พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ฐิตธมฺโม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมโกศาจารย์

(องอาจ ฐิตธมฺโม)
ส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค M.A., PH.D., พธ.ด.กิตติมศักดิ์
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดขันเงิน พระอารามหลวง ชุมพร
อุปสมบท21 มิถุนายน พ.ศ. 2507
พรรษา59
ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16, เจ้าอาวาสวัดขันเงิน

ดร.พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม องอาจ ชุมแสง ฉายา ฐิตธมฺโม เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดขันเงินและที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16[1] เป็นศิษย์พระราชญาณกวี (บุญชวน เขมาภิรโต) สหายร่วมอุทรธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) และพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร)

สถานะเดิม[แก้]

ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2482 โยมบิดาชื่อ เขต ชุมแสง โยมมารดาชื่อ จาย ชุมแสง (นามสกุลเดิม แก้วพินิจ) ณ บ้านทุ่งคา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

อุปสมบท[แก้]

พระธรรมโกศาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2507 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ณ วัดนาทุ่ง โดยมีพระปกาสิตพุทธศาสน์ (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระราชญาณกวี) วัดขันเงิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาพิพัฒน์ วัดนาทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพุฒ ธมฺมจาโร ที่พักสงฆ์มณีสพ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ[แก้]

ตำแหน่งทางการปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2519 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดนาทุ่ง
  • พ.ศ. 2529 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2531 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2531 เป็นเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2532 เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดขันเงิน
  • พ.ศ. 2532 เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
  • พ.ศ. 2558 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2560 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16

งานการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2512 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
  • พ.ศ. 2526 เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง จนถึงปัจจุบัน

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2531 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีธรรมนาถมุนี[2]
  • พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติโมลี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2546 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพญาณโมลี ศรีธรรมสาธก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2555 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 331-332. ISBN 974-417-530-3
  1. ตามมติมหาเถรสมาคมที่ 717/2560 วันที่ 20 ธันวาคม 2560
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207 ง ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2531, หน้า 4
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอนที่ 202 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2536, หน้า 4
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 3 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 29 กุมภาพันธ์ 2547, หน้า 9
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 130, ตอนที่ 9 ข, 19 มีนาคม 2556, หน้า 1
  6. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา, [1]