมาใช้ในช่วงที่ครองราชย์ในสเปนเป็นเวลา 30 ปี[1]

ในฐานะกษัตริย์แห่งสเปน พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ทรงทำการปฏิรูปเพื่อเพิ่มการไหลของเงินทุนสู่อาณาจักรและป้องกันการรุกรานจักรวรรดิจากต่างประเทศ พระองค์สทรงสร้างความสะดวกด้านการค้าและการพาณิชย์ เกษตรกรรมที่ทันสมัยและการถือครองที่ดิน และส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย พระองค์ดำเนินการตามนโยบาย regalist เพื่อเพิ่มอำนาจของรัฐเกี่ยวกับคริสตจักร ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงขับไล่คณะเยสุอิตออกจากจักรวรรดิสเปน[2] พระองค์เสริมกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือสเปน ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ได้ควบคุมการคลังของสเปนอย่างสมบูรณ์ และบางครั้งจำเป็นต้องยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่าย การปฏิรูปส่วนใหญ่ของพระองค์ประสบความสำเร็จ โดยสิ่งเหล่านี้ได้สร้างรายได้แก่ราชอาณาจักร ขยายอำนาจของรัฐ และทำให้พระราชมรดกของพระองค์ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน[3]

สแตนลีย์ เจ. เพย์น นักประวัติศาสตร์ เขียนถึงพระเจ้าการ์โลสที่ 3 ว่า "อาจจะเป็นผู้ปกครองในยุโรปที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำให้ความสอดคล้องความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาด โดยทรงเลือกรัฐมนตรีที่มีความสามารถ...ชีวิตส่วนพระองค์ได้รับการยอมรับนับถือของประชาชน"[4] John Lynch ประมาณการไว้ว่า ในสเปนสมัยราชวงศ์บูร์บง "ชาวสเปนต้องรอถึงครึ่งศตวรรษก่อนที่พระเจ้าการ์โลสที่ 3 สามารถช่วยรัฐบาลของตนได้"[5]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Acton, Sir Harold (1956). The Bourbons of Naples, 1734–1825. London: Methuen.
  • Chávez, Thomas E. Spain and the Independence of the United States: An Intrinsic Gift, Albuquerque: University of New Mexico Press, 2002.
  • Henderson, Nicholas. "Charles III of Spain: An Enlightened Despot," History Today, Nov 1968, Vol. 18 Issue 10, p673-682 and Issue 11, pp 760–768
  • Herr, Richard. "Flow and Ebb, 1700-1833" in Spain: A History, ed. Raymond Carr. Oxford: Oxford University Press 2000. ISBN 978-0-19-280236-1
  • Herr, Richard. The Eighteenth Century Revolution in Spain. Princeton: Princeton University Press 1958.
  • Lößlein, Horst. 2019. Royal Power in the Late Carolingian Age: Charles III the Simple and His Predecessors. Cologne: MAP.[ลิงก์เสีย]
  • Lynch, John (1989). Bourbon Spain, 1700–1808. Oxford: Basil Blackwell. ISBN 0-631-14576-1.
  • Petrie, Sir Charles (1971). King Charles III of Spain: An Enlightened Despot. London: Constable. ISBN 0-09-457270-4.
  • Stein, Stanley J. and Barbara H. Stein. Apogee of Empire: Spain and New Spain in the Age of Charles III, 1759–1789. Baltimore: Johns Hopkins University Press 2003. ISBN 978-0801873393
  • Thomas, Robin L. Architecture and Statecraft: Charles of Bourbon's Naples, 1734-1759 (Penn State University Press; 2013) 223 pages

อ้างอิง[แก้]

  1. Stein, Stanley J. and Barbara H. Stein. Apogee of Empire: Spain and New Spain in the Age of Charles III, 1759–1789. Baltimore: Johns Hopkins University Press 2003, p. 3.
  2. Mörner, Magnus. "The expulsion of the Jesuits from Spain and Spanish America in 1767 in light of eighteenth-century regalism." The Americas 23.2 (1966): 156-164.
  3. Nicholas Henderson, "Charles III of Spain: An Enlightened Despot," History Today, Nov 1968, Vol. 18 Issue 10, p673-682 and Issue 11, pp 760–768
  4. Stanley G. Payne, History of Spain and Portugal (1973) 2:371
  5. Lynch, John. Bourbon Spain, 1700-1808. Blackwell 1989, p. 2.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]