ประตูท่าแพ
18°47′16″N 98°59′36″E / 18.78778°N 98.99333°E
ประตูท่าแพ | |
---|---|
ประตูเชียงเรือก | |
ประตูท่าแพ | |
ประเภท | ประตูเมือง |
ที่ตั้ง | ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ประตูท่าแพ ประตูเชียงเรือก ประตูท่าแพ ประเภท ประตูเมือง ที่ตั้ง ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. 1839 สร้างโดย พญามังราย สร้างเพื่อ เป็นทางเข้าออกเมือง รื้อถอน พ.ศ. 2491 สร้างใหม่ พ.ศ. 2529 สถานะ สร้างทดแทนของเดิม สถาปัตยกรรม ล้านนา ผู้ดูแล เทศบาลนครเชียงใหม่
ขึ้นเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2497 เป็นส่วนหนึ่งของ กำแพงเมืองเชียงใหม่ เลขอ้างอิง 0000835 |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 1839 |
สร้างโดย | พญามังราย |
สร้างเพื่อ | เป็นทางเข้าออกเมือง |
รื้อถอน | พ.ศ. 2491 |
สร้างใหม่ | พ.ศ. 2529 |
สถานะ | สร้างทดแทนของเดิม |
สถาปัตยกรรม | ล้านนา |
ผู้ดูแล | เทศบาลนครเชียงใหม่ |
ขึ้นเมื่อ | 5 มกราคม พ.ศ. 2497 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | กำแพงเมืองเชียงใหม่ |
เลขอ้างอิง | 0000835 |
ประตูท่าแพ(ชั้นใน) หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือก เป็นประตูทางทิศตะวันออก และเป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีบานประตู
ประวัติ
[แก้]ประตูท่าแพ(ชั้นใน) เดิมเป็นประตู 2 ชั้น วางตำแหน่งเยื้องกันและมีป้อมยื่นออกมาข้างประตูเมือง เพื่อใช้เป็นปราการป้องกันเมืองยามศึกสงครามในอดีต (ดังปรากฏในแผนที่เมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2436[1] ในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์)
ประตูท่าแพซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง (ปัจจุบันสันนิษฐานเป็นประตูท่าแพชั้นนอก บริเวณวัดแสนฝาง[2]) ซึ่งถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2422
ประตูท่าแพที่ถูกเรียกกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงมีนามว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ส่วนประตูท่าแพของจริงนั้นเดิมเคยตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวัดแสนฝาง ซึ่งเป็นประตูของแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาเมื่อมีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกออกจึงเหลือแต่ประตูเชียงเรือกที่เป็นประตูชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกประตูเชียงเรือกนี้ว่าประตูท่าแพแทน[3]
ในสมัยโบราณ คำว่า "เชียง" หมายถึง "เวียง" หรือ "เมือง" ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ หรือ เฮือ ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางไปมาทางแม่น้ำ คู ครอง ฝายเหมือง เป็นต้น ดังนี้ คำว่า "เชียงเรือก" หากพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็อาจแปลออกมาได้เป็นเชียงเรือ หรือเวียงเรือ ซึ่งก็หมายถืงเมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมากก็ว่าได้ เหตุนี้ในสมัยต่อมาจึงถูกเรียกว่าท่าแพ ซึ่งก็มีความหมายเดิม คือที่จอดแพหรือเรือ มีความหมายเดียวกันคือ เมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมาก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://pbs.twimg.com/media/D_mdnybUIAEmdh0.jpg
- ↑ http://bytelife.altervista.org/history.htm
- ↑ พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปีนามพระราชทาน. นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนาการศึกษา และสังคมเมืองเชียงใหม่. พ.ศ. ๒๕๔๘. หน้า ๓๘๖.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถานที่สำคัญรอบเวียงเชียงใหม่ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่