ทางด่วนโทเม
ทางด่วนโทเม | |
---|---|
東名高速道路 | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ | |
ความยาว | 346.8 กิโลเมตร[3] (215.5 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | 1968[1][2]–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก | ทางแยกต่างระดับโตเกียว ใน เขตเซตางายะ โตเกียว ทางด่วนชูโตะ สายชิบูยะ ทางหลวงโตเกียวหมายเลข 311 |
ถึง | ทางแยกต่างระดับโคมากิ ใน โคมากิ จังหวัดไอจิ ทางด่วนเมชิง ทางด่วนนาโงยะ สายโคมากิ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
เมืองสำคัญ | คาวาซากิ, โยโกฮามะ, อัตสึงิ, ฟูจิ, ชิซูโอกะ, ฮามามัตสึ, โทโยกาวะ, โทโยตะ, นาโงยะ, คาซูงาอิ |
ระบบทางหลวง | |
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น ทางหลวงแผ่นดินในประเทศญี่ปุ่น |
ทางด่วนโทเม (ญี่ปุ่น: 東名高速道路; โรมาจิ: Tōmei Kōsoku Dōro) เป็นทางด่วนแห่งชาติสายหนึ่งบนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง ทางด่วนสายนี้กำหนดให้ใช้หมายเลข E1 ภายใต้ข้อเสนอการกำหนดหมายเลขทางด่วน ค.ศ. 2016 เนื่องจากเส้นทางของทางด่วนนี้ขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1[4] ทางด่วนโทเมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 ในโครงข่ายทางหลวงสายเอเชีย[5][6]
การตั้งชื่อ
[แก้]คำว่า โทเม เป็นอักษรย่อที่ประกอบด้วยตัวอักษรคันจิสองตัว ตัวแรกหมายถึงโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京) และตัวที่สองหมายถึงนาโงยะ (ญี่ปุ่น: 名古屋) ซึ่งเป็นสองเมืองหลักที่ทางด่วนนี้เชื่อมเข้าด้วยกัน
ทางด่วนนี้ได้รับกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการว่า ทางด่วนโทไกสายแรก[7] ส่วนทางด่วนโทไกสายที่สอง (เปิดใช้งานในชื่อ ทางด่วนชินโทเม) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยจะขนานกับเส้นทางที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรแออัดในระยะเวลาอันใกล้
ภาพรวม
[แก้]ทางด่วนโทเมเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและนาโงยะ เป็นถนนที่มีการจราจรคับคั่งที่สุดในบรรดาถนนที่ดำเนินการโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง โดยบางตอนนั้นมีรถสัญจรมากกว่า 100,000 คันต่อวัน
ทางด่วนช่วงแรกเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1968 และแล้วเสร็จตลอดทั้งสายในปี ค.ศ. 1969[1]
จากจุดเริ่มต้นในพื้นที่ทางตะวันตกของโตเกียว เส้นทางของทางด่วนวิ่งไปทางตะวันตกผ่านจังหวัดคานางาวะ โดยขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 246 และผ่านตอนเหนือของเมืองโยโกฮามะ เส้นทางวิ่งต่อไปทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดชิซูโอกะ วิ่งผ่านทิศใต้ของภูเขาฟูจิ และวิ่งตามแนวชายฝั่งอ่าวซูรูงะ โดยขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และทางหลวงประวัติศาสตร์โทไกโด ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองชิซูโอกะ จากนั้นเส้นทางก็วิ่งต่อไปทางตะวันตก ผ่านทะเลสาบฮามานะ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดชิซูโอกะ และเข้าสู่จังหวัดไอจิ หลังจากนั้นทางด่วนก็ได้มุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ทางตะวันออกของเมืองนาโงยะ และไปบรรจบกับปลายทางของทางด่วนชูโอ ก่อนที่จะสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับในเมืองโคมากิ ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองนาโงยะ แม้ว่าทางด่วนโทเมจะสิ้นสุดที่จุดนี้ แต่เส้นทางนั้นก็ได้ต่อเนื่องโดยเชื่อมต่อกับทางด่วนเมชิง ซึ่งต่อไปยังเกียวโต โอซากะ และโคเบะ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ministry of Land, Infrastructure and Transport. "History of Tokyo's 3 Ring Roads". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
- ↑ Japan Civil Engineering Contractors' Association. "Construction History of Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
- ↑ Ministry of Land, Infrastructure and Transport. "Road Timetable". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
- ↑ "Japan's Expressway Numbering System". www.mlit.go.jp. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
- ↑ Economic and Social Commission for Asia and the Pacific, 2003 Asian Highway Handbook เก็บถาวร 2012-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2003, page 54 shows an aerial photo of the Yokohama Aoba Interchange, placing AH1 clearly on the Tomei Expressway rather than the other Tokyo-Nagoya expressway, the Chūō Expressway.
- ↑ UNESCAP Asian Highway Network Project. "Sectional AH Data for Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (excel)เมื่อ 2005-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
- ↑ Ministry of Land, Infrastructure and Transport. "High Standard Trunk Road Map" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง เก็บถาวร 2008-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน