พระราชาธิราช
พระราชาธิราช (สันสกฤต: ราชาธิราช; อังกฤษ: King of Kings) หมายถึง พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่น ๆ[1] จึงมีความหมายเทียบเท่า "จักรพรรดิ" ที่ใช้ในปัจจุบัน[2]
ประวัติ
[แก้]พระอิสริยยศนี้พระเจ้าตุกุลติ-นินูรตะที่ 1 แห่งจักรวรรดิอัสซีเรียกลางทรงเริ่มใช้เป็นครั้งแรก[3] ต่อมาจึงแพร่หลายในสถาบันกษัตริย์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในประเทศอิหร่านสมัยจักรวรรดิอะคีเมนิดและจักรวรรดิซาเซเนียน ซึ่งพระประมุขมีพระอิสริยยศเป็นชาห์แห่งชาห์
ศาสนา
[แก้]ศาสนาพุทธ
[แก้]คัมภีร์สัทธัมมปัชโชติกา คุหัฏฐกสุตตนิทเทสวรรณนา ระบุว่าพระตถาคตทรงเป็น "ราชาธิราชา เทวานํ อติเทโว สกฺกานํ อติสกฺโก พฺรหฺมานํ อติพฺรหฺมา"[4] (พระราชาธิราช เทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย สักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย พรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย)
ศาสนาคริสต์
[แก้]ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 และหนังสือวิวรณ์ ระบุว่าพระเยซูเป็นพระมหากษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งปวง และองค์พระผู้เป็นเจ้าเหนือเจ้านายทั้งปวง[5]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 997
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 309
- ↑ "Stone Foundation Tablet with a Historical Inscription of King Tukulti-Ninurta I in Assyrian". The Morgan Library & Museum. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คุหฏฺฐกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา
- ↑ 1 ทิโมธี 6:15
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4