ปลากดหัวเสียม
ปลากดหัวเสียม | |
---|---|
ชนิด S. seenghala พบในประเทศอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Bagridae |
สกุล: | Sperata Holly, 1939 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ปลากดหัวเสียม [1] เป็นชื่อสกุลของปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Sperata มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ชนิด[2] (ดูในตาราง)
รูปร่างโดยรวม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ที่สำคัญคือ ปลาในสกุลนี้ในครีบไขมันจะมีจุดสีดำเห็นเด่นชัด มีขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด [1]
มีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, อัฟกานิสถาน และพม่า มีแหล่งที่พบคือ แม่น้ำสายใหญ่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำอิรวดี และพบได้จนถึงแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนของพม่าติดกับไทย โดยมีชื่อเรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า "ปลาแก๊ด"[1]
มีขนาดลำตัวโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุดพบได้ถึง 180 เซนติเมตร ในชนิด S. aor ขยายพันธุ์ทำรังโดยการขุดพื้นแม่น้ำเป็นแอ่งกว้าง ในความลึกประมาณ 2 เมตร
มีความสำคัญต่อมนุษย์ของการใช้เนื้อเพื่อการบริโภค และใช้ตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชนิด S. acicularis ถือเป็นปลาที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมากในท้องถิ่น เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี โดยในขณะนี้ กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ลูกปลาชนิดนี้ได้แล้ว[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ดร. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 64. ISBN 9789744726551
- ↑ Fishbase
- ↑ "การอนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2016-07-10.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sperata ที่วิกิสปีชีส์