ข้ามไปเนื้อหา

ปูเลาตีกุซ

พิกัด: 5°25′53.4″N 100°18′42.48″E / 5.431500°N 100.3118000°E / 5.431500; 100.3118000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูเลาตีกุซ
การถอดเสียงอักษรอื่น ๆ
 • ยาวีڤولاو تيكوس
 • จีน浮罗地滑 (ตัวย่อ)
浮羅地滑 (ตัวเต็ม)
 • ฮกเกี้ยนPhū-lô-tī-khu̍t (Tâi-lô)
ปูเลาตีกุซตั้งอยู่ในจอร์จทาวน์ ปีนัง
ปูเลาตีกุซ
ปูเลาตีกุซ
พิกัด: 5°25′53.4″N 100°18′42.48″E / 5.431500°N 100.3118000°E / 5.431500; 100.3118000
ประเทศมาเลเซีย
รัฐปีนัง
อำเภอเกาะปีนังตะวันออกเฉียงเหนือ
เมืองจอร์จทาวน์
การปกครอง
 • การปกครองท้องถิ่นสภานครเกาะปีนัง
 • นายกเทศมนตรีเกาะปีนังยู ตุง เซียง
 • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปูเลาตีกุซคริส ลี ชุน กิต (DAP)
 • สมาชิกรัฐสภาบูกิตเบินเดอราหว่อง ฮน ไว (DAP)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)ไม่สังเกต
รหัสไปรษณีย์10250, 10350, 10400
เว็บไซต์www.mbpp.gov.my

ปูเลาตีกุซ (มลายู: Pulau Tikus) หรือปรากฏในเอกสารไทยว่า โหละติโกย[1] หรือ ปูโลติกุส[2] เป็นย่านหนึ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างใจกลางเมืองจอร์จทาวน์กับย่านตันจุงโตกง จัดเป็นย่านคนรวยแห่งหนึ่ง ชื่อของย่านตั้งตามชื่อเกาะขนาดน้อยใกล้ชายฝั่งเกาะปีนัง[3] ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของชาวยูเรเชีย สยาม และพม่า[4]

ปูเลาตีกุซก่อตั้งในช่วง ค.ศ. 1786 หลังฟรานซิส ไลต์เข้ายึดครองเกาะปีนัง ปูเลาตีกุซมีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ ดังปรากฏศาสนสถานที่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมตามชาติพันธุ์ของตน

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อปูเลาตีกุซตั้งตามชื่อเกาะตีกุซ (Pulau Tikus) เกาะขนาดน้อยซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งย่านตันจุงบูงะฮ์เพียง 770 เมตร มีความหมายว่า "เกาะหนู" ในภาษามลายู กล่าวกันว่าช่วงน้ำลง สัณฐานของเกาะจะแลดูคล้ายหนู จึงได้ชื่อนี้มา[5]

ประวัติ

[แก้]

ปูเลาตีกุซเป็นแหล่งอาศัยของชาวยูเรเชียผู้ลี้ภัยทางศาสนาจากเกาะภูเก็ตของสยาม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อพยพเข้าไปยังปูเลาตีกุซเมื่อปี ค.ศ. 1811 ต่อมามีชาวยูเรเชียอีกกลุ่ม ที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในจอร์จทาวน์ตั้งแต่ ค.ศ. 1786 อพยพเข้าไปสมทบ[6][7] พวกเขาตั้งชื่อแหล่งที่อยู่ว่า "ปูเลาตีกุซ" และเริ่มก่อสร้างชุมชนคริสต์ชื่อกัมปงเซอรานี (Kampong Serani; "บ้านลูกครึ่งคริสตัง") มีศูนย์กลางที่โบสถ์แม่พระปฏิสนธินิรมล[6]

นอกจากชาวยูเรเชียจากสยามแล้ว ยังมีชาวพม่าเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปูเลาตีกุซเป็นกลุ่มแรก ๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่นกัน โดยมีชุมชนของตนเองเรียกว่ากัมปงอาวา (Kampong Ava; "บ้านอังวะ") มีศาสนสถานสำคัญคือวัดพม่าธัมมิการาม สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1803 ส่วนชาวสยามมีชุมชนหลักเรียกว่ากัมปงเซียม (Kampong Siam; "บ้านสยาม") มีศาสนสถานทั้งหมดสามแห่งในปูเลาตีกุซคือวัดไชยมังคลาราม (โหละติโกย), วัดบุปผาราม และวัดสว่างอารมณ์ (สากัตจัง) แต่ปัจจุบันเหลือเพียงสองวัดแรกเท่านั้น[4] ส่วนวัดสว่างอารมณ์ถูกแปรเป็นวัดจีนชื่อวัดอั้งฮกซี (Ang Hoc See)[8]

ใน ค.ศ. 1933 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมด้วยพระธิดาสามองค์คือ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล และหม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ ดิศกุล ทรงลี้ภัยทางการเมืองมาประทับ ณ ซินนะมอนฮอลล์ (Cinnamon Hall) ถนนเกอลาไวในย่านปูเลาตีกุซ ปัจจุบันซินนะมอนฮอลล์ถูกรื้อไปแล้ว[9]

จากการขยายตัวของจอร์จทาวน์ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปูเลาตีกุซจึงถูกกลืนกลายเป็นชานเมืองของจอร์จทาวน์[4] ช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีการขยายตัวของคอนโดมิเนียมหรูและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์แถบปูเลาตีกุซและเกอร์นีย์ไดรฟ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. พิเชฐ แสงทอง (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560). "ศึกไทย-พม่าที่ปีนัง: แกะรอยปริศนาปีสร้างและคดีความที่วัดปูเลาติกุส (ไชยมังคลาราม) มาเลเซีย". วารสารรูสมิแล. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2478)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Pulau Tikus". Time Out Penang (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-17.
  4. 4.0 4.1 4.2 Khoo, Su Nin (2007). Streets of George Town, Penang. Penang: Areca Books. ISBN 9789839886009.
  5. Wilks, Frances (2014-04-11). "The Story Behind Penang's Rat Island (Pulau Tikus)". ExpatGo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-08-07.
  6. 6.0 6.1 "The History of Penang Eurasians". Penang Tourism (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  7. "Church opens mini museum of relics - Nation | The Star Online". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  8. บรรลือ ขอรวมเดช (2555). อุโบสถวัดไทยในเมืองมลายู (กลันตัน เกดะห์ ปะลิส และปีนัง) สมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 248.
  9. ศรัณย์ ทองปาน (18 มีนาคม 2556). "ติดเกาะ! ตามสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไป "ลี้ภัยการเมือง" ที่ปีนัง". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)