ข้ามไปเนื้อหา

พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ
Конституционно-демократическая партия
ชื่อย่อK-D; คาเดตส์ (Kadets)
ผู้ก่อตั้ง
ประธานปาเวล มิลอูย์คอฟ
คำขวัญทักษะและการงานเพื่อความดีงามของมาตุภูมิ
(รัสเซีย: Умение и труд на благо Родине)
ก่อตั้ง12 ตุลาคม ค.ศ. 1905 (1905-10-12)
ถูกยุบ11 ธันวาคม ค.ศ. 1917 (1917-12-11)
รวมตัวกับ
ที่ทำการเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
หนังสือพิมพ์เรช
อุดมการณ์
จุดยืน
สี  ฟ้า   ขาว
สภาดูมา (ค.ศ. 1906)
178 / 497
สภาดูมา (มกราคม ค.ศ. 1907)
124 / 518
สภาดูมา (ตุลาคม ค.ศ. 1907)
54 / 441
สภาดูมา (ค.ศ. 1912)
59 / 432
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
24 / 766
การเมืองรัสเซีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ (รัสเซีย: Конституцио́нно-демократи́ческая па́ртия, อักษรโรมัน: Konstitutsionno-demokraticheskaya partiya; K-D) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคอิสรภาพของประชาชน (รัสเซีย: Па́ртия Наро́дной Свобо́ды) เป็นพรรคการเมืองในจักรวรรดิรัสเซียที่ส่งเสริมการเกิดขึ้นของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบตะวันตก และมีฐานคะแนนนิยมตั้งแต่กลุ่มอนุรักษนิยมสายกลางจนถึงฝ่ายสังคมนิยม[3][4] สมาชิกพรรคมีชื่อเรียกว่า คาเดตส์ (Kadets) มาจากตัวย่อ K-D ของชื่อพรรค[5] นโยบายของพรรคมีพื้นฐานทางทฤษฎีมาจากงานเขียนของคอนสตันติน คาเวลิน และบอริส ชรเชริน โดยมีปาเวล มิลอูย์คอฟ เป็นหัวหน้าพรรคตลอดเวลาการดำรงอยู่ของพรรค

ฐานการสนับสนุนส่วนใหญ่ของคาเดตส์มาจากปัญญาชนและผู้สำเร็จวิชาชีพ โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักกฎหมายที่เป็นกลุ่มบุคคลโดดเด่นของพรรค[6] สมาชิกคาเดตส์จำนวนมากเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของสภาท้องถิ่นเซมสตโว (Zemstvo)[7] พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเสรีนิยมหลายกลุ่ม ได้แก่ สหภาพการปลดปล่อย, สหภาพเซมสตวิสต์-นิยมรัฐธรรมนูญ และสหภาพแห่งบรรดาสหภาพ เช่นเดียวกับองค์กรแห่งผู้สำเร็จวิชาชีพและปัญญาชนชนชั้นกระฎุมพี อันประกอบด้วย อาจารย์ นักกฎหมาย นักเขียน นักฟิสิกส์ และวิศวรกร[8][9]

นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของคาเดตส์สนับสนุนสิทธิคนงานในขบวนการแปดชั่วโมงต่อวัน[10] และสิทธิในการหยุดงานประท้วง จนกล่าวได้ว่าคาเดตส์ "มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการเป็นพลเมืองเต็มรูปแบบสําหรับชนกลุ่มน้อยรัสเซียทั้งมวล" และสนับสนุนการปลดปล่อยชาวยิว[11] ทำให้พรรคเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวยิว[12] และชาวเยอรมันวอลกา และมีชนกลุ่มเหล่านี้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของพรรคเป็นจำนวนมาก[13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Struve, Peter (1932). The Social Liberalism. Internationales Handwtsrterbuch des Gewerkschaftswesens. pp. 412–423.
  2. Maksimov, Konstantin Nikolaevich (2008). Kalmykia in Russia's Past and Present National Policies and Administrative System. Central European University Press. pp. 172–173. ISBN 9789639776173.
  3. Pipes, Richard (2011-05-04). Russia Under the Bolshevik Regime (ภาษาอังกฤษ). Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-307-78861-0.
  4. Pearson, Raymond (1977). The Russian Moderates and the Crisis of Tsarism 1914–1917. Springer. pp. 2–3.
  5. This name should not be confused with the term cadets, which referred to students at military schools in the Imperial Russia.
  6. Hans Rogger, Jewish Policies and Right-wing Politics in Imperial Russia, p. 20.
  7. The Zemstvo in Russia: An Experiment in Local Self-government (eds. Terence Emmons & Wayne S. Vucinich), p. 441.
  8. Melissa Kirschke Stockdale, Paul Miliukov and the Quest for a Liberal Russia, 1880–1918, p. 142.
  9. James W. Long, From Privileged to Dispossessed: The Volga Germans, 1860–1917, p. 207.
  10. Peter Gatrell, Government, Industry and Rearmament in Russia, 1900–1914: The Last Argument of Tsarism, p. 81.
  11. Rogger, p. 20.
  12. Rogger, p. 20.
  13. Rogger, p. 20.
  14. Long, pp. 207–208.
  • Melissa Stockdale. "The Constitutional Democratic Party" in Russia Under the Last Tsar, edited by Geifman, Anna, Blackwell Publishers Ltd, 1999, ISBN 1-55786-995-2, pp. 164–169.