บูเล
บูเล (อินโดนีเซีย: bule) เป็นศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเรียกบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สืบเชื้อสายมาจากยุโรปหรือคนผิวขาว แม้ว่าคำว่า บูเล จะมีความหมายดั้งเดิมว่า "ขาว" แต่ในปัจจุบันก็ใช้เรียกชาวอาหรับ,[1] ชาวแอฟริกาผิวดำ,[2] ชาวญี่ปุ่น [3] และชนชาติอื่น ๆ เช่นกัน
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]บูเล ปรากฏครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรืออาจจะก่อนหน้า คำว่า บูเล แปลตรงตัวว่า "ขาว" ใช้ในบริบทที่ระบุถึงควาย หนังสือเล่มหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1840 ระบุไว้ว่าผู้คนเลือกควายบูเล (ขาว) มากกว่าที่จะเลือกควายฮีตัม (hitam ในปัจจุบันยังคงแปลว่า "ดำ")[4]
ในพจนานุกรมภาษามลายู-ดัตช์ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1869 ระบุคำว่า balar (บาลาร์), sabun (ซาบุน)[5] และ andan (อันดัน) โดยแปลว่า "คนขาว" (wit mensch) และ "คนผิวเผือก" (albino) ส่วนในพจนานุกรมที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1894 ระบุคำว่า andan (อันดัน) และ bulei (บูไล) โดยแปลว่า "คนผิวเผือก" (albino) และระบุว่า sabun (ซาบุน, ปัจจุบันแปลว่า สบู่) เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้เรียกสุนัขสีขาวล้วน ส่วนคำว่า balar (บาลาร์) เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้เรียกควายขาวหรือควายเผือก[6]
พจนานุกรมยุคหลัง ๆ มักระบุคำว่า bule (บูเล) โดยนิยามง่าย ๆ ว่า "มีผิวเผือก" อย่างไรก็ตาม ในการใช้สมัยปัจจุบันมักใช้คำยืมภาษาอังกฤษ albino (อัลบีโน) มากกว่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://batam.tribunnews.com/2019/08/02/sempat-heboh-bule-arab-di-bali-larang-warga-berenang-di-depan-vilanya-begini-kini-nasib-sang-bule
- ↑ https://megapolitan.okezone.com/read/2016/05/24/338/1396181/curi-sepatu-di-butik-bule-afrika-ditangkap
- ↑ https://jateng.tribunnews.com/2019/07/05/kenalan-di-facebook-wanita-asal-jogja-ini-dinikahi-cowok-jepang-mualaf
- ↑ Pembatjaan jang gampang: goena anak-anak midras. 1840. p. 18.
- ↑ Supplement op het maleisch-nederduitsch woordenboek. Endschedé en Zonen. 1869. p. 125.
- ↑ Sir Hugh Charles Clifford; Sir Frank Athelstane Swettenham (1894). A Dictionary of the Malay Language. authors at the Government's printing Office.